วิธีการสอน


การสอนแบบบรรยายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

สรุปบทความวิธีการสอนแบบบรรยายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

การสอนโดยวิธีการบรรยายเป็นวิธีสอนโดยการพูดบอก เล่า เนื้อหาสาระที่เตรียมไว้เป็นวิธีการสอนผู้เรียนกลุ่มใหญ่และเรียนในชั้นเรียน และยังมีผลการวิจัยสนับสนุนว่า เป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิผลที่สุด วิธีหนึ่ง

ขั้นตอนคือ เตรียมเนื้อหาให้เรียบร้อยแล้วจึงประเมินผล

ข้อดีของการบรรยายคือ      สอนผู้เรียนได้คราวละมาก ๆ พร้อมกัน

ข้อจำกัด คือ          เป็นกระบวนการเรียนการสอนแบบเฉื่อยชา  ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมจึงขาดความสนใจได้ง่าย

จากทฤษฎี  Learning style  วิธีการสอนแบบบรรยาย ที่ใช้กันมา ไม่สนใจความแตกต่างของบุคคลในการเรียนรู้และมีลักษณะที่ผู้เรียนเบื่อหน่ายได้ง่าย

                ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ ถึงข้อจำกัดนี้ก็คือผุ้เรียนมักนั่งหลับหรือเล่นกันในห้องเรียนที่เห็นอยู่คู่กับการบรรยาย จากอดีตถึงปัจจุบัน

การแก้ไขปัญหาของวิธีการสอนแบบบรรยาย

ผู้สอนต้องเตรียมงาน 3 ส่วนหลักคือ

-          เตรียมเนื้อหาสาระ รู้รอบเรื่องสาระ จำกัดเวลาสร้างประโยชน์ ใช้เวลาให้คุ้ม

-          เตรียมการนำเสนอ เตรียมเอกสารบรรยาย

-          เตรียมใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วยสอน เน้นการทดสอบก่อน หลังเรียน การใช้คำถาม การใช้สื่อประกอบ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็น

-          ขั้นตอนสุดท้ายของการสอนแบบบรรยายคือ การประเมิน การทดสอบ

การบรรยายที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นวิธีการที่ ปรับปรุงวิธีการสอนแบบบรรยายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกระดับชั้นเสมอมาให้สอดคล้อง กับจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยรักษาข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการบรรยายในเรื่องการเตรียมเนื้อหาการบรรยายและการประเมินผล ซึ่งผู้สอนต้องเตรียมในทุกขั้นให้ดีก่อนการปฏิบัติ

                นอกจากนี้ต้องให้ผู้เรียนรู้โครงสร้างรายวิชาตั้งแต่เริ่มต้นและย้ำเป็นระยะตลอดเทอมอาจจักสาระเพิ่มโดยพิจารณาความสนใจและความสามารถของเด็ก แต่สิ่งสำคัญต้องเตรียม syllabus  อย่างละเอียดให้ผู้เรียนเปรียบเสมือนให้แผนที่เดินทางสู่จุดหมายการเรียนที่ตั้งไว้ติดตัวตลอดเส้นทางไม่หลงหรือเลือกทางเดินผิด

                ขั้นต่อมาที่ต้องเตรียมงาน คือ เตรียมเอกสารการบรรยาย เพื่อให้ได้เอกสารสื่อการเรียนรู้ได้ผลดี จะต้องเตรียมการล่วงหน้าและระวังด้วยว่าอย่าเผลอจำหรืออ่านเนื้อหาสาระเหล่านั้นเหมือนละครอ่านบทเอกสารนี้ควรทดลองเสนอในหลายรูปแบบเช่นโครงสร้างเนื้อหา Outline แผนผังต้นไม้ Tree Diagram  หรือสรุปจุดสำคัญ Major point เพื่อช่วยให้เข้าใจสาระสำคัญได้ดีหากจำเป็นต้องแต่งเติมให้ชัดแจ้งก็ควรทำในส่วนของสูตรหรือหลักที่ต้องการอ้างถึงก็ต้องแยกแบ่งออกจากเนื้อหาออกมาต่างหาก รวมทั้งตัวอย่างประกอบก็ควรแยกไว้เช่นกัน อย่าลืมว่าเราใช้เอกสารเพื่อประกอบการบรรยายจึงต้องสอดคล้องกับการบรรยาย

                หลักการ คือ เมื่อบรรยายให้ฟังชัดคำสั้น ศัพท์ง่าย ประโยคตรง ชี้จุดและสรุปย้ำเนื้อหา เอกสารก็ควรเสริมส่วนที่อาจขาดไปหรือเข้าใจยากนั่นเอง

                การซ้อมบรรยายเป็นสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ เพื่อประเมินดูว่าเตรียมเนื้อหาไว้เหมาะหรือไม่ อาจลองดูสัก 1-2 ครั้ง เพราะอาจมีปัญหา เช่น เนื้อหานั้นมากเกินเวลาที่มีหรือจัดลำดับเรื่องไม่สอดคล้องกันจริงประเด็นสุดท้ายหลังเตรียมเนื้อหาดีแล้ว คือ จะต้องจัดโครงสร้างการบรรยายตามเนื้อหาที่มี โดยตัดสินใจว่าเราจะต้องบรรยายให้ยากหรือง่ายเพียงไร เขียนกำหนดแก่น (Theme ) ของเนื้อหาและเหตุผลก่อนจะจัดกระบวนการบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจว่า เหตุทำให้เกิดผลอย่างไรโดยต้องกำหนดโครงสร้างการบรรยายให้เข้าใจเนื้อหาที่สำคัญที่สุดให้ง่าย ๆ และจัดแบ่งการบรรยายเป็นช่วงละ 10-15 นาที

                ทั้งนี้ ตามหลักจิตวิทยาช่วงความสนใจของผู้เรียนจะอยู่ระหว่าง 10-20 นาที ในขณะที่คาบเรียนทั่วไปถูกกำหนด ไว้ 50 นาทีดังนั้นหากจัดการเวลาให้ได้ดี การบรรยายจะไม่กลายเป็นการร่ายยาวและผู้เรียนจะยังสนใจอยู่ได้ทั้งคาบ

                การจัดโครงสร้างต้องไม่ละเลยข้อสำคัญ ช่วงท้ายของการบรรยายคือ ต้องจัดให้ผู้บรรยายมีเวลาตอบคำถามผู้ฟังเพื่อแก้ไขข้อข้องใจในเนื้อหาจนกระจ่างหรือแนะแนวทางค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองต่อไปอีกนอกจากนี้ต้องเวลาเพื่อสรุปเนื้อหา เชื่อมโยงจากต้นเรื่องที่เริ่มบรรยาย มาสู่ตอนจบด้วย

                เมื่อมีทั้งเนื้อหาโครงสร้างการบรรยายพร้อมก็มาเตรียมการนำเสนอ  ในขั้นนี้สิ่งสำคัญคือตัวผู้บรรยาย จะต้องพร้อมเสนอเพื่อให้ผู้เรียนสนองตอบ ผู้เรียนย่อมจะสนใจผู้บรรยายที่มีชื่อเสียง เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิและบุคลิกภาพน่าสนใจ สะท้อนถึงความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ

คำสำคัญ (Tags): #การสอน
หมายเลขบันทึก: 166774เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท