หมอรักษาได้ 20% ที่เหลืออีก 80% หายเพราะเหตุอื่น


หายเอง หายเพราะได้รับความพอใจ หายเพราะได้รับบริการที่พูดจาไพเราะ หายเพราะได้ยาบางอย่างสมปรารถนา ฯ

     ท่านจะเชื่อไหมหากจะกล่าวว่า การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้น หมอรักษาได้ 20% ที่เหลืออีก 80% หายเพราะเหตุอื่น แล้วเหตุอื่นที่ว่านั้นคืออะไรบ้าง เช่น หายเอง หายเพราะได้รับความพอใจ หายเพราะได้รับบริการที่พูดจาไพเราะ หายเพราะได้ยาบางอย่างสมปรารถนา ฯ

     ในนอร์เวย์มีแพทย์มากมาย แต่ 60% ของคนที่ป่วยไข้ ไปซื้อยากินเอง ในเดนมาร์กก็เช่นเดียวกัน คนที่เจ็บป่วยไปหาหมอเถื่อน เพราะหมอเถื่อนฟังเขานาน ๆ

     ที่กล่าวมาข้างต้นท่านตัดสินใจเองครับว่าจะเชื่อหรือไม่ แต่เป็นคำกล่าวของนายแพทย์มาห์เลอร์ อดีต ผอ.WHO ชาวเดนมาร์ก ครับ ผมบันทึกไว้ตั้งแต่ตอนจบมาเป็นหมออนามัยใหม่ ๆ ในปี 2534

     ยกมาให้เพื่อให้เห็นว่า ระบบการดูแลตนเองสำคัญมาก ในบ้านเราเองก็มีมากมายที่เป็นการดูแลตนเอง โดยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา แม้จะเลือนหายไป เพราะระบบการแพทย์กระแสหลัก แต่ยังไม่สายที่จะหันกลับมาสนับสนุน เรื่องนี้หวนนึกเอามาเขียนเพราะวันนี้เกิดปิ้งขึ้นมาตอนประชุมอยู่กับคณะทำงานแผนงานคนพิการภาคใต้ ที่ สวรส.ภาคใต้ มอ. ก็จดเป็น Topic ไว้ เมื่อหลายวันก่อน ดึก ๆ ก็มานั่งเขียนเป็นบันทึกไว้ครับ

หมายเลขบันทึก: 16876เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2006 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
สวัสดีค่ะ เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะการรักษาไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาเสมอไป การพูดคุยการให้คำปรึกษาและได้รับการดูแลด้วยความเต็มใจในการให้บริการ ทำให้ผู้มารับบริการเกิดความพพึงพอใจก็สามารถทำให้โรคนั้นหายไปแล้วครึ่งหนึ่ง ดิฉันทำงานในชุมชนตระหนักอยู้เสมอว่าการดูแลสุขภาพไม่จำเป็นต้องพึ่งยาแต่มีตัวป้องกันโรคได้ดีวิธีหนึ่ง คือ การดูแลสุขภาพด้ายจิตใจเป็นส่งสำคัญย่งกว่า อย่างคำพูดที่ว่า ที่ สอ.มีหมอแต่ไม่มียา เป็นไงค่ะหมออนามัยมีคุณภาพเหมือนกันใช่ไหมค่ะ อ่านทีไรโดนใจทุกที เด็กเวตาล
     คิดว่าเป็นครั้งแรกที่เห็น คห.คุณเด็กเวตาล แต่ไม่น่าจะใช่ครั้งแรกที่คุณเข้ามาใน GotoKnow อย่างแน่นอน เพียงแต่อยากเชิญชวนครับลองเขียนบันทึกบอกเล่าเรื่องราวการทำงานในชุมชนออกมาร่วม ลปรร.กันบ้างในฐานะ "ผู้ให้" จะทำให้เรารู้สึกเบาครับ ผมว่าอ่านจาก คห.ที่เขียนไว้นี้ "ใช่เลย" ครับ คุณเขียนอย่างนี้ก็เยี่ยมแล้ว สไตล์ของคุณเอง อยากให้แรงใจเพื่อเขียนออกมาอีกครับจะรออ่าน

กาย-จิต...

เรามักมองข้ามสิ่งสำคัญ...ที่อาจดูเหมือนไม่สำคัญในบางครั้ง
เราอาจมุ่งเน้นไปที่กาย...หรือ...จิต...อย่างเดียว
หาก..สภาพ..ธรรมชาติที่แท้จริง
"จิตเป็นนาย...กายเป็นบ่าว"
....
จิตนั้นใหญ่ยิ่ง...ในห้วงจักรวาร
หาก..มีจิตที่ดีและเข้มแข็ง
ทุกอย่าง..ก็ย่อมศิโรราบ
ดังนั้น..หากเราทุกคน..
ประคองจิต...ให้มั่น...อย่างมีสติ...
ย่อมนำส่ง..เรา...ให้ปลอดภัยได้

 

       ตราบใดที่เราอยู่แต่ในโรงพยาบาลจะไม่มีวันเข้าใจหรอกว่า...ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลออกไป  ยังต้องการคำอธิบายมากมายนัก...กลไกที่เข้าไปไม่ถึงต่างหาก...เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข 

       ใครติดตามละครเรื่อง"แดจังกึม"มาโดยตลอดคงจะเข้าใจว่าทำไมฮันซังกุงถึงชนะการแข่งขันชิงตำแหน่ง"ซังกุงสูงสุด"...ใช่แล้ว...บางครั้งสิ่งที่ผู้ปฏิบัติคิดว่าดีที่สุดแล้ว...อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการก็ได้...เหมือนกับต้นครัวห้องเครื่องที่ปฏิเสธข้าวนุ่มอร่อย(แบบชาววัง)...แต่กลับเลือกที่จะกินข้าวที่ต้องเคี้ยว(ซึ่งจะให้รสชาดที่หวานขณะเคี้ยว)...เพราะโตมาจากสามัญชนที่เคยชินกับข้าวแบบนี้...ฮันซังกุงเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์...จึงชนะการแข่งขัน...การรักษาพยาบาลผู้ป่วยก็เช่นกัน  ถ้าบวกความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์เข้าไปอีกหน่อย...น่าจะช่วยเร่งกระบวนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...เห็นด้วยกับคุณชายขอบค่ะ

     ขอ link ไปที่ 80:20 Rule;The Pareto's Law ซึ่งอาจารย์หมอ JJ นำมาบันทึกไว้นะครับ
     เหลือเชื่อครับ แต่เชื่อแล้วจริง ๆ

              ผมทำ วิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพตนเองของชาวไทยภูเขา ผมพบว่า มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะแยะเลยครับ ภมิปัญญาท้องถิ่น หรือ องค์ความรู้ท้องถิ่น ของพวกเขามีคุณค่ามากเลย การแพทย์สมัยใหม่ คงต้องมองลงไป เพื่อพัฒนาเรื่องนี้ให้จริงจัง ผมเห็นด้วยครับ ว่าการดูแลตนเอง เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของชาวบ้านครับ

ชอบ reply comment ของ Dr.Ka-poom  กาย-จิต  จังครับ

คุณจตุพร mhsresearch Blog

ขอบคุณนะคะ..ที่ กาย-จิต...กระทบ "จริต"..ที่คุณมี
ลปรร. ได้นะคะ...


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท