สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

ซีแอล ยา มีผลกระทบกับประเทศไทยอย่างไร?


ซี แอล ยา (Compulsory Licemsing)หมายถึง"การใช้มาตราการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร" การประกาศซีแอลนั้นเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ และที่ผ่านมารัฐไทยทำถูกต้องตามขั้นตอน ทั้งยังจ่ายค่าRoyalty ในยามะเร็ง 4 ตัว ที่ประกาศ ซีแอลถึง 4 % ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สูงเทียบเท่ากับเกณฑ์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว

ปัญหาซีแอล(C L)ยาของประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าเป็นประเทศที่ละเมดลิขสิทธ์และสิทธิบัตร และพร้อมที่ถูกตัดGSPไทย หากไม่แก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้  การใช้มาตราการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ของไทย โดยการที่ไทย พยายามจะเข้าร่วมกับมูลนิธิและองค์กรการกุศลต่างๆเพื่อที่จะแสวงหายาที่ราคาถูกและเป็นยาที่มีคุณภาพ ให้กับผู้ป่วยที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงยา และน่าดีใจที่ประเทศไทยทำ C L (การใช้มาตราการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร)ยาและจัดซื้อยาร่วมกับอีก 16 ประเทศ เพื่อให้มีพลังและอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า ต่อไปนี้ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยมะเร็งจะได้ใช้ยาในราคาที่ถูกลงและมีคุณภาพดี  ที่ผ่านมา กุมภาพันธ์ 2550คณะผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัยญาขององค์การอนามัยโลก(WHO) ที่เข้ามาตรวจสอบการทำ ซี แอล ในไทย ระบุว่าการประกาศซีแอลนั้นเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ และรัฐบาลไทยก็ทำถูกต้องตามขั้นตอน ทั้งยังจ่ายค่า Royalty ในยามะเร็งถึง 4 ตัว ที่ประกาศ C L ถึง 4 % ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สูงเทียบเท่าหลักเกณฑ์ของประเทศพัฒนาแล้วทั้งสิ้น  สหภาพยุโรปไม่ค่อยซีเรียสกับการทำC L ของไทยผิดกับอเมริกา ดังนั้นแมการประกาศซีแอลในยามะเร็ง 3 ตัวจะเป็นของบริษัทยุโรปทั้งหมดก็ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนอเมริกานั้นเข้าใจว่าประเด็นสำคัญคือไทยไปสร้างภาพว่าการใช้ซีแอลเราจะไม่สิ้นสุด จึงสร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐและกังวลว่าอาจจะนำไปสู่การตัดสิทธิพิเศษทางการค้า(GSP)และเงื่อนไขที่สหรัฐจะตัดGSPไทยก็คือการถูกจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่ดี ขณะเดียวกันสหรัฐก็มองว่าไทยไม่ปราบปรามเทปผี ซีดีเถื่อนอย่างจริงจังทำให้สหรัฐสูญเสียเกือบ 400ล้านเหรียญต่อปี และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สถานฑูตสหรัฐยอมรับว่าไทยมีสิทธิใช้ซีแอล และแต่ละประเทศก็สามารถกำหนดได้เองว่าอะไรคือภาวะฉุกเฉินที่จำเป็นต้องประกาศซีแอล นอกจากนี้สหรัฐโกรธที่หลังรัฐประหาร 19 กันยา ไทยลดงบด้านสาธารรสุขลงถึง 12 ล้านเหรียญ แต่ไปเพิ่มงบกลาโหม ทำให้เห็นว่าไทยไม่ใช่ไม่มีเงินเข้าถึงยา เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ขูดรีดประชาชนเพราะตั้งราคาไม่ยุติธรรม หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าที่อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยไม่ก้าวหน้าเพราะไทยติดในข้อตกลงทริปส์ของWTOที่กำหนดให้คุ้มครองสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์ยาด้วย ไทยเองแม้ยังแก้กฎหมายก่อนทริปส์จะมีผลบังคับใช้ถึง 8 ปี แต่ด้วยแรงกดดันของสหรัฐ ทำให้ไทยเสียโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ เพราะสหรัฐอีกที่จัดให้ไทยอยู่ในประเทศที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาก พร้อมขู่จะจัดจีเอสพี ข้อมูลที่เราควรทราบคือยารักาโรคมะเร็งแพงมาก ยารักษาโรคมะเร็งปอด(Docetaxel)เข้มละ 25,000 บาท ขณะที่ยาสามัญคุณภาพเดียวกันราคาเพียง 4,000 บาทเท่านั้น ยาผู้ป่วยผู้ติดเชื้อเอดส์จีพีโอเวียก็เช่นกันยาที่มีสิทธิบัตรกินวันละ 2 เม็ดต่อเดือนราคาประมาณ 5,000-6,000บาทขณะที่ยาสามัญคุณภาพเดียวกันที่ผู้ติดเชื้อใช้อยู่ราคาต่อเดือน 1,200 บาท ดังนั้นการที่ รมต สาธารณสุขคนใหม่แถลงข่าวจะทบทวนซีแอลยาใหม่ เกิดผลเสียทั้ง 2 ด้าน ด้านหนึ่งจีเอสพีไทยยังถูกตัดตามปกติแล้ว ยังส่งผลกระทบกับยาโรคหัวใจที่ประกาศซีแอลก่อนหน้านี้ เพราะบริษัทยาชื่อสามัญของอินเดียขอเลื่อนการส่งยาไป 1 เดือน เพราะไม่แน่ใจในนโยบายของไทยเรื่องซีแอล ทำให้เดือนนี้ผู้ป่วยโรคหัวใจต้องใช้ยาที่มีสิทธิบัตรยาแพงมาก(คือไม่สามรได้ยาราคาถูกลงทั้งที่ได้ประกาศซีแอลไปแล้ว  ขณะที่รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า ในความตกลงทริปส์มีสิ่งเพิ่มเติมเรื่องทรัพสินทางปัญญาจากอนุสัญญาปารีสซึ่งระบุว่า "ประเทศสมาชิกสามารถใช้ซีแอลได้ตามความเหมาะสม เช่นหากยามีราคาสูงเกินไป การกีดกันในประเทศ การจดสิทธิบัตรไม่มีวันตาย แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่เคยสนใจตรงนี้ ตึกรอบดูเพียงว่ารัฐจะทำอะไรไม่ได้บ้าง โดยไม่ดูวัตถุประสงค์และหลักการของทริปส์เลย นอกจากนี้คำประกาศโดฮา บอกว่า"ประเทศสมาชิกต้องตีความทริปส์ด้วยความยืดหยุ่น ต้องไม่ตีความจนไม่สามารถใช้ซีแอลได้ เป็นมติที่ประเทศพัฒนาแล้วก็เห็นด้วย ปัญหาที่ไทยเผชิญอยู่ไม่ใช่การปรับสถานะของสหรัฐ แต่มันมีความหมายอยู่ที่การตีความทริปส์ในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต เพราะตั้งแต่มีทริปส์ยังไม่มีใครดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องความยืดหยุ่น รัฐบาลแอฟริกาซึ่งมีผู้ติดเชื้อเป็นแสนๆคนเคยขู่ว่าจะใช้ซแอลบังคับให้บริษัทยายอมลดราคามากกว่า 10 เท่าตัว แต่สำหรับประเทศไทยดำเนินการจริงๆซึ่งได้ก่อให้เกิดการเข้าถึงยาแก่ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยมะเร็งได้จริง เป็นการใช้ความกล้าหาญในเรื่องความยืดหยุ่นในการใช้ข้อตกลงทริปส์เพื่อให้คนไทยที่ด้อยโอกาสเข้าถึงยาได้

หมายเลขบันทึก: 166975เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท