รัตนาพร วงศ์ศรีเผือก
รัตนาพร รัตนาพร วงศ์ศรีเผือก วงศ์ศรีเผือก

วิชาการพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน(032412) โดยรัตนาพร


สรุปมงคลชีวิต 38 ประการและมงคลที่ชอบ

  

เนื้อหาของมงคลชีวิต                                                                                                                                                                                                                        มงคล คืออะไร?    คำว่า มงคลชีวิต จึงรวมความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ 38 ประการด้วยกัน                                                                                                                                                          มงคล : เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า  มีความเจริญก้าวหน้าแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1.) ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนเมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์สมบัติมาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดีเป็นต้น 2.) ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า หมายถึง เป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดี เมื่อละจากโลกนี้ ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์  3.) การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุดการปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้ง 3 ระดับนี้ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือ เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง ทำให้เกิดสติและปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่วความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด มงคลชีวิต 38 ประการ มีดังนี้                                                                                                                                    มงคลที่ 1 การไม่คบคนพาล  ลักษณะของคนพาลมี 3 ประการคือ 1.คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาทและมิจฉาทิฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ 2.พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ       3.ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม                                                                                                                                                  มงคลที่ 2 การคบบัณฑิต                                                                                                                                                                  บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ 1. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น 2. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย 3. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา                                                                        มงคลที่ 3 การบูชาบุคคลที่ควรบูชา         การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ  1.) อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป็นต้น 2.)ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น บุคคลที่ควรบูชา    มงคลที่ 4 การอยู่ในถิ่นอันสมควร   คือ  ถิ่นอันสมควร ควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม 4 อย่าง ได้แก่   1.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น 2. อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น 3.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น 4.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          มงคลที่ 5 เคยทำบุญมาก่อน การทำบุญนั้นมีหลายวิธี ดังนี้ คือ การทำทาน การรักษาศีล  การเจริญภาวนา  มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ หมายถึง การดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน  มงคลที่ 7  ความเป็นพหูสูต คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้  มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ  คือ สิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ มีความประณีต ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน                          มงคลที่ 9  มีวินัยที่ดี คือ อยู่ในกฎระเบียบ ข้อบังคับ มงคลที่ 10  กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต  คำว่า วาจาอันเป็นสุภาษิต ในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง            ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ต้องเป็นคำจริง คำสุภาพ พูดแล้วมีประโยชน์ พูดด้วยจิตที่มีเมตตา พูดได้ถูกกาลเทศะ   มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา  คือ การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่าน การเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า   มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร  พ่อ เป็นแม่ของบุตรนั้น มีหน้าที่ที่ต้องให้กับลูกของเรา ได้แก่ ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ปลูกฝัง สนับสนุนให้ทำความดี ให้การศึกษาหาความรู้ ให้ได้คู่ครองที่ดี (ใช้ประสบการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก ช่วยดูให้) มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร (การทำพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง) มงคลที่ 13 การสงเคราะห์ภรรยา (สามี) คือ ยกย่องนับถือ ไม่ดูหมิ่น ไม่ประพฤตินอกใจภรรยา ไม่ประพฤตินอกใจภรรยา มอบความเป็นใหญ่ให้ในบ้าน ให้เครื่องแต่งตัว                            มงคลที่ 14  การทำงานไม่ให้คั่งค้าง    มงคลที่ 15  การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์   มงคลที่ 16  การประพฤติธรรม คือการปฏิบัติดีทั้งกาย วาจา และใจ   มงคลที่ 17  การสงเคราะห์ญาติ                                                                                                                                                                   มงคลที่ 18 ทำงานที่ไม่มีโทษ คือ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดศีลไม่ผิดธรรม        มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป คือ ไม่กระทำความชั่วทั้งปวง                                             มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเมา คือ สิ่งมึนเมาทุกชนิด                                                มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ประมาทในเวลา ในวัย ในความไม่มีโรค ในการงาน ในการศึกษา ในการปฏิบัติธรรม                                                                                                                                                                                                                                มงคลที่ 22  มีความเคารพ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               มงคลที่ 23  มีความถ่อมตนคือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่นหรือเพื่อโอ้อวด มงคลที่ 24  มีความสันโดษ คือ ความยินดีตามกำลัง  ความยินดีตามมีตามเกิด ความยินดีตามควร มงคลที่ 25 มีความกตัญญูหมายถึ งการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะ ด้วยความเคารพยิ่งหรือผู้ที่ควรกตัญญู มงคลที่ 26  การฟังธรรมตามกาลเมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่างๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้างเพื่อสดับตรับฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเราเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น        มงคลที่ 27 มีความอดทน คือ ความอดทนต่อความลำบาก ต่อทุกขเวทนา ต่อความเจ็บใจ ต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนมงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย คือ ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน เคารพต่อคำสอนและผู้สอน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ดื้อรั้น ยินดีให้ตักเตือน              มงคลที่ 29  การได้เห็นสมณะ คำว่า สมณะ แปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ)มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่น มงคลที่ 31  การบำเพ็ญตบะ หมายความถึงการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่างๆ หมดไป หรือเบาบางลง   มงคลที่ 32  การประพฤติพรหมจรรย์ คำว่า พรหมจรรย์ หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอัน เช่น ให้ทาน ช่วยเหลือผู้อื่น รักษาศีล มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา งดเว้นจากการเสพกาม (เมถุนวิรัติ) ยินดีในคู่ของตน คือการมีสามีหรือภรรยาคนเดียว (สทารสันโดษ)  เพียรพยายามที่จะละความชั่ว ไม่ท้อถอยในความบากบั่น (วิริยะ) ศึกษาปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริงมงคลที่ 33  การเห็นอริยสัจ  หมายถึงการเห็นความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ 4 ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้ 1. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ 2. สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์                      3.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น 4. มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์
มงคลที่ 34   การทำให้แจ้งในพระนิพพาน                                                                                                                                มงคลที่ 35  มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม  มีจิตไม่โศกเศร้า   

มงคลที่ 36

มงคลที่ 37  มีจิตปราศจากกิเลส                                                                     

มงคลที่  38  มีจิตเกษม   เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส

 สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาชนบทแบบผสมผสานได้อย่างไร

    คำว่า มงคลชีวิต จึงรวมความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ 38 ประการด้วยกัน            มงคล : เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า มีความเจริญก้าวหน้าแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1.) ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนเมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์สมบัติมาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดีเป็นต้น  2.) ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า หมายถึง เป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดี เมื่อละจากโลกนี้ ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์                 3.) การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุดการปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้ง 3 ระดับนี้ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือ เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง ทำให้เกิดสติและปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่วความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด           ในการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หรือ มงคลชีวิต มาปรับใช้ในการในการพัฒนาชนบทได้ คือ การที่ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนมีมงคลชีวิต หรือหลักธรรมที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต การประพฤติ และปฏิบัติตนที่ดี อยู่ในศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในหน่วยงานของราชการหรือผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงถ้าทุกคนในหน่วยงานมีหลักธรรมหรือมงคลชีวิตประจำใจ มีความซื่อสัตย์  ตั้งอยู่ในศีลธรรม ก็จะทำให้การพัฒนาชุมชนชนบทเกิดการพัฒนาและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชนเพราะไม่มีพวกที่ขาดศีลธรรมหรือ คนไม่ดีอยู่ในชุมชนซึ่งเป็นพวกที่ยากต่อการพัฒนาดังนั้น การที่ทุกคนในชุมชนมุศีลธรรมและหรือมีมงคลชีวิตประจำใจนั้นการที่จะทำการใดๆ ก็แล้วแต่จะประสบผลสำเร็จ เพราะมีความเป็นมงคลอยู่ในชีวิต ซึ่งเป็นเหตุของการเจริญก้าวหน้าทั้งปวง ดังนั้นผู้ที่รู้จักและเข้าใจในหลักของมงคลชีวิต และถือ นำเอามาปฏิบัติจึงเป็นผลดีต่อคนที่ได้ยึดถือปฏิบัติ เพราะมงคลชีวิต เป็นธรรมที่ผู้ได้ปฏิบัตินั้น ประพฤติปฏิบัติแล้ว จะเป็นมงคลต่อตนเอง ทำให้ประสบความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ เพราะผู้ที่ได้ปฏิบัตินั้น ได้กระทำความดี จึงทำให้ชีวิตมีความสุข ทั้งชาตินี้และชาติหน้า

นิสิตคิดว่าชอบมงคลข้อไหนมากที่สุด เพราะเหตุใด

               มงคลชีวิต 38 ประการ มงคลที่ชอบมากที่สุด คือ  มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา เพราะพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก คือ ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้านที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร 4 นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้านไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้ ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม 4 ประการอันได้แก่                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          - เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่                                                                                                                                     - เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา                                                                                                                                                                                      - เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง -เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่างการทดแทนพระคุณบิดามารดาสามารถทำได้ดังนี้ ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่านส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้ 1.) ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี 2.)ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล 5 ให้ได้ 3.) ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน 4. ) ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ พยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้

                อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นลูก ไม่ว่าชายหรือหญิง ควรมีความกตัญญูต่อบิดามารดาเพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดเรา เลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่ ให้ความรักความอบอุ่นและให้ความรู้แก่เรา พระคุณของบิดา มารดา หาสิ่งอื่นใดมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้นเราจึงควารกระทำความดีเพื่อให้พ่อแม่มีความสุข เลี้ยงดูท่านตอบแทนพระคุณของท่านเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก่อนที่จะไม่ได้ตอบแทนพระคุณของท่านตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มงคลข้อนี้จึงเป็นมงคลที่ชอบมากที่สุดเพราะเป็นมงคลที่ให้ข้อคิดและให้สติข้อเตือนใจแก่บุตรทุกๆคนที่ควรพึงปฏิบัติต่อบิดามารดาของตนรวมถึงผู้ที่มีพระคุณด้วย           

หมายเลขบันทึก: 167391เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท