the Jedi Warrior... นักรบแห่งโพธิสัตว์ (ตอนจบ)


การแก้ปัญหาหรือการเยียวยาก็ต้องช่วยกันดูแลรักษาทั้งระบบไม่ใช่แก้แต่สิ่งที่เห็นหรือจุดที่เป็นปัญหา

          จากที่ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมฝึกในครั้งนี้ตลอดทั้ง ๔ วัน  ดิฉันได้เรียนรู้หลายเรื่อง ดังนี้

  • Deep Listening  ตลอดกระบวนการวิทยากรจะพูดย้ำและให้ความสำคัญกับ Deep Listening อยู่เสมอไม่ว่าจะเวลาทำสมาธิ  ฟังบรรยาย  เข้ากลุ่มย่อย  รวมกลุ่มใหญ่    ให้ฟังอย่างลึกซึ้ง ใคร่ครวญ  เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ  แต่อย่าเพิ่งเชื่อจนกว่าจะได้ลองทำเอง    ยิ่งฟังได้ลึกซึ้งและเชื่อมโยงได้มากเท่าไร ยิ่งทำให้เรารู้จริงและทำให้เรามีสติมากขึ้นเท่านั้น --- ซึ่ง Deep Listening ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการใช้ KM ให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน

  • เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์   สิ่งที่วิทยากรฝึกผู้เข้าร่วมอีกอย่างคือ อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เขาพูดเพราะต้องนำมาพิจารณา ใคร่ครวญ  ทดลองใช้  แล้วจึงเชื่อ  ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นคำสอนของศาสนาพุทธ   ดิฉันคิดว่าแนวคิดนี้ก็เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการ KM  ดังนี้

คำสอนทางพุทธศาสนา

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการ KM

ฟังอย่างลึกซึ้ง แต่อย่าเพิ่งเชื่อ

ตั้งสมมุติฐาน

ฟังอย่างลึกซึ้ง แต่อย่าเพิ่งเชื่อ

พิจารณา ใคร่ครวญ

พิจารณา หาข้อมูล วางแผนการทำลอง

พิจารณา ใคร่ครวญ หาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม (BAR)

ทดลองปฏิบัติจริง

ทดลองตามแผน

ปฏิบัติจริง

พิจารณา ใคร่ครวญสิ่งที่ได้ทำ

สรุปและวิเคราะห์ผลการทดลอง

AAR

ตัดสินเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ตัดสินเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ตัดสินเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

            ทั้ง ๓ แนวคิดดังกล่าวเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการล้วนต้องนำไปปรับประยุกต์ใช้ เรียนรู้ต่อไปไม่สิ้นสุด

  • เชื่อมโยงกับทุกสิ่งรอบตัว   สิ่งที่ได้เรียนรู้อีกเรื่องคือการเชื่อมโยงของวิทยากร ถึงแม้วันสุดท้ายดิฉันจะไม่เข้าใจเนื้อหาที่วิทยากรต้องการถ่ายทอดเท่าไร   แต่ตลอดกระบวนการทั้ง ๔ วันวิทยากรจะพูดเสมอว่าสิ่งที่เราทำ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นแม้เหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ  มันมีผลกระทบเชื่อมโยงต่อสิ่งอื่นๆ  เหมือนที่พูดกันว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"   ดังนั้นการแก้ปัญหาหรือการเยียวยาก็ต้องช่วยกันดูแลรักษาทั้งระบบไม่ใช่แก้แต่สิ่งที่เห็นหรือจุดที่เป็นปัญหา  ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ   และในความจริงแล้วเราทุกคนก็เป็นต้นเหตุแห่งปัญหานั้นเช่นกันเพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น  เพียงแค่จุดเกิดเหตุไม่ได้ตกตรงจุดที่เราอยู่เท่านั้นเอง

  • วิทยากร มีความนิ่ง  ผ่อนคลาย  ยืดหยุ่นตามสถานการณ์มาก   โดยแต่ละกระบวนการไม่เร่งรีบ ไม่บังคับผู้เข้าร่วมว่าต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้  กิจกรรมนั้นๆ ต้องจบกี่โมง  วิทยากรจะสังเกตผู้เข้าร่วมและคอยปรับตลอดเวลาให้ได้ตามที่ผู้เข้าร่วมต้องการและรับได้  ไม่ใช่ปรับตามที่วิทยากรต้องการ    คิดๆ แล้วก็คล้ายกับตอนไปร่วม workshop กับ สรส. ที่กระบวนการจะถูกปรับไปได้ตลอดเวลาแต่ปรับอย่างแนบเนียนและทำให้ผู้เข้าร่วมผ่อนคลาย

  • ล่าม   เนื่องจากการอบรมนี้เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาที่ใช้เป็นศัพท์ชั้นสูง ไพเราะ และมีความลึกซึ้งมาก  ดังนั้นการแปลจึงเป็นการช่วยกันตีความ  ล่ามเพียงคนเดียวไม่สามารถแปลได้ครบถ้วน  ซึ่งประทับใจทีมงานและผู้เข้าร่วม  ที่ช่วยกันแปล ช่วยกันตีความเป็นอย่างดี  กลายเป็นทีมล่ามเฉพาะกิจที่น่ารัก   เห็นการทำงานกันเป็นทีมโดยไม่ได้นัดหมาย

        การเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ถือว่าดิฉันได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยได้เรียนรู้เยอะมาก  แต่ถ่ายทอดออกมาได้เพียงบางส่วนเท่านี้นะคะ... ทึกการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันจึงขอปิดหัวข้อนี้เพียงเท่านี้นะคะ

URAImAN

คำสำคัญ (Tags): #bodhisattva
หมายเลขบันทึก: 168073เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

ติดตามอ่าน ด้วยความสนใจ

เป็นการอบรมที่มีคุณค่าครับ

เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานความรู้และความคิดที่เป็นระบบ

ทำให้ย้อนคิดถึงการสอนการเรียนรู้เรื่องศาสนา การปฏิบัติธรรมของสังคมไทย

ซึ่งเป็นแบบของเรา

ทำให้คนไม่ได้เข้าถึงความรู้อย่างเป็นระบบ

เช่นการที่คนไทยชอบไปวัด เพื่อทำบุญ

ซึ่งก็ไปมุ่งอยู่ที่พิธีกรรม และการนั่งสมาธิ

นั่งสมาธิโดยยังไม่รู้หรือเข้าใจหลักการหรือกระบวนการของจิต

ยอมรับว่าการทำงานของผู้อบรมเหล่านี้มุ่งเผยแพร่ความรู้แก่ผู้อื่น ถือเป็นการให้ที่มีคุณค่า

เป็นความพยายามที่จะช่วยชีวิต(ทางจิตวิญญาน)ที่ดีครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท