บันทึกการเมืองไทย (๑๑) : เรียนรู้จาก ประเสริฐ นาสกุล


คุณประเสริฐ นาสกุล รู้ธาตุแท้ก่อนใครๆ

บันทึกการเมืองไทย (๑๑) : เรียนรู้จาก ประเสริฐ นาสกุล

คิดถึง "ประเสริฐ นาสกุล"
ตุลาการที่รู้ธาตุแท้ทักษิณก่อนใคร ?

รายงาน
โดย ขุน สำราญภักดี

นายประเสริฐ นาสกุล เป็นตุลาการเสียงข้างน้อย 7 ต่อ 8

ที่เห็นว่าทักษิณ มีเจตนาจงใจ ซุกหุ้น


หลังตัดสินคดีซุกหุ้น ประเสริฐใช้ชีวิตแบบราษฎรเต็มขั้น
มีปัญหาเรื่องสุขภาพบ้างอันเป็นไปตามวัย
แต่หัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ครั้งหนึ่งอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ให้สัมภาษณ์นักข่าวถึงเบื้องหลังคำวินิจฉัยที่ฟันธงว่า

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซุกหุ้น ว่า
"ผมไม่เคยขออะไรใคร จึงไม่มีใครมากล้าขออะไรผม

ทุกคนก็รู้จักนิสัยดี ผมเห็นว่าหากเรา
เคยไปขออะไรใคร ถึงเขาจะไม่ให้เรา
แต่ก็ถือว่ามีบุญคุณแล้ว
เขาก็จะมาทวงบุญคุณภายหลังได้
สู้เป็นตัวของตัวเองดีกว่า"

นี่คือคนจริงและความจริง
ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการตกแต่ง สร้างนิยายเพื่อหลอกคนอื่น


"ประชาชาติธุรกิจ"
ย้อนกลับไปดูคำวินิจฉัยส่วนตัวของนายประเสริฐ นาสกุล
ที่เขียนไว้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 อีกครั้ง
เพราะเห็นว่าคำวินิจฉัยฉบับนี้มิได้มีแต่หลักกฎหมายอย่างเดียว
แต่ยังเจาะทะลวงลงไปถึงก้นบึ้งของ
"ธนกิจการการเมือง" อย่างแจ่มแจ้งดั่งแสงตะวัน


ลอกเลียนระบบทุนนิยม

ตอนหนึ่งของคำวินิจฉัยเขียนว่า
การพัฒนาระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
โดยลอกเลียนความรู้จากกฎหมายของต่างประเทศ
ในระบบทุนนิยมมาประยุกต์ใช้เพียงอย่างเดียว
แต่ไม่ใช้สติและปัญญา
นำเอาวิธีปฏิบัติที่ดีและเหมาะสม ตลอดจนวิธีการ
ป้องกันการเอาเปรียบ การเลี่ยงปฏิบัติตามกฎหมาย ฯลฯ มาใช้ด้วย

ประกอบกับการเอาความสะดวกสบาย
โดยไม่รู้จักคิดปล่อยหรือยอมให้ผู้อื่นคิดแทนโดยไม่มีการพิจารณาว่า
ระบบดังกล่าวสอดคล้องกับศีลธรรมและวัฒนธรรม
อันดีงามของสังคมไทยหรือไม่

เพราะผู้นำเข้ามุ่งแต่การมีระเบียบแบบแผน กฎหมาย
และหวังในความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ขาดประสบการณ์ไม่ทราบหรือคาดคิดมาก่อนว่า
ความรู้ที่นำมานั้้้นอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม และเตรียมการป้องกันไว้ด้วย เช่น

การประกอบธุรกิจแบบครอบครัว
ได้พัฒนาเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท
เอกชน บริษัทมหาชน และกลุ่มบริษัท
โดยมีตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นแหล่งระดมเงินทุน
และต่อไปจะมีตลาดกลางสินค้าเกษตรล่วงหน้า
แต่มีผู้คิดหาช่องทางต่างๆ ของกฎหมาย เช่น
การค้าเสรีเปิดโอกาสให้ใครมือยาวสาวได้สาวเอา โดยใช้ความ
ได้เปรียบในฐานะทางเศรษฐกิจ ถิ่นที่อยู่และการศึกษา
การเอาประโยชน์โดยใช้ผู้ใกล้ชิดให้มีจำนวนเพียงพอที่
จะก่อตั้งบริษัท แล้วโอนลอยหุ้น
การใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทนการปล่อยเงินกู้เฉพาะแกคนรู้จัก การโอนถ่ายกำไรระหว่างบริษัท
การใช้ข้อมูลภายในของบริษัทและกลุ่มบริษัทเพื่อขยายกิจการ การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม (มีการบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ การปล่อยข่าวลือ การอำพราง การใช้ข้อมูลภายใน-ดูรายละเอียดผู้ถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. ปรับและจำนวนเงินค่าปรับ กรณีการใช้ข้อมูลภายในได้จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ประจำวันจันทร์ที่ 29-วันพุธที่ 31 มกราคม 2544)

ความร่ำรวยท่านได้แต่ใดมา ?

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) จะทราบความจริงนี้หรือไม่ก็ตาม
แต่ได้กล่าวอย่างภาคภูมิใจและชัดถ้อยชัดคำว่า
การที่ผู้ถูกร้องประกอบธุรกิจประสบความสำเร็จ
จนมีบริษัทในเครือและทรัพย์สินมากมาย
โอนลอยหุ้น และใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทน นั้น
"เป็นการประกอบธุรกิจตามปกติธรรมดาที่ใครๆ ก็ทำกันอย่างนั้้้น"
ทั้งๆ ที่การทำธุรกิจในระบบนายทุนของต่างประเทศ
เป็นการกระทำมุ่งแสวงหากำไร เป็นความโลภและความฟุ่มเฟือย
ฟุ้งเฟ้อ ไม่คำนึงถึงศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

นอกจากนี้ ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)
อ้างว่าเลิกกระทำธุรกิจหันมาทำงานการเมืองแล้วตั้งแต่ปี 2537
และมอบการบริหารธุรกิจในกลุ่มบริษัทให้แก่คู่สมรส
(ในกรณีที่ผู้ถูกร้องเป็นผู้รับสัมปทานจากรัฐ อาจเป็นการกระทำ
ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 110 (2)) บุตรและเครือญาติดำเนินการต่อไป
(แทนที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209
โอนหุ้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เช่น การให้ทรัสต์จัดการทรัพย์สินในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นความคิดก้าวหน้าสำหรับประเทศไทย)

และผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) เข้าใจผิดว่า
จำนวนประชาชนที่ออกเสียงเลือกผู้ถูกร้องในการเลือกตั้งทั่วไป
เพราะผู้ถูกร้องและคู่สมรสมีทรัพย์สินและหนี้สินจริงในวันยื่นบัญชีฯ
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วรรคสอง
เพราะประชาชน 11 ล้านกว่าคนนั้น
ไม่ทราบจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินจริงของผู้ถูกร้อง
และคู่สมรสดีไปกว่าเลขานุการส่วนตัวเพียง 2 คนของผู้ถูกร้อง
และคู่สมรสเพราะเป็นคนละเรื่องกัน

การกระทำคือผลของอดีต

การกระทำของผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) ดังกล่าวข้างต้น
ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)
ซึ่งเป็นผลของอดีตยังคงคิดและทำเหมือนเดิม
เหมือนนักธุรกิจคนอื่นในระบบทุนนิยมในประเทศไทย
แต่ยังคงเข้าใจผิดคิดว่าแนวความคิดที่จะบริหารประเทศ
ของผู้ถูกร้อง เป็นการคิดใหม่และทำใหม่
ไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคมของชาติ ซึ่งแก้ไขไม่ได้ด้วย "เงิน" อย่างเดียว

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) โฆษณาให้ประชาชนทราบเพียงว่า
ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)
ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจมีเงินทอง มากมาย
ไม่ทุจริต ผิดกฎหมาย และไม่อำพราง

แล้วอุทิศตัวหันมาทำงานทางการเมืองโดยโอนการจัดการธุรกิจ
ให้แก่คู่สมรส บุตร และเครือญาติ

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) รู้ปัญหาของบ้านเมืองดี
จึงอาสาเข้ามาแก้ไข
แต่ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) มิได้แสดงหรือเปิดเผยว่า
ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอดีตของผู้ถูกร้อง
ภายในระยะเวลาอันสั้นนั้น กระทำได้อย่างไร

และจะแก้ปัญหาการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของครอบครัว
กับประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชาติอย่างไร

ปัญหาของบ้านเมืองบางอย่างอาจแก้ไขได้
โดยไม่ต้องใช้เงินทองเลย
เพียงแต่ผู้นำของประเทศต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี
โดยการคิด พูด และทำตรงกัน

ชี้นำประชาชนในชาติว่าปัญหาของชาตินั้น
อยู่ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข
ด้วยการลด ละ และเลิก "ความเห็นแก่ตัว" เป็นอันดับแรก

ยิ่งทำได้มากและรวดเร็วเท่าใด
จะสามารถนำพาชาติบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤต
สู่ความเป็นปกติรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น

หากไม่แก้ไขความเห็นแก่ตัวก่อนแล้ว
เห็นว่าหมดหวัง
เพราะไม่มีทางอื่นใด
ที่จะแก้ไขปัญหาของชาติในเวลานี้ได้


ธาตุแท้-ความเห็นแก่ตัว ?

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อผู้ร้อง (ป.ป.ช.) กล่าวหาผู้ถูกร้อง
(พ.ต.ท.ทักษิณ) ว่าจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการ
ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบว่า
มีข่าวที่ค่อยๆ เบี่ยงเบนประเด็นที่ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)
ถูกกล่าวหาทีละน้อยๆ และเป็นระยะๆ ว่าผู้ถูกร้อง
(พ.ต.ท.ทักษิณ) ประกอบธุรกิจจนร่ำรวยด้วยน้ำพักน้ำแรง ไม่มีการทุจริต ผิดกฎหมาย

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)
เป็นคนแรกที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ให้ประชาชนทราบ ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายบังคับ
ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)
สมัครใจยื่นรายการทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มเติมเอง
หากศาลเห็นว่าผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท. ทักษิณ)
กระทำผิดก็เป็นการทำผิดโดยสุจริต
ควรใช้หลักรัฐศาสตร์ชะลอการ
ตัดสินคดี หรือยกโทษให้ผู้ถูกร้อง

ไม่ควรลงโทษผู้ถูกร้อง
ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน 10 กว่าล้านคน

เพื่อให้โอกาสผู้ถูกร้องบริหารประเทศต่อไปอีกระยะหนึ่ง
เพราะไม่มีใครดีกว่าผู้ถูกร้อง ประเทศไทยขาดผู้ถูกร้องไม่ได้
ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้ศาลกระทำได้

และเมื่อใกล้จะถึงวันที่ศาลลงมติ
มีข่าวหนาหูขึ้นว่า
ฝ่ายผู้สนับสนุนผู้ถูกร้องจะชุมนุมกันเพื่อกดดันศาล
จะวางเพลิงเผาศาล
ตลอดจนจะทำร้ายตุลาการบางคน
จนกระทั่งมีผู้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปให้ความคุ้มครอง
ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน
ไปอย่างน่าเสียดาย เป็นต้น


ข่าวต่างๆ ดังกล่าวมานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

หากมิใช่เป็นการแสดง ....."ความเห็นแก่ตัว"..... ของคน

aaaaaaaaaaaaa

ผู้เกิดก่อนกาล "ประเสริฐ นาสกุล"


 นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้จากการค้นในอินเทอร์เน็ต
วิจารณ์ พานิช
๒๖ กพ. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 16863เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2006 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกการเมืองไทย (๑๑) : เรียนรู้จาก ประเสริฐ นาสกุล

คิดถึง "ประเสริฐ นาสกุล"

ตุลาการที่รู้ธาตุแท้ทักษิณก่อนใคร ?

รายงาน

โดย ขุน สำราญภักดี

นายประเสริฐ นาสกุล เป็นตุลาการเสียงข้างน้อย 7 ต่อ 8

ที่เห็นว่าทักษิณ มีเจตนาจงใจ ซุกหุ้น

หลังตัดสินคดีซุกหุ้น ประเสริฐใช้ชีวิตแบบราษฎรเต็มขั้น

มีปัญหาเรื่องสุขภาพบ้างอันเป็นไปตามวัย

แต่หัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม

ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ครั้งหนึ่งอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ

ให้สัมภาษณ์นักข่าวถึงเบื้องหลังคำวินิจฉัยที่ฟันธงว่า

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซุกหุ้น ว่า

"ผมไม่เคยขออะไรใคร จึงไม่มีใครมากล้าขออะไรผม

ทุกคนก็รู้จักนิสัยดี ผมเห็นว่าหากเรา

เคยไปขออะไรใคร ถึงเขาจะไม่ให้เรา

แต่ก็ถือว่ามีบุญคุณแล้ว

เขาก็จะมาทวงบุญคุณภายหลังได้

สู้เป็นตัวของตัวเองดีกว่า"

นี่คือคนจริงและความจริง

ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการตกแต่ง สร้างนิยายเพื่อหลอกคนอื่น

"ประชาชาติธุรกิจ"

ย้อนกลับไปดูคำวินิจฉัยส่วนตัวของนายประเสริฐ นาสกุล

ที่เขียนไว้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 อีกครั้ง

เพราะเห็นว่าคำวินิจฉัยฉบับนี้มิได้มีแต่หลักกฎหมายอย่างเดียว

แต่ยังเจาะทะลวงลงไปถึงก้นบึ้งของ

"ธนกิจการการเมือง" อย่างแจ่มแจ้งดั่งแสงตะวัน

ลอกเลียนระบบทุนนิยม

ตอนหนึ่งของคำวินิจฉัยเขียนว่า

การพัฒนาระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

โดยลอกเลียนความรู้จากกฎหมายของต่างประเทศ

ในระบบทุนนิยมมาประยุกต์ใช้เพียงอย่างเดียว

แต่ไม่ใช้สติและปัญญา

นำเอาวิธีปฏิบัติที่ดีและเหมาะสม ตลอดจนวิธีการ

ป้องกันการเอาเปรียบ การเลี่ยงปฏิบัติตามกฎหมาย ฯลฯ มาใช้ด้วย

ประกอบกับการเอาความสะดวกสบาย

โดยไม่รู้จักคิดปล่อยหรือยอมให้ผู้อื่นคิดแทนโดยไม่มีการพิจารณาว่า

ระบบดังกล่าวสอดคล้องกับศีลธรรมและวัฒนธรรม

อันดีงามของสังคมไทยหรือไม่

เพราะผู้นำเข้ามุ่งแต่การมีระเบียบแบบแผน กฎหมาย

และหวังในความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ขาดประสบการณ์ไม่ทราบหรือคาดคิดมาก่อนว่า

ความรู้ที่นำมานั้้้นอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการเมือง

เศรษฐกิจ และสังคม และเตรียมการป้องกันไว้ด้วย เช่น

การประกอบธุรกิจแบบครอบครัว

ได้พัฒนาเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท

เอกชน บริษัทมหาชน และกลุ่มบริษัท

โดยมีตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นแหล่งระดมเงินทุน

และต่อไปจะมีตลาดกลางสินค้าเกษตรล่วงหน้า

แต่มีผู้คิดหาช่องทางต่างๆ ของกฎหมาย เช่น

การค้าเสรีเปิดโอกาสให้ใครมือยาวสาวได้สาวเอา โดยใช้ความ

ได้เปรียบในฐานะทางเศรษฐกิจ ถิ่นที่อยู่และการศึกษา

การเอาประโยชน์โดยใช้ผู้ใกล้ชิดให้มีจำนวนเพียงพอที่

จะก่อตั้งบริษัท แล้วโอนลอยหุ้น

การใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทนการปล่อยเงินกู้เฉพาะแกคนรู้จัก การโอนถ่ายกำไรระหว่างบริษัท

การใช้ข้อมูลภายในของบริษัทและกลุ่มบริษัทเพื่อขยายกิจการ การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม (มีการบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ การปล่อยข่าวลือ การอำพราง การใช้ข้อมูลภายใน-ดูรายละเอียดผู้ถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. ปรับและจำนวนเงินค่าปรับ กรณีการใช้ข้อมูลภายในได้จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ประจำวันจันทร์ที่ 29-วันพุธที่ 31 มกราคม 2544)

ความร่ำรวยท่านได้แต่ใดมา ?

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) จะทราบความจริงนี้หรือไม่ก็ตาม

แต่ได้กล่าวอย่างภาคภูมิใจและชัดถ้อยชัดคำว่า

การที่ผู้ถูกร้องประกอบธุรกิจประสบความสำเร็จ

จนมีบริษัทในเครือและทรัพย์สินมากมาย

โอนลอยหุ้น และใช้ชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทน นั้น

"เป็นการประกอบธุรกิจตามปกติธรรมดาที่ใครๆ ก็ทำกันอย่างนั้้้น"

ทั้งๆ ที่การทำธุรกิจในระบบนายทุนของต่างประเทศ

เป็นการกระทำมุ่งแสวงหากำไร เป็นความโลภและความฟุ่มเฟือย

ฟุ้งเฟ้อ ไม่คำนึงถึงศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

นอกจากนี้ ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)

อ้างว่าเลิกกระทำธุรกิจหันมาทำงานการเมืองแล้วตั้งแต่ปี 2537

และมอบการบริหารธุรกิจในกลุ่มบริษัทให้แก่คู่สมรส

(ในกรณีที่ผู้ถูกร้องเป็นผู้รับสัมปทานจากรัฐ อาจเป็นการกระทำ

ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 110 (2)) บุตรและเครือญาติดำเนินการต่อไป

(แทนที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209

โอนหุ้นให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เช่น การให้ทรัสต์จัดการทรัพย์สินในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นความคิดก้าวหน้าสำหรับประเทศไทย)

และผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) เข้าใจผิดว่า

จำนวนประชาชนที่ออกเสียงเลือกผู้ถูกร้องในการเลือกตั้งทั่วไป

เพราะผู้ถูกร้องและคู่สมรสมีทรัพย์สินและหนี้สินจริงในวันยื่นบัญชีฯ

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วรรคสอง

เพราะประชาชน 11 ล้านกว่าคนนั้น

ไม่ทราบจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินจริงของผู้ถูกร้อง

และคู่สมรสดีไปกว่าเลขานุการส่วนตัวเพียง 2 คนของผู้ถูกร้อง

และคู่สมรสเพราะเป็นคนละเรื่องกัน

การกระทำคือผลของอดีต

การกระทำของผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) ดังกล่าวข้างต้น

ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)

ซึ่งเป็นผลของอดีตยังคงคิดและทำเหมือนเดิม

เหมือนนักธุรกิจคนอื่นในระบบทุนนิยมในประเทศไทย

แต่ยังคงเข้าใจผิดคิดว่าแนวความคิดที่จะบริหารประเทศ

ของผู้ถูกร้อง เป็นการคิดใหม่และทำใหม่

ไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาทางการเมือง

เศรษฐกิจ และสังคมของชาติ ซึ่งแก้ไขไม่ได้ด้วย "เงิน" อย่างเดียว

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) โฆษณาให้ประชาชนทราบเพียงว่า

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)

ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจมีเงินทอง มากมาย

ไม่ทุจริต ผิดกฎหมาย และไม่อำพราง

แล้วอุทิศตัวหันมาทำงานทางการเมืองโดยโอนการจัดการธุรกิจ

ให้แก่คู่สมรส บุตร และเครือญาติ

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) รู้ปัญหาของบ้านเมืองดี

จึงอาสาเข้ามาแก้ไข

แต่ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ) มิได้แสดงหรือเปิดเผยว่า

ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอดีตของผู้ถูกร้อง

ภายในระยะเวลาอันสั้นนั้น กระทำได้อย่างไร

และจะแก้ปัญหาการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของครอบครัว

กับประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชาติอย่างไร

ปัญหาของบ้านเมืองบางอย่างอาจแก้ไขได้

โดยไม่ต้องใช้เงินทองเลย

เพียงแต่ผู้นำของประเทศต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี

โดยการคิด พูด และทำตรงกัน

ชี้นำประชาชนในชาติว่าปัญหาของชาตินั้น

อยู่ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข

ด้วยการลด ละ และเลิก "ความเห็นแก่ตัว" เป็นอันดับแรก

ยิ่งทำได้มากและรวดเร็วเท่าใด

จะสามารถนำพาชาติบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤต

สู่ความเป็นปกติรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น

หากไม่แก้ไขความเห็นแก่ตัวก่อนแล้ว

เห็นว่าหมดหวัง

เพราะไม่มีทางอื่นใด

ที่จะแก้ไขปัญหาของชาติในเวลานี้ได้

ธาตุแท้-ความเห็นแก่ตัว ?

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อผู้ร้อง (ป.ป.ช.) กล่าวหาผู้ถูกร้อง

(พ.ต.ท.ทักษิณ) ว่าจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการ

ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบว่า

มีข่าวที่ค่อยๆ เบี่ยงเบนประเด็นที่ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)

ถูกกล่าวหาทีละน้อยๆ และเป็นระยะๆ ว่าผู้ถูกร้อง

(พ.ต.ท.ทักษิณ) ประกอบธุรกิจจนร่ำรวยด้วยน้ำพักน้ำแรง ไม่มีการทุจริต ผิดกฎหมาย

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)

เป็นคนแรกที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

ให้ประชาชนทราบ ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายบังคับ

ผู้ถูกร้อง (พ.ต.ท.ทักษิณ)

สมัครใจยื่นรายการทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มเติมเอง

หากศาลเห็นว่าผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท. ทักษิณ)

กระทำผิดก็เป็นการทำผิดโดยสุจริต

ควรใช้หลักรัฐศาสตร์ชะลอการ

ตัดสินคดี หรือยกโทษให้ผู้ถูกร้อง

ไม่ควรลงโทษผู้ถูกร้อง

ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน 10 กว่าล้านคน

เพื่อให้โอกาสผู้ถูกร้องบริหารประเทศต่อไปอีกระยะหนึ่ง

เพราะไม่มีใครดีกว่าผู้ถูกร้อง ประเทศไทยขาดผู้ถูกร้องไม่ได้

ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้ศาลกระทำได้

และเมื่อใกล้จะถึงวันที่ศาลลงมติ

มีข่าวหนาหูขึ้นว่า

ฝ่ายผู้สนับสนุนผู้ถูกร้องจะชุมนุมกันเพื่อกดดันศาล

จะวางเพลิงเผาศาล

ตลอดจนจะทำร้ายตุลาการบางคน

จนกระทั่งมีผู้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปให้ความคุ้มครอง

ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน

ไปอย่างน่าเสียดาย เป็นต้น

ข่าวต่างๆ ดังกล่าวมานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

หากมิใช่เป็นการแสดง ....."ความเห็นแก่ตัว"..... ของคน

aaaaaaaaaaaaa

ผู้เกิดก่อนกาล "ประเสริฐ นาสกุล"

นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้จากการค้นในอินเทอร์เน็ต

วิจารณ์ พานิช

๒๖ กพ. ๔๙

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท