สาระสำคัญของระบบการพัฒนา ครู และบุคลากรทางการศึกษา


สาระสำคัญของระบบ

สาระสำคัญของระบบการพัฒนา ครู และบุคลากรทางการศึกษา

ส่วนปัจจัยนำเข้า (IN PUT) ได้แก่ สิ่งที่เป็นวัตถุดิบที่ต้องการนำเข้าสู่ระบบ เพื่อก่อ    ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการพัฒนา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ปัจจัยนำเข้าได้แก่
                      3.1.1  กลุ่ม ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่จะต้องเข้ารับการพัฒนา จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ ที่เผยแพร่ทางเว็บไซด์ กระทรวงศึกษาธิการ ล่าสุดเมื่อปีการศึกษา 2545 กระทรวงศึกษาธิการ มีครู และบุคลากรทางการศึกษา ประมาณ 600,586 คน
                      3.1.2  เงื่อนไขการพัฒนาของคุรุสภา คุรุสภาในฐานะองค์กรควบคุมมาตรฐานวิชาชีพ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้กำหนดร่างหลักเกณฑ์การขอต่อใบประกอบวิชาชีพ ครู  และบุคลากรทางการศึกษา เป็นหลักเกณฑ์ประการหนึ่งว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ประสงค์จะขออนุญาตต่อใบประกอบวิชาชีพ จะต้องผ่านการพัฒนาตามที่คุรุสภาเห็นชอบภายใน 5 ปี
                      3.1.3  เงื่อนไขการพัฒนาของคณะกรรมการข้าราชการ ครู และบุคลากรทาง การศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาของบุคลากรที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งใน สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาอื่น จะต้องผ่านการพัฒนาหลักสูตรที่     ก.ค.ศ.กำหนดก่อน
 ส่วนปัจจัยนำออก  (OUT PUT)  ได้แก่ ผลผลิตของวัตถุดิบที่เกิดขึ้นเมื่อผ่านกระบวนการพัฒนาของระบบแล้ว ซึ่งในที่นี้หมายถึง ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการพัฒนาแล้ว โดยคาดหวังว่าในระยะเวลา 5 ปี ครู และบุคลากรทางการศึกษา ทุกคน ประมาณ 600,000 คน จะต้องผ่านกระบวนการพัฒนาตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภา และสถาบันพัฒนา ครู และบุคลากรทางการศึกษากำหนด
 ส่วนของผลลัพธ์  (OUT COME)  ที่พึงประสงค์ ได้แก่ ผลผลิตที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่านการพัฒนาแล้วและสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่บุคคลอื่นได้ ซึ่งคาดหวังว่าภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2548-2552) ของการพัฒนาจะมีบุคลากรดังกล่าว ประมาณ 60,000 คน หรือ  คิดเป็นร้อยละ 10 ของบุคลากรทั้งหมดที่เข้ารับการพัฒนา หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 12,000 คน

ส่วนกระบวนการ (PROCESS) ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นไปอย่างครอบคลุมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในระบบการพัฒนา ครู และบุคลากรทางการศึกษา


   รูปแบบระบบการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวมานี้ใช้แนวทางการวิเคราะห์เชิงระบบ (System  Approach) เป็นกรอบในการดำเนินงาน อยู่ในระหว่างการพัฒนาให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่ประมาณ 600,000 คน ได้รับการพัฒนาอย่าง
ทั่วถึงและต่อเนื่อง และพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกท่านที่เกี่ยวข้องและเห็นความสำคัญของการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาอันมีผลต่อเนื่องไปสู่คุณภาพและประสิทธิภาพด้านการศึกษาของเด็กและเยาวชนของประเทศต่อไป.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1675เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2005 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วยหานโยบายการผลิตครูให้หน่อยได้ไหมค่ะ

จะเอาไปทำรายงาน

และความสำคัญของคุณภาพครู

ช่วยส่งมาทางmailให้หน่อยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท