ทำยังไงดีกับพื้นที่ให้บริการที่ไม่เพียงพอ(ตอน 2)


ควรคงสำนักหอสมุดเดิมไว้ให้บริการนิสิตดีกว่า

จากความเดิม ทำยังไงดีกับพื้นที่ให้บริการที่ไม่เพียงพอ (ตอน 1)

             ผมลองคิดเล่นๆ ว่าถ้าเทียบจำนวนนิสิต 24,483 คนกับพื้นที่ใช้ห้องสมุด 4800 ตารางเมตร เทียบแล้ว เท่ากับ  0.196 ตารางเมตร : คน สำหรับอาคาร ปัจจุบัน 
            และถ้าสัดส่วนอาคาร เพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ตารางเมตร และในปี 2551 ตามคาดหมายแล้วเราน่าจะมีนิสิต ประมาณ 30,000 คน เทียบสัดส่วนแล้ว  เท่ากับ .233 ตารางเมตรต่อ คน

          แต่ถ้าดูข้อมูลที่คุณวันเพ็ญให้ไว้ก็น่าสนใจ คือ

 มหาวิทยาลัย

พื้นที่สำนักหอสมุด 
(ตารางเมตร)

 จำนวนนิสิต
(คน)

สัดส่วนพื้นที่:จำนวนนิสิต 

 มหาวิทยาลัยนเรศวร

 4800

 24,483

 0.19

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโฒ

 11,600

19,105

 0.6

มหาวิทยาลัยบูรพา

 11,500

 18,506

 0.62

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฯ

 12,000

 14,000

 0.86

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 15,000

 18,200

 0.82

มหาวิทยาลัยทักษิณ

 9,660

 7,590

 1.27

 มหาวิทยาลัยนเรศวร(อาคารใหม่)

 7,000

 30,000

 0.23

 มหาวิทยาลัยนเรศวร รวมสองอาคาร

  11,800

 30,000

 0.39

   และถึงแม้ว่าเราจะรวมอาคารพื้นที่ทั้สองอาคาร เข้าด้วยกันเป็น 11,800 ตารางเมตร เมื่อเทียบกับสัดส่วนของนิสิตที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ประมาณ 30,000 คน สัดส่วนต่อพื้นที่ของมอนอก็ต่ำสุด คือประมาณ 0.39 เท่านั้นเอง ในขณะที่มหาวิทยาลัยที่ เติบโตมาพร้อมกับเรา อย่างมหาวิทยาลัยบูรพา หรือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สัดส่วนของเขา ก็จะอยู่ประมาณ 0.8 แต่จริงๆ แล้วใช่ว่า พื้นที่ทั้งหมดของห้องสมุด จะถูกใช้ประโยชน์กับงานของห้องสมุดเพียงเท่านั้น แต่พื้นที่บางส่วน ยังต้องใช้กับร้านค้าของศูนย์หนังสือจุฬา และร้านขายอาหารด้านล่าง ดังนั้นจริงๆ แล้วพื้นที่ของหอสมุดมีพื้นที่จริงๆ เพียง ชั้นละ 1,600 ตารางเมตร จำนวน สองชั้น รวมเป็น 3,600 ตารางเมตร เท่านั้นเอง

              ส่วนพื้นที่การให้บริการสำหรับนั่งอ่านหนังสือที่ห้องสมุด เรามี โต๊ะ เพียง ชั้นละ 70 ตัว เก้าอี้ 350 ตัว รวมสองชั้น เรามีพื้นที่ให้นิสิตเข้ามาใช้บริการ ได้ ประมาณ 700 ที่นั่ง บริการอินเทอร์เน็ต และสืบค้นฐานข้อมูล อีก 100 ที่ ที่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์โซฟา  ได้อีกประมาณ 70 ที่นั่ง ดังนั้นไม่น่าแปลกใจเลยที่เห็นนิสิต ของมอเรานั่งซ้อนกัน (อิอิ อิจฉาๆ) นั่งอยู่ตามตู้ ชั้นอ่านหนังสือ (สงสัยเลียนแบบ TK park)

              ผมลองสอบถามว่าวันหนึ่งเรามีคนเข้าห้องสมุด ประมาณกี่คน จากสถิติที่ผ่านมา 3 วันพบว่า

 วันที่  จำนวน(คน)
  21 ก.พ.  2,531
 22 ก.พ.  3,014
 23 ก.พ.  2,821

   ส่วนที่เหลือเข้ามาแล้วไม่มีที่นั่ง ก็ต้องกลับไปที่หอพัก หรือนั่งที่ด้านล่างของหอสมุด ซึ่งสามารถนั่งได้อีกประมาณ 280 ที่นั่ง

     เอ! ดูแล้วน่าจะต้องคงพื้นที่ให้บริการของสำนักหอสมุดไว้ให้บริการ ซะละมั้ง แต่วิทยาลัยนานาชาติล่ะ จะไปอยู่ที่ไหน ทางที่ดีวิทยาลัยนานาชาติ น่าจะมีอาคารสักหลังที่มันดูแล้วทันสมัย สมกับเป็น international จะเหมาะสมกว่าละมั้งครับ แล้วประชาคมมอนอล่ะครับมีความคิดเห็นว่าไง

หมายเลขบันทึก: 16702เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2006 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
อ.หนึ่ง ยอดเยี่ยมมีเหตุผลที่สุด แต่หากงบประมาณไม่สนับสนุนแนวคิด ก็เป็นเพียงแค่แนวคิดจริงไหมค่ะ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • เรียนเสนอให้หา sponsorship ครับ... จะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ปูนซีเมนต์ไทยฯ หรืออะไรก็ได้ เมืองไทยมีคนรวยๆ หรือบริษัทรวยๆ เยอะครับ
  • ใครเป็น sponsors ใหญ่... ตั้งชื่อหอสมุด(ทั้งหลัง)ตามสปอนเซอร์เลย ใครเป็น sponsors น้อย... ตั้งชื่อห้องสมุด(แต่ละห้อง)ตามสปอนเซอร์เลย
  • ทำหอสมุดทั้งที ทำให้ดังแบบ "TKpark-มน." ไปเลยครับ
  • ถ้าเป็นไปได้... มหาวิทยาลัยควรมองให้ไกลออกไป ทำให้เป็นหอสมุดที่คนทั้งพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงอยากมาใช้บริการ
  • ไม่เพียงแต่บริการ "คนใน" เท่านั้น ควรมองให้บริการ "คนนอก" หรือพันธมิตรในจังหวัดและภูมิภาคให้ได้ เช่น โรงเรียน วิทยาลัยฯ สถาบันการศึกษาฯ ฯลฯ
  • ขอขอบคุณอาจารย์ ท่านผู้เขียน และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
เสนอให้ ทำด้านล่างตรงที่มีขายข้าวกันอ่ะครับ

เปลี่ยนเป็นที่อ่านหนังสือแทนดีมั้ย

ขอเสริมอีกนิดนะครับ

ที่มอ อื่น มีที่อ่านหนังสือที่ไม่ใช่ห้องสมุดเยอะแยะเลยนะครับ

แต่มน  มีแต่ยุง  ยุง  ยุง
ความคิดของหมอวัลลภน่าสนใจมากครับ อาจารย์ให้ไอเดียที่อยากทำให้ห้องสมุดของเราเหมือน TK park ผมว่าเยี่ยมไปเลยครับถ้าเราทำได้อย่างนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะทำยังไงดี

งั้นเสนอ ตลาดหลักทรัพย์ไปเลยครับ

ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดทำ Set Trade Connor ที่ หอสมุด JFK นะครับ

ซึ่ง ในการได้สนับสนุน เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 6 เครื่องด้วยกัน และได้ส่งหนังสือเกี่ยวกับเรื่องมาด้วยจำนวนหนึ่ง

นอกจากนี้ยังได้ ทำการปรับปรุงห้องเยาวชนใหม่ แถมด้วยสร้างห้องน้ำหรับที่อ่านหนังสือด้วยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท