คุณเชื่อ Poll มากน้อยแค่ไหน


ผลจาก Poll ส่วนใหญ่มาจากการสอบถามจากคนเพียงบางกลุ่ม ซึ่งอาจมีเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝงก็เป็นได้

      ในวันพุธที่ 22  กุมภาพันธ์ 2549 ทีมงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เข้าพบ ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช และ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด เพื่อหารือและซักซ้อมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “พลังบูรณาการเพื่อบรรลุระเบียบวาระแห่งปี 2549” โดยกำหนดวันที่ 18-20 มี.ค. 2549 ในการประชุมครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าประชุมอันได้แก่ พนักงาน กรรมการ และ PM ระดมความคิดและสรุปเนื้อหาสาระสำคัญของการประชุมทั้งหมด เพื่อให้เกิดแนวทางในการดำเนินงานเกิดเป็นพันธะสัญญาการทำงาน ซึ่งเป็นระเบียบวาระแห่งปี 2549 และทีมสสส. ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า จากผลสำรวจการประเมินการทำงานของ สสส. ในปีที่ผ่านมา พบว่า 20% เท่านั้นที่คนทั่วไปพอใจในการทำงานของ สสส. การทำงานด้วยความตั้งใจแต่ไม่เป็นที่พอใจของคนส่วนใหญ่ ก็เท่ากับทำงานไม่เข้าเป้า
       ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช ได้แสดงความเห็นว่า ทีมประชาสัมพันธ์ของ สสส. จัดทำ campaign เก่ง แต่ไม่มีข้อมูลสนับสนุน ไม่สามารถทำงานเชิงลึกได้ แต่จุดแข็งของสสส. คือโครงการที่มุ่งให้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ ควรมีการปรับกระบวนการใหม่ โดยแก้ไขทุกทาง ( Fact, Poll, PR และ Perception)  และ สคส. ยินดีแนะนำและช่วยทีมงานของ สสส.
         ซึ่งผลจาก Poll นี้แสดงให้เห็นว่าการทำงานของสสส. อาจจะทำงานไม่ถูกใจคนส่วนใหญ่ หรือผลการสำรวจมาจากคนทั่วประเทศหรือไม่  และผลที่ได้จากการประเมินตรงกับเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ แล้วเราควรจะเชื่อ Poll ได้มากน้อยแค่ไหน
     ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยเชื่อถือผลการสำรวจเท่าไร่ (ยกเว้นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ หรืองานทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ) เพราะผลจาก Poll ส่วนใหญ่มาจากการสอบถามจากคนเพียงบางกลุ่ม ซึ่งอาจมีเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝงก็เป็นได้ อย่างเช่น เกมส์รายการโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ที่จัดรายการโดยใช้ผลสำรวจมาเป็นตัวดำเนินรายการ และมีผู้เข้าร่วมรายการที่เป็นดารามาตอบคำถามว่าคนส่วนใหญ่คิดแบบไหน ซึ่งคำเฉลยคือ ผลสำรวจจากการสอบถามคน 100 คนหรือมากกว่า แต่ไม่ใช่ผลการสำรวจจากคนทั่วประเทศ ซึ่งบางคำถามดิฉันก็คิดว่าคำเฉลายบางข้ออาจจะไม่ใช่มีคำตอบที่ถูกสุด อาจจะมีคำตอบมากกว่า 1 หรือ 2 และมีได้หลากหลายคำตอบ ซึ่งความคิดของคนส่วนใหญ่มีได้หลากหลาย เนื่องจากแต่ละคนมีกระบวนการทางความคิดที่ไม่เหมือนกัน แต่จากการสรุปผลสำรวจเอง ก็อาจไม่ได้หมายความว่าไม่น่าเชื่อถือเลยที่เดียว แต่คิดว่าน่าจะมีปัจจัยอื่นที่ผลต่อผลสำรวจ อาทิเช่นมาจากกลุ่มคนบางกลุ่ม คนส่วนน้อย หรือ อาจมีการใช้หน้าม้าในการช่วยโปรโมตสินค้าหรือการบริการนั้นๆ  สิ่งแวดล้อมต่างๆ ส่งให้ Poll มีการบิดเบือนไปบ้าง แล้วคุณคิดเห็นเช่นไรกับเรื่องนี้


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16656เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2006 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Poll is one kind of conducting research.

How can we know that the result represents the idea of people in general?

I believe that one aspect of this comes from the researchers. They have to understand the issue of ethic. The reported result has to reflect the reality by putting aside their bias. Another aspect of the responsibility derives from readers. They are responsible for a critical and analytical thinking, be aware of social influence. By this i mean in our basis daily encounter, we interact with several people. We receive information via newspaper, radio, newspaper. These are social influence. It contains power over our though. It is able to frame and lead out worldview and attitude. However, I realize that it is very difficult for an ordinary person like us to be aware of every information we consume.

So what we should do to solve this problem????

 

ก็นะ โพลก็เหมือนกับการวิเคราะห์ตัวอย่างอ่ะนะ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความหมายของคำว่า "ประชากร" กับ "ตัวอย่าง" เสียก่อน  ประชากร ก็คือจำนวนของ คน, สัตว์ หรือสิ่งของใดก็ได้ที่เราต้องการวิเคราะห์ เช่น ประชากรของประเทศไทยมีประมาณ 60 ล้านคน เป็นต้น  สำหรับคำว่า "ตัวอย่าง" เนี่ยหมายถึงส่วนของประชากรที่มีการสุ่มเลือกมาเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด จะเลือกวิเคราะห์ตัวอย่างเมื่อประชากรที่เราสนใจมีมากจนไม่สามารถวิเคราะห์ประชากรจนครบ เช่น ตัวอย่างน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณที่มีโรงงานอุตสาหกรรม แถบปากน้ำโพธิ์ เป็นต้น (แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสาย เป็นประชากร)

ทีนี้ก็จะโยงมาถึงโพลนะ  ถ้าโพลนั้นเป็นการสุ่มตรวจที่เหมาะสม เลือกตัวอย่างที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร โดยไม่มีคำว่า "ลำเอียง หรือ bias" เข้ามาเกี่ยวข้องก็นับว่าเป็นโพลที่น่าเชื่อถือได้ระดับหนึ่งเหมือนกัน  อย่างเช่นถ้าเค้าอยากสอบถามความเห็นเกี่ยวกับอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ในห้างสรรพสินค้า เค้าก็ต้องกำหนดขอบเขตลงไปก่อนว่า กลุ่มตัวอย่างคือคนกลุ่มไหน พื้นที่ที่จะสุ่มตัวอย่างควรจะอยู่ในรัศมีเท่าใด ฯลฯ

 

ถ้าโพลทุกโพลทำได้อย่างนี้ ก็เชื่อได้นะ

แต่ส่วนใหญ่จะไม่น่ะสิ  เพราะนิสัยคนไทย ไม่ค่อยชอบพูดความจริง โดยเฉพาะความจริงที่มันกระทบกระเทือนความรู้สึกของคนอื่น และยิ่งถ้าต้องบอกชื่อของผู้ถูกสำรวจด้วยแล้ว ก็คงยากที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจากตัวอย่าง

 

อืม มาเม้นท์ให้แล้วนะจ๋าเอ้ย

เกษม ตันธนะศิริวงศ์

      ความเห็นของคุณโอ๋ และ คุณ OH จากความเห็นที่ 1 และ 2 น่าสนใจมาก คุณโอ๋พยายามบ่งชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่จะมีความต่อความน่าเชื่อถือของโพล รวมทั้งความจำเป็นในเรื่องความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่รอบ ๆ ตัวเพื่อให้การตอบแบบสอบถามไปอย่างมีประสิทธิผล และเมื่อผมได้ผนวกความคิดเห็นของคุณ OH ซึ่งพูดถึงการเลือกประชาการหรือกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการสำรวจ ถึงตอนนี้ผมอย่างจะขอนำเสนอความเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้ผมอ่านได้เห็นมุมมองที่มาจากคนซึ่งโดยปกติไม่เห็นประโยชน์ของโพลมากนั้นดังทัศนะที่จะนำเสนอต่อไป

ความเห็นผมทีแรกต่อเรื่องโพลแถบเป็นศูนย์ แต่เมื่อผมใด้ใช้เวลาบางช่วงคิดถึง bottom line ของโพลในระหว่างกินเบอเกอร์ที่ Jack in the box ก็เริ่มตระหนักถึงความเกี่ยวข้องของโพลกับตัวผมเอง นั้นก็คือผมสรุปตามความเข้าใจในฐานะที่จบวิศวะมา ว่า ผมไม่คิดว่า Poll จะเห็นกับความน่าจะเป็น (Probability) ในวิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่ในวิชา Quantum Mechanics ซึ่งเป็นการหาค่าเฉลี่ยกับสิ่งที่สนใจทั้งหมดมารวมกัน (integral). และ Poll ก็ไม่เหมือนกับแบบสำรวจ (Survey) เช่นการประเมินผลผู้สอนหลังเรียนจบคาบสุดท้ายของเทอม 

คำถามก็เลยมีต่อว่าแล้ว Poll จะน่าเชื่อถึอได้อย่างไร? เราสามารถน่า Poll ไปชี้นำอะไรในสังคมได้บ้าง?  หลังจากนั่งคิดต่ออีกโดยอาศัยประสบการณ์จากการทำแบบสำรวจเพื่อประเมินผลอาจารย์ที่สอน  ก็รู้สึกว่า Poll ที่น่าเชื่อถือน่าจะประกอบไปด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. ผู้ตอบต้องมีประสบการณ์และเข้าใจในเรื่องที่ตอบพอสมควร 2. ผู้ตอบต้องมีเวลาตอบอย่างไม่กดดัน (time constrain) 3. คำถามต้องมีมาตรฐาน ไม่กำกวมจนไม่สามารถเลือกคำตอบได้อย่างอิสระ รายละเอียดของการบรรลุความน่าเชื่อถือของ poll ตามที่ผมนำเสนอมาก็คงมีอีกมาก แต่ผมจะขอแสดงความเห็นต่อปัจจัยที่ 1  ก็คือว่าสื่อที่ไม่ถูกบิดเบื่อนต้องเข้าถึงผู้ตอบแบบสอบถามมิฉะนั้นแล้ว ความเชื่อถือก็ยากที่จะเกิดขึ้น

โดยสรุปแล้วผมเห็นด้วยว่า poll โดยคุณค่าแล้วสามารถนำความใช้ว่าความเห็นของคนในสังคมต่อสังคม,วัฒนธรรม, ความเชื่อหรืออะไรก็แล้ว ที่เราใช้แสดงตัวเลขในเชิงคุณภาพ(Qualitative) เท่านั้น แต่ปัจจัยทั้ง 3 ก็ไม่ควรที่จะละเลยเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท