เครื่องดนตรีไทยประเภทตีที่ทำด้วยโลหะ


โลหะ

 


 
 
 ประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยเหล็ก 
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยเหล็กนั้นมีอยู่ด้วยกัน 11  ชิ้น ดังนี้
            1. ฆ้องวงใหญ่
            2. ฆ้องวงเล็ก
            3. ฆ้องโหม่ง
            4. ฆ้องเหม่ง
            5. ฆ้องคู่
            6. ฆ้องชัย
            7. ฆ้องหุ่ย
            8. ฉิ่ง
            9. ฉาบ
           10. ระนาดเอกเหล็ก
           11. ระนาดทุ้มเหล็ก
            
 
ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องตีประเภททำทำนองที่ทำด้วยโลหะ  หลอมกลึงเป็นลูกๆทรงกลม  มีขนาดลดหลั่นกัน 16 ลูก แขวนอยู่บนร้านฆ้อง ซึ่งทำด้วยหวายดัดโค้งเป็นวงกลม  ผู้ตีนั่งอยู่ในวงฆ้อง จับไม้ตีข้างละอัน ตีเป็นทำนองเพบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยสุโขทัยมาจนถึงทุกวันนี้ "๑" มีหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก   เป็นหลักของวงปี่พาทย์จนถึงปัจจุบัน  เดิมเรียก " ฆ้องวง "    ต่อเมื่อเกิดฆ้องวงเล็กในสมัยรัชกาลที่ 3     จึงเรียกฆ้องที่มีอยู่เดิมว่า " ฆ้องวงใหญ่ "  เพราะมีขนาดใหญ่กว่า ฆ้องวงใหญ่มีส่วนประกอบ ดังนี้

            1. ร้านฆ้อง

ร้านฆ้อง   ทำด้วยหวายเป็นต้น 4 เส้น  ดัดโค้ง  เป็นวงกลม   ใช้ 2 เส้นดัดเป็นโค้งเป็นวงนอก  อีก 2 เส้นโค้งเป็นวงใน ยึดติดกับลูกมะฮวด
ลูกมะหวด  ทำด้วยไม้กลึงให้กลมเป็นลอนขนาบด้วย " ลูกแก้ว "  หัวท้ายบากและปาดโค้งรับกับต้นหวายเป็นระยะตลอดทั้งวง
โขนฆ้อง  ทำด้วยไม้หนา มีลักษณะตอนกลางนูน เป็นสันเรียวแหลมเหมือนใบโพธิ์  ข้างปาดเรียวลง  ยึดติดติดกับต้นหวายทั้งสองข้าง  ข้างหนึ่งใหญ่  อีกข้างหนึ่งเล็ก 
ไม้ค่ำล่าง     เป็นไม้ลักษณะสี่เหลี่ยมทรงแบน   ยึด ติดกับหวายคู่ล่างโดยรอบ ระยะห่างพอสมควร      บางวงจะใช้แผ่นโลหะตอกตะปูคลุมอีกทีหนึ่ง
ไม้ตะคู้  คือไม้ไผ่เล็กๆเจาะฝังเข้าไปในลูก มะหวด เพื่อกั้นสะพานหนู
สะพานหนู  เป็นเส้นลวดสอดโค้งเป็นวงใต้ไม้ตะคู้    เพื่อไว้ผูกหนังลูกฆ้อง     ด้านในและด้านนอก      
ไม้ค้ำบน หรือ ไม้ถ่างฆ้อง       เป็นไม้แผ่นบางๆปาดหัวท้ายเว้าตามเส้นหวาย        เพื่อใช้ถ่างให้วงฆ้อง  ให้อยู่ในสภาพเป็นวงสวยงาม    ปกติลูกฆ้อง 4  ลูกจะ           ใส่ไม้ถ่างฆ้อง 1 อัน  ฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูก  จึงมีไม้ถ่างฆ้องวงหนึ่ง 4 อัน  ที่ต้นหวายทั้ง 4 ต้นจะมีหวายผ่าซีก 2 หรือ 3  เส้นประกบโดยรอบ  เพื่อรองรับหนังผูกฆ้อง   และเพื่อให้สวยงาม จะกลึงเป็นเม็ดติดไว้ที่ปลายต้นหวายทั้งสี่ต้น  สำหรับสมัยโบราณจะกลึงเม็ดเป็นขา ติดอยู่ที่ใต้ไม้ถ่างล่างอีกทีหนึ่ง
            วงฆ้องบางวงได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม  โดยการประกอบงา แกะลวดลายฝังงา หรือมุขที่โขน บางครั้งที่ลูกมะหวดประกอบงา หรือเป็นงาทั้งอัน   หรือแกะลวดลาย ลงรักปิดทองสวยงาม

            2.ลูกฆ้อง
            ทำด้วยโลหะที่เรียกว่า "ทองเหลือง"  หลอม ตี  หรือกลึงเป็นลูกๆทรงกลม  ด้านบนกลึงตรงกลางให้นูนเป็นปุ่มเรียกว่า " ปุ่มฆ้อง "  สำหรับตีให้เกิดเสียง ด้าน  ข้างกลึงเป็นขอบงุ้มลงเรียกว่า " ฉัตร "   เพื่อให้เสียงดังกังวานยาวขึ้น   ที่ฉัตรเจาะรู 4 รูสำหรับร้อยหนังเลียด ซึ่งทำด้วยหนังเส้นเล็ก ร้อยผ่านรูที่ฉัตร  ไปผูกยังสะพานหนู    วงหนึ่ง
มี 16 ลูกลดหลั่นกันตามลำดับ    แต่ละลูกจะติดตะกั่วผสมขี้ผึ้งใต้ปุ่มฆ้อง เพื่อให้ได้เสียง  สูงต่ำเรียงตามลำดับ 16 เสียง     ลูกที่มีเสียงต่ำสุดจะ  เรียกว่า " ลูกทวน "   และลูกที่มีเสียงสูงสุดจะเรียกว่า  " ลูกยอด "
            3.ไม้ตีฆ้อง
            ก้านทำด้วยไม้ไผ่ เหลาให้กลมเล็ก ยาวพอประมาณ ไม้ที่ดีนิยมไม้ที่มี 5 ข้อขึ้นไปจนถึง 9 ข้อ   หัวไม้  ทำด้วยหนังช้าง ตัดเป็นวงกลม  ทุบปลายบานเป็นขอบ  เล็กน้อย   เพื่อให้นุ่มสำหรับตีลงที่ปุ่มฆ้องได้เสียงที่นุ่ม ไพเราะ  ปัจจุบันหนังช้างหายาก   จึงใช้ไม้ฆ้องที่หัวพัน  ด้วยผ้า เคียนด้วยด้ายสีต่างๆด้วยวิธีกรรมที่ปราณีตสวยงาม  เรียกว่า
" ไม้นวม "   เสียงจะนุ่มนวล   แต่ไม่คมคายเท่าหนังช้าง   เหมาะสำหรับไว้ฝึกซ้อม

            ท่านั่ง
            นั่งท่าขัดสมาธิ หรือพับเพียบ  อยู่กึ่งกลางในวงฆ้อง  ลำตัวตรง

            ท่าจับ
            ด้วยการหมายมือจับไม้ตีข้างละอัน  ให้ก้านไม้ตีพาดอยู่ในกลางร่องอุ้งมือ  พร้อมกับใช้นิ้วกลาง  นาง ก้อย จับก้านไม้ตีไว้ และใช้นิ้วหัวแม่มือแตะไว้ที่ด้านข้าง ปลายนิ้วชี้กดที่ด้านล่างของก้านไม้ตี  โดยให้ปลายนิ้วชี้อยู่ชิดกับหัวไม้ตี   ในลักษณะที่จะใช้ควบคุมเสียงของฆ้องใหญ่ และค่ำมือลงเมื่อพร้อมที่จะบรรเลง    แขนทั้งสองอยู่ข้างลำตัว
งอข้อศอกเป็นมุมฉากพองาม

            หลักการตีฆ้องวงใหญ่
            --  ต้องตีให้หน้าไม้ตั้งฉากกับลูกฆ้อง                                    
            --  ตีตรงกลางปุ่มให้เต็มปื้นไม้ตี                                 
            -- ใช้ข้อมือและกล้ามเนื้อแขนเป็นหลัก                                  
            --  ยกไม้ตีสูงพอสมควร (ประมาณ 5-6 นิ้วฟุต)                      
            -- ขณะบรรเลงสามารถหมุนไม้ตีไปรอบๆ  เพื่อไม้ตีไม่เสียรูปทรงจากหลักการตีดังกล่าว ก่อให้เกิดวิธีและเสียงของฆ้องอันเป็นพื้นฐานดังนี้

            หลักการตีฆ้องวงใหญ่
            1.ตีมือละลูกเป็นคู่แปด  คือการตีด้วยมือซ้าย              และมือขวาพร้อมกันเป็นคู่แปด และคู่สี่    
            2. ตีมือละหลายๆลูก  คือการตีมือละหลายๆลูก  อาจแบ่งมือซ้ายขวาเท่ากันหรือไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ   ท่วงทำนองเพลงเป็นหลัก โดยปรกติจะตีลงด้วยมือซ้าย  หนึ่งครั้ง มือขวาสองครั้ง ถือเป็นมือเอกลักษณ์ของฆ้องวงใหญ่
            อีกแบบหนึ่งจะตีโดยแบ่งมือเท่าๆกัน  ในพยางค์ของเสียงที่ต่อเนื่องกัน ทั้งขึ้นและลง                                                           3. ตีสะบัด   คือการตีพยางค์มากกว่าเก็บ   ซึ่งขึ้นอยู่ในหัวข้อการตีมือละ
หลาย ๆ ลูก   แต่วิธีสะบัดของฆ้องวงนั้น   โดยมากจะเป็นการสะบัดขึ้นลง 3 พยางค์
3 เสียง  ถ้าขึ้นจะใช้ซ้ายหนึ่ง ขวาสอง       ถ้าลงจะใช้ขวาหนึ่ง ซ้ายสอง และมือแรกห้ามเสียงเล็กน้อย  ดังที่เรียกว่า " ซ้ายปิด ขวาเปิด " เป็นต้น
            4. ตีกวาด  คือการตีที่ลากหัวไม้ผ่านปุ่มฆ้องทุกลูก จากซ้ายไปขวา   หรือจากขวาไปซ้าย   ซึ่งโดยปรกติ จะลากไม้ฆ้องให้หัวไม้กระทบบริเวณด้านข้างของปุ่มลูกฆ้อง  ถ้าลากตรงกลางปุ่มจะทำให้สะดุด    เสียงไม่เรียบ
            5. ตีกรอ    คือการตีสองมือสลับกันด้วยพยางค์ถี่ๆและเร็ว   ปรกติจะเอามือซ้ายลงก่อน   และตีสลับให้สองมือมีอัตราและเสียงที่เท่ากัน
            6. ตีไขว้  คือการตีที่มือข้างหนึ่งไขว้ข้ามมืออีกข้างหนึ่ง โดยมือทั้งสองมีลักษณะไขว้กัน อาจเอามือซ้าย ไขว้มือขวา หรืออาจเอามือขวาไขว้มือซ้ายก็ได้   โดยปกติจะใช้ตีในเพลงเดี่ยว      ซึ่งจัดเป็นความสามารถของผู้ตี 
            7. ตีหนึบ หนับ หนอด โหน่ง    เป็นการตีที่ประคบมือมือทั้งสอง   คือการตีที่ใช้กล้ามเนื้อ กำลัง   ตลอดจนน้ำหนักพอดี บางครั้งตีลงแล้วเปิดหัวไม้ทันที บางครั้งปิดหัวไม้เล็กน้อย   โดยเฉพาะในเพลงเดี่ยวจะใช้วิธีการแบบนี้มาก     
                     
 
ฆ้องวงเล็ก    เป็นเครื่องตีประเภททำทำนองอีกประเภทหนึ่งที่ทำด้วยโลหะ หลอม ตี หรือกลึง   ให้เป็นลูกๆทรงกลม เช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า  และมากกว่าฆ้องวงใหญ่ ๒ ลูก เป็น ๑๘ ลูก     สร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นคู่กับฆ้องวงใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เรียกว่า " วงปี่พาทย์เครื่องคู่ "   มีหน้าที่ตีสอดแทรกพยางค์เสียงไปในทางสูง  และตีโดยวิธีเก็บให้สองมือสลับกัน  (อันเป็นเอกลักษณ์ของการตีฆ้องวงเล็ก) ผูกพันไปกับทำนองเพลง หรือทำนองหลัก    ช่วยให้มีเสียงกระหึ่มขึ้น มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับฆ้องวงใหญ่ดังนี้

            1.ร้านฆ้อง     ประกอบด้วยหวายเป็นต้น 4 ต้น ดัดโค้งเป็นวงกลม   มีลูกมะหวดติดกับต้นหวาย    อันประกอบไปด้วย                                                    

โขนฆ้อง                                                                                 
ไม้ถ่างล่าง                                                               
ไม้ตะคู้                                                                    
สะพานหนู                                                                
ไม้ถ่างบน                                                                
หวายเป็นซีก                                                                       
เม็ดปลายหวาย
เม็ดขาฆ้อง
            2. ลูกฆ้อง  ทำด้วยโลหะที่เป็นทองเหลือ มีลักษณะเช่นเดียวกับลูกของวงใหญ่ แต่ขนาดเล็กกว่า คือ

ลูกฆ้องทรงกลม                                                    
ปุ่มฆ้อง                                                                  
ฉัตร                                                                        
รูร้อยหนังเลียด                                                       
ติดตะกั่ว                                                                
ผูกบนร้านฆ้องเรียงลำดับ                                                  
ลูกทวน                                                                  
ลูกยอด                                                                   
            3. ไม้ตี  ทำด้วยไม้ มีลักษณะเช่นเดียวกับไม้ฆ้องใหญ่ แต่เล็กกว่า       
      
 
ฆ้องโหม่ง  เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะย่อย  เวลาตีมีเสียงดัง "โหม่ง โหม่ง โหม่ง"  ไทยเรารู้จักเครื่องดนตรีชนิดนี้มาแต่ก่อนเก่า คู่กันมากับกลอง  ดังมีภาษาที่เรียกว่า " ฆ้องกลอง " ซึ่งใช้ตีเป็นเครื่องกำหนดเวลามาในระยะหนึ่ง  กล่าวคือ ตอนกลางคืนใช้กลองตีดังเป็นเสียง " ตุ้ม  หรือ  ทุ้ม "  จึงเรียกส่วนแห่งเวลากลางคืนว่า " ทุ่ม "  ตอนกลางวันใช้ฆ้องตีว่า " โหม่ง  หรือ โหมง "    จึงเรียกส่วนแห่งเวลากลางวันว่า " โมง "  ซึ่งเรียกติดปากกันมาจนถึงทุกวันนี้ 
            ฆ้องโหม่ง  ทำด้วยโละ เช่น ทองเหลือง  หลองกลึงเป็นรูปทรงกลม   ผายกว้าง  ตอนกลางนูนเป็นปุ่มสำหรับตี  มีขอบงุ้มลงโดยรอบเรียกว่า  " ฉัตร "  ที่ฉัตรเจาะรู 2  รูสำหรับร้อยเชือกผูกถือ หรือแขวนตี  เวลาตีใช้ไม้หัวพันด้วยผ้า เพื่อเสียงดังไพเราะ  ใช้ตีเป็นเครื่องกำกับจังหวะใหญ่ในวงปี่พาทย์เครื่องคู่  หรือวงเครื่องใหญ่    หรือในวงมโหรีและวงเครื่องสายเครื่องคู่   สำหรับในชนบทนิยมให้โหม่งชนิดนี้    ตีร่วมในวงกลองยาวหรือวงมังคละ เป็นต้น  โดยเฉพาะเวลาตีจะใช้เชือกร้อยจับตี หรือ ทำด้วยไม้ร้อยเชือกจับตีอีกทีหนึ่ง  สำหรับในวงปี่พาทย์หรือวงเครื่องสาย  จะทำขาตั้งด้วยไม้หรือเหล็กดัดโค้งหรือสี่เหลี่ยม  แขวนโหม่งไว้ตรงกลาง   ตีด้วยไม้ที่ถากด้วยด้ายสลับสีสวยงาม      ตีดังกังวานไพเราะ
            วิธีตีโหม่งในวงปี่พาทย์หรือเครื่องสาย  ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ  ให้โหม่งวางอยู่ตรงหน้า  จับไม้ตีตีตรงกลางปุ่มด้วยน้ำหนักพอประมาณ   เนื่องจากโหม่งชนิดนี้มีเสียงดังกังวานยาวนาน  จึงนิยมตีห่างๆ  คือสองฉิ่งสองฉับต่อการตีโหม่งครั้งหนึ่ง  แต่ถ้าเป็นวงกลองยาวหรือวงมังคละ จะนิยมตีลงที่จังหวะหนัก ( ฉับ ) ตลอดโดยไม่เว้น   
    
 
ฆ้องเหม่ง เป็นเครื่องตีอีกอย่างหนึ่งที่ทำด้วยโลหะ เช่นเดียวกับฆ้อง  แต่มีขนาดเล็กกว่าและหนากว่า  เวลาตีตีด้วยท่อนไม้  ร่วมผสมอยู่ในวง " บัวลอย "  หรือวง กลองสี่ปี่หนึ่ง " มาแต่โบราณฆ้องชนิดนี้มีน้ำหนักมาก  เวลาตีจะใช้เชือกผูกกับไม้โยงมาร้อยที่ฉัตร สำหรับถือตี  ตีด้วยท่อนไม้เนื้ออ่อน  ตรงกลางปุ่มฆ้อง  มีเสียงดัง " เหม่ง  เหม่ง "  จึงเรียกฆ้องชนิดนี้ไปตามเสียงว่า  " ฆ้องเหม่ง "  และในอดีตจะใช้ฆ้องเหม่งนี้ตีร่วมในวงกลองสี่ปี่หนึ่ง ประโคมยาม  ในพระราชพิธีงานศพเจ้านาย 
            
 
ฆ้องคู่  เป็นเครื่องตีอีกอย่างหนึ่งที่ทำด้วยโลหะ  มีลักษณะคล้ายคลึงกับฆ้องเหม่ง แต่เล็กกว่าและบางกว่า  ร้อยเชือกหรือหนังเลียดแขวนอยู่บนรางที่ทำด้วยไม้ มีลักษณะคล้ายกล่อง มี 2 ลูกๆหนึ่งมีเสียงต่ำ อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูง  ตีด้วยไม้ใช้ตีอยู่วงปี่พาทย์ชาตรีประกอบการแสดงโนราห์ ของชาวภาคใต้มาแต่เดิม  
  
 
 ฆ้องชัย  เป็นเครื่องตีอีกชนิดหนึ่งที่ทำด้วยโลหะ        ซึ่งมี ขนาดใหญ่มาก    เวลาตีมีเสียงดังก้องกระหึ่มเป็นกังวานได้ยินไกล   ฆ้องชนิดนี้เรียกตามเสียงที่ดัง  "  หมุ่ยหรือหุ่ย "  เวลาตีจึงเรียกว่า " ฆ้องหุ่ย "  แต่เหตุที่เรียกว่า  " ฆ้องชัย "  ก็เพราะว่านำฆ้องชนิดนี้ไปใช้ตีในงาน มงคล เช่น    ตอนพระสวดพระพุทธมนต์เย็นจบหนึ่ง   ก็จะตีฆ้องดังขึ้น 3 ที    หรือในการโห่ร้องเอาฤกษ์ชัย  ก็จะตีฆ้องรับท้ายในการโห่ เช่นในพิธีทำขวัญนาค
            ฆ้องประเภทนี้นิยมเขียนหลายทองที่ตัวฆ้อง  ซึ่งมีบริเวณกว้าง  และยังลงอักขระเป็นคาถาอาคม      เพื่อ ความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ในพิธี   ปัจจุบันจะพบฆ้องชัยนี้ ใช้ตีร่วมกับแตร สังข์   ในงานพระราชพิธีที่สำคัญ  โดยมีหน้าที่ตีนำเป็นอันดับแรก   จากนั้น สังข์ แตร และวงปี่พาทย์จะบรรเลงตาม  เช่น     ในพระราชพิธีทอดผ้าพระกฐิน และเนื่องจากฆ้องชัยนี้มีขนาดใหญ่มาก เวลาตีสำหรับชาวบ้าน จะแขวนกับขื่อคาของบ้าน แต่สำหรับ  ในวงพระราชพิธี     จะทำขาหยั่งเป็นไม้กลมยาว ๓ อัน     ตอนบนร้อยผูกเชือก สำหรับแขวนตัวฆ้อง    เวลาตีจะใช้ไม้ซึ่งพันผ้า หัวใหญ่ขนาดพอกับปุ่ม  ตีมีเสียงดังกังวาน
           
 
ฆ้องหุ่ย  เป็นฆ้องที่ทำด้วยโลหะ เช่นเดียวกับฆ้องชัย แต่มิได้นำไปใช้ตีในงานมงคล    จึงเรียกตามเสียงของฆ้องชนิดนี้ว่า " ฆ้องหุ่ย "    ฆ้องชนิดนี้ปรากฏว่านำไปตีในผสมกับวง " ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ " ที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้นในรัชกาลที่ 5   โดยให้มีฆ้องหุ่ย 7 ใบ  เทียบ 7 เสียง      เรียงลำดับได้ขนาดลดหลั่น แขวนตีบนขาโหม่ง  ซึ่งทำด้วยไม้มีขนาดเรียงลำดับตามลูกฆ้อง      และเชื่อมต่อติดเป็นวงกลม   ฆ้องชนิดนี้จะตีเป็นทำนองเพลง  โดยตีลงตรงเสียงสำคัญที่ลงตามจังหวะใหญ่  รายละเอียดดังนี้

ลูกฆ้อง   ทำด้วยโลหะทองเหลือง หลอม  ตีเป็นทรงกลม เช่นเดียวกับฆ้องชัย   ตรงกลางตีนูนเป็นปุ่มใหญ่  กลางผายออกเป็นบริเวณกว้าง      ขอบงุ้มเรียกว่า " ฉัตร "   ที่ฉัตรเจาะรูตอนบน 2 รู  สำหรับร้อยเชือกแขวนบนแผง    เพื่อให้สวยงามนิยมเขียนลวดปิดทองที่ด้านหน้า  และ ด้านหลัง
แผงฆ้อง   ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  ลักษณะเป็นแผง   กลางโปร่ง   ด้านล่างเป็นขาตั้งกับพื้น    มีขนาดลดหลั่นตามลูกฆ้อง   มีตะขอยึดสวมติดต่อกันเป็นวงกลมทั้ง 7 แผง แต่ละแผงมีขนาดลดหลั่น 
ไม้ตี  ที่หัวพันผ้า ถักด้วยด้ายสีสวยงาม ใหญ่พอ  เหมาะกับปุ่ม  มี 2 อันๆหนึ่งใหญ่ ตีลูกขนาดใหญ่  อันหนึ่งเล็กตีลูกขนาดเล็ก
            วิธีตีฆ้องหุ่ย 
            ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบ  โดยนั่งอยู่ในแผง  ซึ่งตั้งเป็นวงกลม  มือขวาจับไม้ฆ้องอันเล็ก   ตีทางกลุ่มเสียงเล็ก และมือซ้ายจับไม้อันใหญ่   ตีทางกลุ่มเสียงต่ำ     ซึ่งมีขนาดใหญ่    โดยตีห่างๆเป็นทำนองเพลง  คือตีตกเสียงที่ลงตามจังหวะใหญ่ของทำนองเพลง  เพื่อช่วยให้วงมีเสียงกระหึ่มขึ้น  
        
 
ฉิ่ง     เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะ   ทำด้วยโลหะ หล่อหนา เว้ากลาง ปากผายกลม รูปคล้ายถ้วยชามไม่มีก้น สำรับหนึ่งมี ๒ ฝา  เรียกตามลักษณะ  นามว่า " คู่ "    ตรงกลางที่เว้าเจาะรูสำหรับร้อยเชือก    เพื่อสะดวกในการถือตี เวลาตีใช้มือขวาจับฉิ่งข้างหนึ่งให้คว่ำลง  ยกขึ้นตีให้กระทบกับมืออีกข้างหนึ่ง  ซึ่งจับ ฉิ่งหงายขึ้นรับ   มีเสียงดัง 2  เสียง คือ เสียงฉิ่ง และเสียงฉับ  ใช้ตีเป็นเครื่องกำกับหนัก-เบาที่สำคัญ     ในวงปี่พาทย์ทุกวง และยังเป็นเครื่องตีบอกอัตราของเพลงขณะบรรเลง      ที่สำคัญที่สุด เป็นเครื่องควบคุมความช้า-เร็วของพวงทำทำนองเพลงทุกคน ดังมีคำกล่าวว่า " ฆ้องเป็นหลักของเนื้อทำนองเพลง  ฉิ่งเป็นหลักของเครื่องกำกับจังหวะ "    ซึ่งเปรียบเสมือนคอนดาซเตอร์ของดนตรีฝรั่ง     
            วิธีตีฉิ่ง
            ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบ ลำตัวตรง  ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากับนิ้วชี้จับเชือกผูกฉิ่ง ในลักษณะเหมือนคีบ  แล้วคว่ำมือลง    ในขณะเดียวกันให้นิ้วนาง กลาง  ก้อย  กรีดออกคุมฝาฉิ่ง     ส่วนมือซ้ายจับเช่นเดียวกับมือขวา  แต่หงายฝาฉิ่งขึ้นรับฝาบน  มีวิธีตีที่ทำให้เกิดเสียงอยู่ 2 แบบคือ

            1. เสียงฉิ่ง    ใช้มือขวาจับฉิ่งยกขึ้น แล้วตีลงที่ ฝาล่าง ให้อยู่บริเวณกึ่งกลางฝา         เมื่อตีแล้วเปิดมือ  โดยการกรีดนิ้วนาง  กลาง  ก้อยออก     เพื่อให้เสียงดังกังวานเป็นเสียง " ฉิ่ง "  ควบคุมจังหวะเบา
            2. เสียงฉับ    ใช้มือขวาจับฝาฉิ่งบน  ตีลงที่ฝาฉิ่งล่างให้เต็มฝา ประกบเท่ากันพอดี     เมื่อตีแล้วห้ามเสียงมิให้กังวานโดยกดมือทั้งสองแนบสนิท พร้อมกันนั้นใช้นิ้วนาง  กลาง  ก้อยของมือขวา แนบสนิทไว้กับฝาฉิ่งอีกทีหนึ่ง   จะดังเป็นเสียง
" ฉับ "    ควบคุมจังหวะหนัก ทั้งฉิ่งและฉับจะตีสลับกันไปตามอัตราที่กำหนดของท่วงทำนองเพลง ที่เป็นพื้นฐานคือ 
            --  อัตราสามชั้น                                                                      
            --  อัตราสองชั้น                                                                      
            --  อัตราชั้นเดียว                                                         
            มีบางเพลง ที่ฉิ่งจะต้องตีไปตามเพลงที่มีจังหวะพิเศษ เช่น
            --  จังหวะเพลงโอ้ต่างๆ                                                  
            --  จังหวะเพลงช้าปี่                                                                    
            --  จังหวะเพลงชาตรีต่างๆ                                              
            --  จังหวะเพลงยานี                                                         
            --  จังหวะเพลงเย้ย ฯ เป็นต้น              
         
 
ฉาบ เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เช่น ทองเหลือง    มีรูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่หล่อบางกว่า ปลายผายออก   ตรง กลางทำนูนเป็นปุ่มขนาดวางลงกลางอุ้งมือได้พอดี ขอบนอกแบราบออกไปโดยรอบ        เจาะรูตรงกลางปุ่มเพื่อ  ร้อยเชือกสำหรับจับถือตี   โดยให้ติดกันทั้งสองข้าง บางอันแยกออกจากกัน  โดยเชือกที่จับถือทำเป็นภู่สวยงาม       นิยมใช้ในการเล่น เช่นกลองยาว หรือเซิ้ง เป็นต้น
        ในวงการดนตรีไทยมีฉาบอยู่ 2 ชนิดๆหนึ่งมีขนาดใหญ่เรียกว่า " ฉาบใหญ่ "   ตีกำกับจังหวะหนัก  ส่วนอีกชนิดหนึ่งเล็กเรียกว่า " ฉาบเล็ก "   ตีสอดสลับกับฉิ่งและฉาบใหญ่ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ฉาบขัด "     ทั้ง สองชนิดนี้มีวิธีและการตีที่แตกต่างกันคือ

            ฉาบใหญ่  ใช้มือขวาจับเชือกในลักษณะคีบ แล้วคว่ำมือลง    ตีลงที่ฉาบอีกข้างหนึ่ง     ซึ่งจับด้วยมือซ้าย  หงายรองรับ เวลาตีลงแล้วเปิดมือเล็กน้อย      ให้เสียงกังวาน
เล็กน้อย
             ฉาบเล็ก     ใช้มือขวาจับฉาบข้างหนึ่งในลักษณะคีบ แล้วคว่ำมือลง   ให้นิ้วนาง  กลาง  ก้อย  คอยเปิด ปิด ห้ามเสียง    ส่วนมือซ้ายจับฉาบอีกข้างหนึ่ง    หงายขึ้นรับฉาบ   ฝาบน เวลาตีเสียงจะดังเป็นเสียง " แช่  " อีกอย่างหนึ่งเอาบริเวณตอนปลายฉาบตีกระทบกับ โดยใช้นิ้วแนบชิดติดกับขอบฝา เป็นการห้ามเสียง ซึ่งจะใช้ตีสอดสลับกับเสียงแช่ บางครั้งมีเสียงดังเป็น แช่ และวับ สลับกัน
             ทั้งฉาบใหญ่และฉาบเล็ก มีหน้าที่เป็นเครื่องกำกับจังหวะ   ช่วยให้การบรรเลงมีรสชาดขึ้น ผู้ตีต้องมีความรู้ความสามารถตีเป็นอย่างดี รู้จักการตีประคบมือให้เสียงที่ดังออกมาเป็นเสียงที่ไพเราะ พอดี    ทั้งนี้เพราะเครื่องดนตรีทั้งสองชิ้นนี้       สามารถตีให้ไพเราะ  หรือหนวดหูได้  โดยเฉพาะต้องตีให้เสียงทั้งสองดังกลมกลืนกัน     
             สำหรับการตีฉาบใหญ่และฉาบเล็ก ในวงดนตรีพื้นจะตีโดยไม่ต้องประคบมือ เพราะดนตรีพื้นเมือง  ต้องการจับหวะที่ดังและแน่น  มิฉนั้นจะทำให้ดนตรีนั้นขาดรสชาด   ไม่ครึกครื้นเท่าที่ควร     
           
 
ระนาดเอกเหล็ก      เป็นเครื่องตีประเภททำทำนอง  ลูกเหล็ก ทำด้วยโลหะเป็นแท่ง      วางเรียงอยู่บนรางที่ทำด้วยไม้  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผสมเป็นวงเรียกว่า " วงเครื่องใหญ่ "      โดยให้มีลูกและเสียงเท่ากับระนาดเอก    และมีวิธีตีเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่ไม่เป็นผู้นำวง         ช่วยให้วงมีเสียงดังกระหึ่มขึ้นมีส่วนประกอบดังนี้

รางระนาดเหล็ก   ทำด้วยไม้  เช่นไม้สัก  ไม้ประดู หรือ  ไม้มะริด  มีลักษณะคล้ายตู้พระธรรมปิฎก แต่ยาวกว่า   มีขารองรับตัวรางข้างละ 2 ขา              ด้านบนทำเป็นแผงเพื่อรอง  รับลูกเหล็กเรียกว่า " ชาน "     ภายในโปร่ง   ที่ชานตรงกลางจะมีไม้มาติดเป็นทางยาวทั้งสองข้าง   เพื่อรองรับลูกเหล็ก    ด้านข้างมีไม้ทำเป็น " โขน "    และกลึงเป็นลักษณะเม็ดประกบคู่อยู่กับโขนด้านละ 2  เม็ด                 
โขนเหล็ก      และเม็ดมีการสร้างได้หลายแบบ     รอบนอกของรางจะใช้ไม้แผ่นหนาสี่เหลี่ยมประกอบคิ้วนูน  เดินโดยรอบทั้งล่างและบน ด้านล่างจะใช้  ไม้แผ่นปิดใต้รางยาวตลอด เพื่อให้เสียงก้อง  ที่หัวด้านซ้ายและด้านขวาของไม้ปิดใต้ราง  จะกลึงกลมเป็นขา  รองรับตัวรางด้านละ 2 ขา  ( บางรางขาทำเป็นล้อเหล็ก  สำหรับเลื่อนไปมาได้สะดวก )  ตัวรางเมื่อตั้งขึ้นจะเป็นที่รองรับผืนเหล็ก   ซึ่งเรียงขนาดลดหลั่นกัน 21 ลูก ตัวรางจึงต้องสร้างขึ้นอย่างแข็งแรง                                                  
รางเหล็กบางราง ได้ประดิษฐ์ขึ้นอย่างสวยงามโดยประกอบงา ประดับมุข หรือแกะสลักลวดลาย  ลง รักปิดทอง บางรางที่โขน และเม็ดทำด้วยงา                                          
ผืนเหล็ก  ทำด้วยโลหะเป็นแท่ง  ตัดแต่งเป็นลูกๆ  มีขนาดลดหลั่นตามลำดับ   เสียงสูงปรับแต่งเสียงโดยการปาดหัวท้ายใต้ท้องลูกเหล็ก  ส่วนเสียงต่ำปาดตรงกลางให้  เว้าเช่นเดียวกับลูกระนาดเอกไม้    เดิมทำเป็นลูกๆ แล้วนำไปวางเรียงไว้บนราง    เวลาตีลูกเหล็กแต่ละลูกจะกระทบกันบ่อย  ปัจจุบันจึงมีผู้สร้างผืนขึ้นใหม่  โดยทำเป็นแผงๆละประมาณ 3 แผง  เจาะรูที่ลูกเหล็กเพื่อยึดให้ลูกเหล็กอยู่ในตำแหน่ง   เวลาตีจะไม่กระทบกัน   และยังง่ายต่อการเรียงและการเก็บ                                                
ไม้ตีเหล็ก  ก้านทำด้วยไม้ไผ่ 2 อัน  เหลากลมยาว   เช่นเดียวกับไม้ระนาดเอก   แต่ที่หัวทำด้วยหนังช้างเป็นแผ่น ตัดกลม เช่นเดียวกับไม้ฆ้องใหญ่ แต่เล็กกว่า ปัจจุบันหนังช้างหายาก จึงใช้ไม้นวมของระนาดเอกมาตีแทน                            
วิธีตีระนาดเอกเหล็ก
            ผู้ตีนั่งในท่าขัดสมาธิ ลำตัวตรง   กึ่งกลางรางเหล็ก จับไม้ด้วยมือทั้งสองแบบปากกา   มีวิธีตีที่คล้ายคลึงกับระนาดเอก คือ
            --  ตีเป็นคู่แปด                                                                
            --  ตีเป็นเก็บ                                    &n

คำสำคัญ (Tags): #โลหะ
หมายเลขบันทึก: 168046เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ
  • ที่โรงเรียนมีการใช้เครื่องดนตรีเหล่านี้หรือเปล่าคะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

สวัสดีครับ

P ... RAK-NA ...

  • ที่โรงเรียน เครื่องดนตรีประเภทตี ที่ทำจากโลหะ
  • มีแค่ ฉิ่ง กับฉาบ ครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายกันครับ

 

+10 com ไม่ใช่คอมพิวเตอร์

ทำไมคนให้ความเห็นน้อยจังค่ะ หรือไม่ค่อยมีคนดูอันนี้ค่ะ

  • ขอให้มีคนมาดูเยอะๆนะค่ะ

 

 

น่าจะมีเสียงดนตรีประกอบจะได้เข้าใจว่าดนตรีแต่ละประเภทมีเสียงอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท