กลศาสตร์ควอนตัมกับพุทธปรัชญา


หลักไตรลักษณ์มีความสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ใหม่

หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของกลศาสตร์ควอนตัมคือหลักการแห่งความไม่แน่นอน และหลักคุณสมบัติคู่คลื่นและอนุภาคของสาร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักสำคัญทางพุทธศาสนาอย่างหนึ่งคือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ซึ่งอาจคิดให้เป็นพุทธปรัชญาอย่างหนึ่งเพราะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะทางพุทธศาสนานั้น มุ่งเน้นในเรื่องของจิตเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามในกลศาสตร์ควอนตัมที่ศึกษาสิ่งที่เล็กในระดับอะตอมหรือเล็กกว่า บางครั้งได้ก้าวล้ำมาอธิบายในเรื่องของจิตใจด้วย ว่าจิตเป็นเสมือนคลื่นพลังงาน มีพลังงานจิตมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละคน ในทางกลศาสตร์ควอนตัมวัตถุที่เล็กมากหรือจะเรียกว่าอนุภาคนั้นมีพลังงานอยู่ในตัว ตามที่ไอน์สไตย์ได้ค้นพบสูตรการเปลียนไปมาระหว่างสสารและพลังงาน อนุภาคสารต่างๆ ก็สามารถที่จะคิดให้เป็นคลื่นพลังงานเช่นเดียวกับพลังจิตที่อยู่ในรูปของพลังงาน

ถ้าเรามองว่าคนเราประกอบด้วยรูปกับนาม หรือกายกับจิต สภาพที่เป็นทุกข์อยู่ที่จิตแต่ก็ส่งผลต่อร่างกายได้ด้วยจึงมีความสัมพันธ์ยากที่จะแยกออกจากกัน ส่วนอนิจจังนั้นทุกอย่างไม่เที่ยงแท้มีการเปลี่ยนแปลง อนุภาคสารก็ไม่มีความเที่ยงแท้ บางครั้งอาจคิดให้เป็นคลื่น บางครั้งก็คิดให้เป็นอนุภาคเอาให้แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และจากหลักแห่งความไม่แน่นอนของไฮเซ็นเบิร์กนั้น ไม่สามารถจะวัดค่า ต่ำแหน่ง และความเร็วให้ถูกต้องแน่นอนในเวลาเดียวกันไม่ได้นั่นก็คือไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน

ความสอดคล้องอีกประการคืออนัตตาหรือความไม่มีตัวตนที่แท้จริงเกิดจากการปรุงแต่ง วัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ต่างก็เกิดจากนำของหลายอย่างมาประกอบกันเป็นนั่น เป็นนี่ แต่ถ้ามองชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่นำมาประกอบกัน ก็ไม่อาจบอกได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร แม้แต่ร่างกายมนุษย์ก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งอื่นเมื่อตายไปเป็นสิ่งอื่นๆ อีก ตามกลศาสตร์ควอนตัมแล้วอนุภาคสาร หรือวัตถุต่างๆ สามารถคิดให้เป็นคลื่นได้หรือเทียบเป็นคลื่นได้ จะให้เป็นคลื่นหรืออะนุภาคสารนั้นแล้วแต่มุมมอง

สำหรับหลักการแห่งความไม่แน่นอน ถ้ามองในการทำงาน ในชีวิตประจำวันนั้น ไม่มีอะไรที่คนเราจะทำอะไรได้เพียบพร้อมสมบูรณ์ทุกอย่าง สิ่งใดที่ถนัดก็ทำได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับการทำข้อสอบ บางรายวิชาทำคะแนนได้เยี่ยมมาก แต่บางรายวิชาอาจทำคะแนนได้ปานกลาง  แต่ก็มีโอกาสที่เป็นไปได้ที่จะสอบได้ยอดเยี่ยมทุกรายวิชา แต่ก็มีน้อยมาก หรือจะสอบได้คะแนนเต็มทุกรายวิชาก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้นบางครั้งผู้เรียนอาจจะเลือกว่าจะทำข้อสอบวิชาใดให้ได้เกรดดีก็จำเป็นต้องเอาใจใส่ อ่านทำความเข้าใจและ ทำแบบฝึกหัดให้มากวิชาอื่นอ่านแต่เพียงพอผ่าน เช่นเดียวกันกับทางกลศาสตร์ควอนตัมที่จะวัดค่าตำแหน่งให้ละเอียดมากเท่าใด ก็จะวัดความเร็วได้ไม่ละเอียดมากเท่านั้น แต่ถ้าจะให้ละเอียดในระดับที่พอใจก็ต้องปรับว่าจะให้การวัดหนึ่งละเอียดกว่าอีกการวัดเท่าใด หรือให้ได้ความละเอียดใกล้เคียงกัน

คำสำคัญ (Tags): #อนัตตา#อนิจจัง
หมายเลขบันทึก: 166511เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท