ปัจจัยในการจัดทำระบบบัญชีภาครัฐให้ทันสมัย


ปัจจัยในการจัดทำระบบบัญชีภาครัฐให้ทันสมัย
การจัดการด้านการเงินการคลังเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)


        การบริหารนโยบายเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต และ มีเสถียรภาพได้นั้น นอกจากความรู้ความสามารถของผู้บริหารแล้ว สิ่งจำเป็นที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือ ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ ที่จะต้องมีอย่างครบถ้วนถูกต้อง ทันสมัยและรวดเร็วทันต่อการตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบายและมาตรการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

วัตถุประสงค์
เพื่อยกระดับการทำงาน ด้านการบริหารงานการคลังของภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สร้างและดำเนินการจัดทำ ระบบหลัก ด้านการเงินการคลังภาครัฐ (Core Function) ที่รองรับการบริหารงบประมาณ การบริหารการคลัง และ บัญชีหลัก ที่ครอบคลุมการเงินการคลังเป็นระบบเดียว เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ ครบวงจร สามารถรวบรวมข้อมูลด้านการเงินการคลัง  พันธกิจ และ การบริหารงบประมาณรายรับรายจ่าย เงินนอกงบประมาณ การกู้ยืมและการบริหารฐานะเงินคงคลัง ที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา (Online Real-time) ระบบนี้เป็นการปฏิรูปการบริหารงานในแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ e-Government ในส่วนของ e-Fiscal & Finance


เป้าหมายที่สำคัญของโครงการ
ปรับระบบบริหาร จัดทำ งบประมาณ เงินเหลื่อมปี เงินนอกงบประมาณ กองทุนหมุนเวียน ฯลฯ การเบิกจ่าย การบัญชี การคลังภาครัฐ การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และการตรวจสอบจากระบบปัจจุบัน ไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มใช้งานจริงในวันที่ 1ตุลาคม 2547 ทุกส่วนราชการ และ องค์กรอิสระ

ขอบเขตของโครงการ
ปรับปรุงระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐ (GFMIS)ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายปฏิรูประบบราชการที่เน้นประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน ทำให้การใช้ ทรัพยากรภายในองค์กรเป็นไปอย่างคุ้มค่า พร้อมกับการได้ข้อมูลสถานภาพการคลังของรัฐ ที่ถูกต้อง รวดเร็ว และ ทันการณ์ เพื่อการบริหารนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ การดำเนินโครงการ GFMIS  ได้แบ่งเป็น Phase 1 ได้เสร็จสิ้นตามกำหนด 90 วัน ( วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 – วันที่ 3 พฤษภาคม 2546) และ โครงการระยะที่ 2

เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จุลสารสรรพากร e-Revenue GFMIS เส้นทางการบริหารงานการเงินภาครัฐ สู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์
 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐให้มีความทันสมัยมีประสิทธิภาพด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ปรับกระบวนการดำเนินงานการจัดการภาครัฐ ด้านการงบประมาณ การบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายงบประมาณ และ การบริหารทรัพยากรบุคคล ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ใช้ทรัพยากรภายในองค์กรเป็นไปอย่างคุ้มค่า พร้อมกับการได้ข้อมูลสถานภาพการคลังของรัฐที่ถูกต้อง รวดเร็ว และ ทันการณ์กับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
เอกสารอ้างอิง
http://www.cgd.go.th/GFMIS/gfmis.html
http://www.mof.go.th/eco/index_cgd_hitech.htm
การเงินธนาคาร ฉบับที่ 251/มีนาคม 2546  รายงานพิเศษ: คลังไฮเทค Friday, March 21, 2003  11:42
จุลสารสรรพากร e-Revenue GFMIS เส้นทางการบริหารงานการเงินภาครัฐ สู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16779เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2006 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท