ครูพระกับการสอนศีลธรรมในโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาฯ


ครูพระกับการสอนศีลธรรม

เวทีเรื่องเล่า "ครูพระกับการสอนศีลธรรมในโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาฯ.."
เรื่องสืบเนื่องมาจาก การร่วมมือกันระหว่าง ท่านผู้อำนวยการ โรงเรียน พิชัย ต.วัฒนผล กับ เจ้าอาวาสวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ มีแนวคิดนำธรรมะ พุทธมามะกะ และการศึกษาธรรม ที่เป็นแนวทางการเผยแพร่ธรรมะของสงฆ์ รวมทั้งโรงเรียนมีกลุ่มสาระสังคมศึกษา จึงเริ่มร่วมกันจัดการศึกษาธรรมะขึ้นในโรงเรียน โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549  โรงเรียนได้จัดสรรเวลาเรียน 1 คาบ ต่อ สัปดาห์ ที่แบ่งออกมาจากกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ให้พระอาจารย์เข้ามาสอนธรรมะศึกษา ซึ่งพระอาจารย์มหาสำราญ ได้แบ่งเนื้อหลักสูตรนักธรรมตรี สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปรากฎผลทำให้นักเรียน ชั้นป.๖ ของโรงเรียนที่เข้าสอบนักธรรมตรีครั้งแรกของโรงเรียน ประสบผลสำเร็จถึง 90% จึงเริ่มขยายสู่การสอนเข้าสู่ปีที่ 2 (ปีการศึกษา 2550) โดยให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ใช้หลักสูตรนักธรรมตรี   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้หลักสูตรนักธรรมโท ซึ่งในการสอนจะให้ครูผู้สอนวิชาต่างๆเชื่อมโยงกันการสอนธรรมของครูด้วย
เวทีครั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการฯ ได้ลงมาปฏิบัติงานคุณอำนวยเอง โดยเริ่มด้วยการแนะนำทีม KM และตำแหน่งในทีมงานให้พระอาจารย์ได้รับทราบ และกล่าวว่า
ปีแรกที่ร่วมกัน สอนศีลธรรมในดรงเรียนโดยครูพระ ใช้เวลาที่เร่งรัด แต่ผลที่เกิดขึ้นเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง ปีนี้ เริ่มที่ชั้น ป.5  ดังนั้นการตั้งวงเสวนาในครั้งนี้ ( ปี 2550) ขอตั้งประเด็นหรือหัวปลาว่า " ครูพระกับการสอนศีลธรรมในโรงเรียนอนุบาลฯ"  การจัดการความรู้ จะนำเรื่องดีงามหรือประสบการณ์ที่ปฏิบัติแล้วเกิดความพอใจเหมือนการรดน้ำต้นไม้ที่เจริญงอกงาม จะไม่นำเรื่องต้นไม้ตายมาเล่า  เป็นการถนอมน้ำใจใส่ความรู้  ดูแลกัน  เมื่อสกัดความรู้แล้วสามารถนำไปถ่ายทอดการปฏิบัติแก่คนรุ่นหลัง
ขั้นของบันไดดาราจะเริ่มจากวิธีการที่นำไปใช้อย่างไร เช่น การเรียนกระทู้ธรรม ไม่ใช่แก่น  แต่เป็นเรื่องยากทำให้ต้องศึกษากันมาก  วันนี้ครูสอนภาษาไทยมารวมเป็นการบูรณาการเรื่องการเขียนเรียงความ ครูสอนสังคมศึกษาเพื่อเรียนรู้และเข้าใจประวัติพุทธศาสนา  อีกทั้งหลักธรรม  ครูเหล่านี้สอนอย่างไร   ส่วนทีม การจัดการความรู้(KM) ของดรงเรียนเป็นที่น่าภูมิใจตลอดเวลาที่ทำมา  ผลงานของเราไม่ใช่ชิ้นงาน แผ่นพับ  ตัวอย่างเช่น ในช่วยที่ทำการประเมิน โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น ระดับประเทศ และเราได้อันดับหนึ่งมา เกิดจากการเสวนา จนได้แก่นแล้วนำมารวบรวมเป็นงาน  หรือเป็นเล่ม แต่ขาด A.A.R.  ซึ่งเป็นการ สรุปงานที่เกิดขึ้นจากวงเสวนาวงใหญ่  ดังนั้นจึงเหมือน A.A.R. วงใหญ่ของการสอนธรรมะในโรงเรียน
ในครั้งนี้ขอให้พูดคุยสรุป ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะสอนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครูสอนภาษาไทยใช้วิธีการอย่างไรในการสอนการเขียนกระทู้ ดังนั้นขอให้ครูเริ่มเรื่องเพื่อเป็นตัวอย่างของเรื่องเล่าในวันนี้
รวมเรื่องเล่า
ครูพรรณี (สอนสังคมศึกษา ป.5)" ใช้การแบ่งกลุ่มเรียนรู้  การระดมสมองทำ Mind Map แล้วให้นักเรียนนำเสนอหน้าห้องเรียน และให้เด็กทุกกลุ่มต่างให้คะแนน เช่น 1.เนื้อหาครบถ้วน หรือไม่ อย่างไร 2.ความชัดเจนของเรื่องที่นำเสนอ "
ครูปวีณา (สอนสังคมศึกษา ป.5) " มีประสบการณ์สอนพระพุทธศาสนามาหลายปี  ใช้การสนทนาและคำถามเพื่อให้รู้ว่านักเรียนต้องการรู้อะไรอาจจะตรงตามเนือ้หาของหลักสูตร หรือเกินไปบ้าง แต่จะพยายามเล่าให้ฟังทุกเรื่อง และบอกเด็กว่า สังคมเป็นวิชาที่อยู่รอบตัว หรือดูจากข่าวว่าสังอะไรสำคัญ  นำมาพูดสรุปสั้นๆ เช่นประวัติศาสตร์  เมื่อเรียนแล้วนักเรียนจะชอบ  โดยเล่าสรุปเรื่องให้ฟัง และให้นักเรียนถามจากที่ครูเล่า นักเรียนจะให้ความสนใจและถามว่า ทำไมพระมหากษัตริย์ องค์นั้นจึงทำอย่างนั้น ไม่ทำอย่างนี้  จากนั้นให้เขียนสรุปประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ที่ฟัง  หรือนำข่าวในประจำวันที่เกิดขึ้นมาเล่าเชื่อมดยงกันกับเรื่องที่เรียน"
ครูนลินี (สอนสังคมศึกษา ป.6)" ใช้ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติจริง เตรียมความพร้อมด้วยสมาธิ  รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่  ส่วนเรื่องประวัติกรุงธนบุรี ให้ดูจาก ภาพยนตร์"
ครูดาวรัตน์ (สอนสังคมศึกษา ป.6) "10 ปี ที่ผ่านมา เรื่องที่ยากคือ พระพุทธ สิ่งแรกให้เขียนว่าชอบเรียนเรื่องอะไร ชอบวิะสอนแบบใด และนำเรื่องจากหลักสูตรมาสอนให้ตรงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน  หลักธรรมให้นำนิทานอิสป  เขียนว่า นิทานเรื่องนี้เข้ากับหลักธรรมข้อใดแล้วนำมาเล่าหน้าชั้นเรียน  เรื่องศาสนพิธีให้ศึกษาจากการเข้าปฏิบัติกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระจากที่เข้าวัด โดยเขียนเป็นขั้นตอนที่ได้เห็น"
ครูอนงค์ (สอนภาษาไทย ป.6) "เมื่อวันที่ได้รับทราบว่า จะให้สอนการเขียนกระทู้ธรรม ได้ขอเอกสารเกี่ยวกับกระทู่ธรรมจากพระอาจารย์ไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเตรียมตัวเอง ขั้นแรกเปรียบเทียบกับการเขียนเรียงความซึ่งมี 3 ขั้นตอน โดยให้นักเรียนเปรียเทียบกัน จากนั้นให้นักเรียนฝึกด้วยการพูดก่อน เมื่อพูดได้แล้วก็ฝึกเขียนตามที่พูด ปรากฏว่านักเรียนใช้วิธีลอกจากตัวอย่าง จึงแก้ไขด้วยการเขียนแค่ 4 ขั้นตอน เมื่อนักเรียนเขียนได้แล้วจึงเริ่มเขียนขั้นตอนที่ 5-8 สุดท้ายค่อยให้ฝึกเขียนตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1-8 ในครั้งเดียว โดยใรูปแบบการเขียนกระทู้ธรรม 8 ขั้นตอนที่ครูเป็นผู้ศึกษาและสรุปด้วยตนเองเป็นกระบวนการเขียน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เขียนกระทู้ตั้ง  โดยนำมาจากโจทย์/หัวข้อที่กำหนดให้เขียน
ขั้นตอนที่ 2 เขียนอารัมภบท  ซึ่งเป็นข้อความบังคับตามรูปแบบของการเขียนกระทู้ธรรมที่มีลักษณะเฉพาะ
ขั้นตอนที่ 3 เขียนอธิบายความหมายของกระทู้โดยยกตัวอย่างประกอบ
ขั้นตอนที่ 4 เขียนกระทู้เชื่อม โดยยกมาจากพุทธสุภาษิตที่นักเรียนจำ หรือ นึกได้ และสามารถนำมาเชื่อมกับกระทู้ตั้ง(โจทย์ที่ได้รับหรือหัวข้อที่กำหนด
ขั้นตอนที่ 5 อธิบายความกระทู้เชื่อม และต้องเขียนให้เชื่อมโยงกับกระทู้ตั้ง
ขั้นตอนที่ 6 สรุปความจากกระทู้ตั้งและกระทู้เชื่อม
ขั้นตอนที่ 7 นำกระทู้ตั้งยกมาเป็นกระทู้ปิด
ขั้นตอนที่ 8 จบด้วย ย่อหน้าสุดท้ายด้วยคำว่า ดังพรรณามาด้วยประการแะนี้
และอยากให้สอนพุทธภาษิตก่อนเพราะต้องนำมาเชื่อมดยงกับกระทู้ธรรม"
ครูจงจิตต์ (ผู้ประสานงานกับพระในการมาสอนทุกครั้ง)"จะประสานงานด้านเอกสารและแก้ปัญหา ช่วงจัดชั่วโมงให้ตรงกันทั้ง 9 ห้องเรียน เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย"
ครูจินตนา (สอนภาษาไทย ป.5 ) "ไม่มีความรู้เรื่องการเขียนกระทู้ ศึกษาจากหนังสือและปรึกษาครูด้วยกัน ใช้วิธีให้เล่าประสบการณ์ หรือเขียนจากเรื่องของตนเอง แล้วท่องและพยายามหาตัวเชื่อมกระทู้ธรรม แต่ยังไม่ค่อยดีเท่าไร"
พระอาจารย์ ดร.มหาสำราญ วัดปิตุลาฯ  "เป็นเวทีที่ดีและเป็นครั้งแรกที่ได้รับทราบว่า มีวิธีการเช่นนี้  งานที่รับมอบหมายในปีนี้คือ เพิ่มจำนวนผู้เข้าสอบ ในเนื้อเรื่อง พระจะศึกษาเกี่ยวกับ นักธรรม ฆาราวาสจะศึกษาเกี่ยวกับธรรมศึกษา  ส่วนการจัดการความรู้หรือ KM ไม่เคยรู้จักมาก่อน แลครั้งเป็นครั้งแรก  ส่วนใหญ่พระอาจารย์จะเป็นผู้ประสานงาน เช่น ประสานงานพับพระ จัดทำเอกสารความรู้ต่างๆที่ใช้สอน  และการจัดทำข้อสอบดดยการคัดแยกจากข้อสอบเก่าๆ การจัดเตรียมหลักสูตรซึ่งต้องปรับใหม่ให้เหมาะกับเนื้อหา  โดยคุยกันก่อนสอนว่า วันนี้สอนอะไร ถึงไหน และปัญหาที่เกิดขึ้น  ใช้วิธีการให้เด็กทำในปัญหาธรรม  อย่างไรก็ตามการทำจำยังจำเป็นอยุ่บ้างกับการสอนบาลีแล้วขยายความให้ทราบ  แต่ยังมีเงื่อนไขเวลากับเนื้อหาทีมากจำเป็นต้องเร่งรัดมาก  กานำไปใช้ในชีวิตประจำวันยังได้น้อยเพราะยังมุ่งเน้นไปที่การสอบ  สิ่งที่ได้รับจากการเข้ามาสอนคือ พระทำงานเป็นระบบมากขึ้น ต้องประสบงานตลอดเวลา  โรงเรียนให้ความร่วมมืออยู่มาก  งานที่ทำจึงมีผลงานอยางมาก ปลื้มใจกับครูอนงค์ที่ให้ความสำคัญกับครุพระที่สอน ตัวชี้วักการสอนเกินเป้าหมายจาก 75% ที่ตั้งไว้ (25% ตกเพราะกระทู้ธรรม) แต่ผลที่ได้90.2% ผลชี้วัด -ด้านความประพฤติและการนำไปใช้ยังน้อย ยังต้องเน้นย้ำกันต่อไป   - การเข้าถึงพระรัตนตรัย เน้นให้สวดมนต์เป็นประจำ จะถือว่าใช้ได้ -หลักธรรม  มีเป็นจำนวนมากทำให้จำไม่ค่อยได้ แตะพระใช้อยู่ประจำจึงมีความชำนาญ -ปัญหา  พระเมื่อคุ้นกับเด็กจากการที่มีเมตตาสูงทำให้ควบคุมเด็กไม่อยู่ -การเตรียมตัวสอนของครูพระจะมีผลดียิ่งขึ้นและหากครูนำไปเพิ่มเติม จะช่วยได้มาก  -ทุนสนับสนุน ยังพอจะได้รับจากแม่กองอยุ่บ้าง  การปฏิบัติยอมต้องช่วยในการประสานงานติดต่อ  พระที่มาสอนนิยมเสียสละเพื่อสังคม  - ในปีหน้า จากประสบการณืที่มีแล้วน่าจะป็นแนวทางให้ปฏิบัติงานร่วมกันได้ดีขึ้น การจัดชั้นเรียน ป.6 เรียนนักธรรมตรี 2 ห้องเรียน นักธรรมโท 7ห้องเรียน ชั้น ป.5 เรียนนักธรรมตรีทุกห้องเรียน"
พระอาจารย์เอ็ดดี้ วัดปิตุลาฯ"ดีใจ  ที่ได้ร่วมมือกันจะได้แก้ปัญหาซึ่งต้องอาสัยกันและการ   การมาสอนในปี 2550 นี้ เป็นปีแรก อย่างน้อยให้เด็กได้รู้จากพระที่มาสอนบุญ บาป   ใช้วิธีการแนะนำตัว  และตั้งเรื่องที่จะสอน เช่น ประวัติของพระพุทธเจ้า มีที่มาอย่างไรแล้วให้นักเรียนตั้งคำถามตามความเข้าใจของตนเอง แล้วค่อยอธิบายเพิ่มเติมความรู้ทีละน้อย"
พระอาจารย์วิสุทธิ์ วัดแพรกวังตะเคียน " ได้เข้ามาสอนที่นี้เป็นปีที่ 2 เมื่อปึ พ.ศ. 2549 สอนชั้น ป.6 ซึ่งนักเรียนมีความต้องใจอย่างมากการควบคุมชั้นเรียนนั้นนักเรียนซนน้อย  ปี 2550  ชั้น ป. 5 ได้ครูประจำชั้คอยช่วยด้วยการชำเลืองมอง ช่วยควบคุมเด็กที่ดื้อและซนมาก  ใช้วิธีการให้นั่งสมาธิ  ให้ลุก-นั่งจนรู้สึกว่าถุกลงโทษน 5  ให้สวดมนต์ไหว้พระ บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการมีสามธิในการเรียนรู้  การสอนจะให้หัวใจของแต่ละเรื่อง เช่น ธรรมมีอุปการะ 8 ตัว 4 คู่ โดยใช้ตัวย่อให้ท่องจำ แล้วค่อยขยายความ"
พระปริยัติการาม  วัดเมืองฯ  (สอนบาลีสามเณรที่โรงเรียนปริยัติธรรมวัดปิตุลาฯ) " เด็กคุยกันจะให้นั่งสมาะ  ปรับเปลี่ยนวิธีจนเกิดความนิ่ง บางครั้งมีคำถามทีนอกเหนือบ้าง ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปกับเกตุการณ์นั้น เช่นการกรวดน้ำจะทำตอนไหนให้เด็กตอบ  จะทำให้เด็กนึกได้จากประสบการณ์ที่เคยได้พบเห็นมา บางครั้งใช้คำถามทั้งชั้วโมงจนแทบไม่ได้เนื้อหา ใช้วิธีให้อ่านพร้อมกันแล้วถามไม่เกิน 5 คำถามในแต่ละช่วง"
พระมหาสมจิตร " เคยให้การอบรมเด็กภาคฟดูร้อน เด็กในโรงเรียนกับเด็กที่ค่ายฤดูร้อนต่างกันที่ ความใกล้ชิด  แรงจูงใจ  เป็นการกระตุ้นให้ปฏิบัติ   นักเรียนนที่ไม่เรียนให้จดชื่อส่งครูประจำชั้น"
พระมหาวีระพันธ์ "นักเรียนที่ได้พบผ้าเหลืองจะกลัวจึงสร้างความคุ้นเคยเพื่อให้กล้าโต้ตอบ  แล้วนักเรียนโต้คำถามกันและกัน  โดยใช้การเปรียบเทียบ  ส่วนการควบคุมห้องเรียนจะถามเป็นราบุคคล  ให้เล่าความหมายที่พระอาจารย์อธิบาย  มีพระอาจารย์ช่วยด้วยก็จะตั้งใจเรียนได้ดี"
พระอาจารย์บัณฑิต"ครั้งแรก มึน   ต้องปรับและทำกิจกรรมร่วมกัน  เด็กชอบฟัง จึงให้เด็กไปอ่านมาก่อนแล้วมาตั้งคำถามทบทวน  จากนั้นตั้งคำถามเป็นรายบุคคล  ครั้งแรกไม่ยอมอ่านมาก่อน ต่อมาอ่านกันมากขึ้นตามลำดับ  บางช่วงให้นักเรียนคัดตอบที่ชอบมาแล้วให้รางวัล ทำให้ได้ผลมากขึ้น"
พระมหาอรุณ " สอนเป็นปีแรก  ร่วมกับพระอาจารย์บัณฑิต ครั้งแรกเรียนแบบจากพระอจารย์เก่าที่เคยสอน เริ่มจากการสวดมนต์ไหว้พระ  ให้นักเรียนทำความเคารพที่ถูกต้อง  นังสมาธิ 3 นาที จณะพูดหัวข้อที่จะสอน ต่อมาใช้กิจกรรมต่างๆเร้าความมสนใจ หรือผ่อนคลายเพื่อให้ตั้งใจฟัง  ทำให้เด็กอ่อนน้อมมากขึ้น"
ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวก่อนปิดเรื่องเล่าวา "ในตัวหลักสูตร หากมีตัวบ่งชี้หรือตัวชี้วัดด้วยต่าจะนำเผยแพร่ให้ครู  จะทำให้ความเข้าใจตรงกันมากขึ้นและนำไปใช้กับเด็กได้มากขึ้น"
จบเรื่องจากเวทีเรื่องเล่าเร้าพลัง  ดังพรรณามาด้วยประการฉะนี้ (แน่ะ เริ่มซึมซับหลักธรรมกับเค้าแล้ว)


 

หมายเลขบันทึก: 167253เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท