แบบทดสอบปลายภาค


ทดสอบระบบสารสนเทศ

สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ประกอบด้วย

1 ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

2 ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

3 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

4 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

ระบบสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

                ปัจจุบันการบริหารในวงการต่าง ๆ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันมากขึ้นโดยเฉพาะในการบริหารธุรกิจ   ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงต่างก็พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารเพื่ออำนวย            ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้า  ทำให้ลูกค้าพึงพอใจให้มากที่สุดเป็นการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการในธุรกิจของตน  และเป็นที่น่ายินดีที่วงการศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับสถาบันการศึกษา            ก็มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในสถานศึกษามากขึ้น  โดยเฉพาะในยุคของการปฏิรูปการศึกษาโดยมุ่งหวังให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จ  ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

                                ระบบสารสนเทศ (information)  หมายถึง  กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้  และในการจัดทำระบบสารสนเทศนั้น  (กรมวิชาการ 2545:9)  การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในสถานศึกษามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์มากสำหรับบุคลากรทุกคนในองค์การ  ทำให้มีข้อมูลประกอบการพัฒนางาน  สร้างทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารทั้งในระดับสูงและระดับรองลงมา  มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจวางแผนดำเนินการต่าง ๆ

                                สุริยะพร  ฮ่องช่วน, (2550:1)  กล่าวไว้ว่า  สารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีดังนี้

                                1.  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ประกอบด้วย  ข้อมูลและสารสนเทศ           ที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา  สภาพเศรษฐกิจ   การเมือง  สังคม  ความต้องการของชุมชน          สภาพการบริหารจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ  เช่น ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา  เป็นต้น

 

 

 

                                2.  ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน  เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด  สารสนเทศส่วนนี้เกิดจากผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่  เช่น  ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน             ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน  ผลงานของผู้เรียน  เป็นต้น

                                3.  ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ  เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผล  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เช่น  การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและการเรียนการสอน  บรรยากาศการเรียนการสอน  เป็นต้น

                                4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  สารสนเทศประเภทนี้ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัย  จึงจะมีความหมายต่อการจัดการและ การบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  เช่น  งานธุรการ  งานการเงิน  งานบุคลากร  งานพัฒนา                  แหล่งการเรียนรู้  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

--                            

ตัวอย่างรายละเอียดสารสนเทศที่จำเป็นและข้อมูลที่ต้องการ มีดังต่อไปนี้

(คำรน  ล้อมในเมือง, ม.ป.ท: 12-24)

 

สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

สารสนเทศ

ข้อมูลที่ต้องการ

1.       ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

2.       ศักยภาพของสถานศึกษา

 

 

 

3.       ความต้องการของชุมชน

1.       ประวัติ ที่ตั้ง ขนาดของสถานศึกษา จำนวนพื้นที่ ลักษณะการจัดตั้ง สถานภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาที่เปิดสอน จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้น/จำนวนครู/บุคลากร/จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ความสามารถพิเศษ  ระดับการศึกษาที่เปิดสอนจำนวนห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ อัตราการย้ายเข้า-ออกของนักเรียน

2.       ความเชื่อ/ปรัชญา/คำขวัญ/คติพจน์ของสถานศึกษา

1.       จุดเด่น/ความเข้มแข็งของสถานศึกษา

2.       จุดด้อย/ข้อจำกัดของสถานศึกษา

3.       โอกาส/ปัจจัยเอื้อในการพัฒนาสถานศึกษา

4.       ความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจของสถานศึกษา

1.       ความต้องการของชุมชนเกี่ยวกับอาชีพการมีงานทำ การศึกษาต่อ

2.       ความต้องการของชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนา       คุณภาพการศึกษา

4.       แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารสนเทศ

 


5.       แนวทางการจัดการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

6.       การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการนักเรียน

1.       สภาพเศรษฐกิจของชุมชนและผู้ปกครอง (รายได้     การมีงานทำ อาชีพ)

2.       สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน  (ความเชื่อ  ประเพณี  การนับถือศาสนา)

3.       สภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

4.       จำนวนประชากรในเขตพื้นที่บริการ (ก่อนวัยเรียน      วัยเรียน วัยทำงาน วัยสูงอายุ)

 

 

 

 

ข้อมูลที่ต้องการ

 

1.       ทิศทาง/นโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาของรัฐ

2.       ข้อความระบุวิสัยทัศน์ เป้าหมายการพัฒนา และภารกิจของสถานศึกษา

3.       กระบวนการจัดทำวิสัยทัศน์ เป้าหมายและ  ภารกิจของสถานศึกษา (การมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และภารกิจ)

4.       ความสอดคล้องของวิสัยทัศน์ ภารกิจกับ         เป้าหมายของสถานศึกษา

1.       จำนวนครั้งของการเข้าร่วมประชุมในรอบปี

2.       รายชื่อคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมแต่ละครั้ง

3.       สาระสำคัญของการประชุม

4.       โครงสร้างการบริหารงานคณะกรรมการ

 

 

สารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน

สารสนเทศ

ข้อมูลที่ต้องการ

1.       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

1.1   ระดับค่าเฉลี่ย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้

            เรียนแต่ละกลุ่มวิชาแยกตาม

            ชั้นเรียน/ช่วงชั้น

 

1.2   ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับผลการเรียนในแต่ละระดับผลการเรียนจำแนกตมกลุ่มวิชา และระดับชั้น

1.3   ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

สารสนเทศ

 


1.4  ร้อยละของผู้เรียนที่จบการศึกษา

 ตามหลักสูตร

 

1.5  ร้อยละของผู้เรียนที่ศึกษาต่อ

 

 

1.       จำนวนผู้เรียนทั้งหมดที่สอบผ่านแต่ละกลุ่มวิชาแยกตามชั้นเรียน ช่วงชั้น

2.       คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มวิชาแต่ละชั้นเรียน/ช่วงชั้น

3.       จำนวนผู้เรียนทั้งหมด/ช่วงชั้น

1.       จำนวนผู้เรียนที่ได้รับผลการเรียนในแต่ละระดับผลการเรียนจำแนกตามกลุ่มวิชา และระดับชั้น

2.       จำนวนผู้เรียนทั้งหมดแยกตามระดับชั้น

1.   จำนวนผู

หมายเลขบันทึก: 168218เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท