หลักการโยงสัมพันธ์ กับ ปัญหาสำคัญ


ถ้าสมมุติว่า "เราเห็นนายแดงยืนอยู่ตรงหน้า" และมี่ผู้ถามว่า

"มีนายแดงอยู่จริงตรงนั้นหรือว่า เราเห็นว่ามีทั้งๆที่แท้จริงแล้วไม่มีนายแดงอยู่ในโลกนี้?"  และคำตอบมีดังนี้

(๑) "นายแดงมีอยู่จริงอยู่ภายนอกหัวของเรา" โดยให้เหตุผลว่า "เพราะว่า เรารู้สึกเห็นนายแดง ดังนั้นจะต้องมีนายแดงอยู่จริงภายนอกนั้น" (คือภายนอกหัวกะโหลกของเรา) คือ (ตอบแบบนี้เป็นไปตามแนวคิดของ Realism, Empiricism) หรือ

(๒) "ไม่มีนายแดงอยู่จริงภายนอกนั้น" โดยให้เหตุผลว่า "เป็นเพราะว่า เรารู้สึกเห็นนายแดง จึงมีนายแดง ถ้าเราไม่รู้สึกเห็นนายแดง นายแดงก็หามีไม่" (เป็นการตอบตามแนวคิดของ Idealism, Rationalism)

ปัญหานี้ "หลักการโยงสัมพันธ์" (Association Principle) สามารถที่จะเข้าไปแก้ปัญหาได้  โดยผมจะใช้รูปต่อไปนี้ประกอบคำอธิบาย ดังต่อไปนี้

Stimulus, Sensation, Perception

จากรูปนี้  บริเวณสีเหลือง แทน "การรู้สึกตัว"(Consciousness)  ในบริเวณสีม่วง เป็นบริเวณเซลล์สมอง  หรือถ้าให้เฉพาะลงไปก็คือ บริเวณ Cerebral Cortex ทั้งหมด   ทั้งสองบริเวณนี้ถูกห่อหุ้มด้วยกระดูกกะโหลกศีรษะ  ไม่มีโอกาสที่จะ"สัมผัส" นายแดง(S)ไดยตรงเลย  สิ่งทีมันสามารถสัมผัสได้ก็คือที่ "การรู้สึกสัมผัส"(s1)เท่านั้น  ฉะนั้น  ก้อนสมองที่อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจึง "ไม่รู้" ว่า "มี S" อยู่จริงภายนอกโน้น   แต่ถ้าเราให้เหตุผลว่า

เพราะว่า มี s1 เพราะฉะนั้น จึงต้องมี S อยู่ภายนอกโน้นจริง

การให้เหตุผลเช่นนี้หมายความว่า มี "การโยงสัมพันธ์" ระหว่าง  S และ s1  คือ  S - s1 ซึ่งหมายความว่า

"ถ้ามี  s1 (การรู้สึกสัมผัส) แล้ว ต้องมี S(นายแดง)ที่เป็นผู้ทำให้เกืด s1"

นั่นคือ  ต้องมีนายแดงอยู่จริง  ไม่ใข่ว่า

 "เพราะเรารู้สึกสัมผัส(s1)จึงมีนายแดง(S)"

ซึ่งเป็นไปตามคำตอบข้อ(๑)ข้างบน

ตามคำอธิบายนี้แสดงว่า มี "การโยงสัมพันธ์"ระหว่าง S - s1  และการอธิบายนี้ทำให้คำตอบตาม(๑) มีความเป็นไปได้  เรื่องนี้มีการวิจัยทางจิตวิทยาสนับสนุนมากมาย  เช่น การทดลองของ Pavlov, Thorndike, Skinner, และนักจิตวิทยาอื่นๆอีกมากมาย  จนนักจิตวิทยาส่วนใหญ่มีแนวโน้มสนใจตามแนวนี้  อันที่จริง Modern Behaviorism มีความคิดตามแนวนี้  แต่ Cognitive Psychologists คิดตามแนวนี้

คำสำคัญ (Tags): #stimulus, sensation, perception, association
หมายเลขบันทึก: 166412เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2008 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท