การทำ KM ของจังหวัด ตัวชี้วัดของ กพร.


         ด้วยเคยมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการจัดการความรู้ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านสุขภาพมาประมาณปีกว่าๆ  พอจังหวัดต้องมีการดำเนินการบริหารความรู้ในหน่วยงานของจังหวัด โดยปีนี้เป็นปีแรกที่ต้องได้รับการประเมินจาก กพร. มีเงื่อนไขว่าควรจะดำเนินการจัดการความรู้ (KM) ในยุทธศาสตร์ที่เสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง(Blue print for change)  จากเดิมที่คิดว่า สสจ.หนองคายซึ่งเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบตัวชี้วัดนี้จะเอากระบวนการการจัดการความรู้ที่ทำในโรงพยาบาลเครือข่ายเพื่อรับการประเมินโดย กพร. ก็มีอันต้องเปลี่ยนไป ความกังวลก็เกิดขึ้นทันที่ว่าจะเป็นภาระกับเรามากขึ้นหากต้องเริ่มต้นใหม่กับการทำกระบวนการจัดการความรู้ในยุทธศาสตร์ด้านเกษตร   บังเอิญว่าอาจารย์ที่ปรึกษาของการจัดทำ Blue print for change  ของจังหวัดได้ประสานและเตรียมทีมงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมาร่วมประชุม หารือกัน อย่างทันท่วงที  เห็นบรรยากาศของตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความกระตือรือร้นที่จะทำกระบวนการเพราะในหน่วยงานระบุจัดเจนว่าจะต้องทำ KM แต่ไม่รู้ว่ามันคือะไร ต้องทำอย่างไร    จากจุดนี้เองก็เกิดมีกำลังใจขึ้นมาว่าการที่จะได้มีโอกาสในการพัฒนางานตามยุทธศาสตร์จังหวัดร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ตังเองมีบวกกับทีมงานเดิมที่ช่วยกันทำ KM ในเครือข่ายบริการสาธารณสุข ก็มีความยินดีที่จะช่วยคิดช่วยทำ จึงได้รับที่จะเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการบริหารความรู้ของหน่วยงานนำร่อง 3 หน่วยงาน คือ โครงการชลประทานจังหวัด สนง.เกษตรจังหวัด  สนง.เกษตรและสหกรณ์  ประเด็นที่จะทำคือองค์ความรู้ที่จำเป็นในการพิจารณาโครงการชลประทานที่มีผู้นำมาเสนอขอให้พิจารณา  ซึ่งเป็นทักษะด้านเทคนิคด้านชลประทานที่หน่วยงานเสนอให้ม้มีการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง   เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์เรื่องการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการการเกษตรและการผลิต 

           ล่าสุดที่มีการประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการ ก็ได้เสนอว่าควรมีการจัดตั้งคณะทำงานโดยมีทีมโครงการชลประทานจังหวัดเป็นเจ้าภาพ   มีทีมงานครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ คือ มีผู้อำนวยการจัดการความรู้แต่ละหน่วยงาน มีทีม Facillitator   ทีม IT  และทีมเลขานุการ หรือมีทีโสตทัศนูปกรณ์  ให้ครอบคลุมจากทั้ง 3 หน่วยงาน เพื่อรองรับกิจกรรมที่ระบุตามกระบวนการ  ส่วนทีม KM กลางทาง สสจ.จะรับผิดชอบจัดให้  ตามแผนที่เสนอไปยังกพร. เดือนมีนาคม 2549 นี้จะมีการทบทวนแผน ตาม Format ของสถาบันเพิ่อมผลผลิตแห่งชาติก่อนที่เริ่มดำเนินการในเดือนเมษายน   ก็คงพร้อมกับอีกหลายๆจังหวัดที่จะต้องทำเช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16595เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2006 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอให้ช่วยอธิบายการทำ KM ในชลประทาน สนง.เกษตรจังหวัดเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ

ลองศึกษาของกรมส่งเสริมการเกษตรดูนะครับ เพราะตอนแรกก็เดินตามโมเดล "ปลาทู" แต่ก็สามารถจัดทำแผน KM ตามโมเดล "กพร./สถาบันเพิ่ม" ได้ ....คนละเรื่องเดียวกันครับ!!
อาจารย์ครับ กรุณาช่วยอธิบาย"คนละเรื่องเดียวกันด้วยครับ"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท