เล่าจากคลินิกสุขภาเท้าเบาหวาน ธาตุพนม (2)


“ต้องยุบคลินิกเท้าหรือไม่ เมื่อไม่มีศัลยแพทย์”
   
                 เนื่องจากว่าที่โรงพยาบาลไม่มีศัลยแพทย์ (ตั้งแต่กลางปี 2549) ทำให้การดูแลแผลที่เท้า สะดุดไปบ้างในด้านที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาแผล   ในช่วงนั้นแผลบางประเภท เราต้องใช้การส่งต่อให้โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์   แลัวส่งกลับมาให้เราดูแลต่อ ซึ่งก็ต้องลุ้นเหมือนกันว่า จะได้ผู้ป่วยแบบไหนกลับมา หนักสุดก็คงเป็น มาพร้อมกับการตัดทั้งขา

 

 
   

               มีเหมือนกันที่ถูกคำถามว่า “ต้องยุบคลินิกเท้าหรือไม่ เมื่อไม่มีศัลยแพทย์”  ก็สะท้อนใจเหมือนกันนะครับ  แต่เมื่อเรามาทบทวนดูกันแล้ว การยุบ ไม่ได้หมายความว่าคนไข้จะหายไปด้วยซะหน่อย ทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิม แผลก็ยังอยู่ คนไข้ที่เท้าผิดรูปก็ต้องมีแผลซ้ำๆอยู่  ที่สำคัญ ผอ.นายแพทย์มนูบอกว่า ต้องทำงานกันต่อไป ในบริบท ที่เป็นอยู่ 

            แล้วไอ้ บริบท ของเราเนี่ยเป็นยังไงนะ ......... ก็อย่างแรก ก็ไม่มีศัลย์แพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีแนวคิดในการทำคลินิคอย่าง นายแพทย์ประกาศิต จิรัปปภา  อย่างที่สองก็คือภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงมากมายในการที่จะมีแผลที่เท้า โดยเฉพาะ "เท้าชนบท" อย่างเราๆ

        คลินิคสุขภาพเท้าเบาหวานธาตุพนม ตอนนี้เปิดให้บริการทุกวันพุธ บ่าย ให้บริการแบบ one stop service ตามแผนผังเดิม ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า และผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และสูงมาก (ประเมินจาก Foot assessment form)  เฉลี่ยประมาณ 10 -15 ราย ต่อ ครั้ง  ที่คลินิกเท้ามีผู้รับผิดชอบหลักๆ 4 คนครับคือ

          ผม ภก.เอนก ทำหน้าที่ในการดูแลทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน ประเมินค่าน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ประเมินการใช้ยา และอาการข้างเคียง รวมทั้งติดตามการนัดเข้าคลินิก  รวมทั้ง consult แพทย์ เมื่อพบปัญหาด้านการควบคุมระดับน้ำตาลและการใช้ยา
          พี่เล็ก มณีวัชราภรณ์ ทำหน้าที่ในการตรวจประเมินเท้า และดูแลหนังหนา ตาปลา
          พี่ตุ๊กตา อุทัยวรรณ ทำหน้าที่ดูแลแผล  ทำแผล  ประเมินลักษณะแผล เพื่อ consult แพทย์ และการส่งต่อตามความเหมาะสม ซึ่งจะรวมไปถึงการประสานดูแลขณะผู้ป่วย Admit รักษาแผลในโรงพยาบาล และหลังจาก D/C ก็จะถูกนัดเพื่อขึ้นทะเบียนติดตามที่คลินิกสุขภาพเท้าเบาหวาน
          น้องหงา พเยาว์ ทำหน้าที่ในการประเมินความผิดปกติของรูปเท้า ประเมินรองเท้า ปรับเปลี่ยนรองเท้า และการ off loading ในขณะที่มีการรักษาแผล

ครั้งหน้า จะมาเล่าความภาคภูมิใจ ซึ่งคือความสุข ที่ได้ทำงานครับ

ภก.เอนก ทนงหาญ  ผู้เล่าเรื่อง
 

หมายเลขบันทึก: 165756เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ อ.เอนก

เห็นทีมเวิร์คแล้วน่าชื่นใจจังเลยค่ะ

ท่าบ่อยังต่วมเตี้ยมอยู่เลยค่ะ (พาดพิงชื่อใครป่ะเนี่ย)

ขอบคุณค่ะ

มาให้กำลังใจค่ะ

รพ.อุดรฯกำลังจะพยายามทำให้เกิด คลินิกเท้า เช่นกันค่ะ

 

อย่ายุบนะคะ อย่า

แต่จริง ๆ ก็เห็นว่าทีมดีอยู่แล้วนะคะ

ไม่มีหมอศัลยฯ ก็ไม่เป็นไรค่ะ

refer ได้ใช่มั๊ยคะ

แล้วยังไงมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ

ขอบคุณ  sasinee  และป้าแดง ครับ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยือน

ยังไงทักทายกัน ที่งาน HA forum 9 ปีนี้นะครับ

ครับรีบๆกลับจากForum ด้วยนะครับ

 

เสียดาย ไม่เจอ กันนะคะ เพราะคนเยอะมาก

ไม่หมอศัล ก็ไม่เป็นไรครับ

ที่พระประแดงมีก็นานๆไปรบกวนท่านซักทีนึง

100 ราย จะ consult ซัก 2-3 รายเท่านั้นเอง

ขอให้เป็นหมอที่มีใจ ก็ช่วยคนไข้ได้ทั้งนั้นครับ

เหมือนที่บ้านโป่ง ครบุรี และตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด

"ก็ที่ธาตุพนมนั่นแหละครับ"

อยากมีคลีนิคดูแลเท้าบ้าง (รับเป็นที่ปรึกษาได้ไหม)

ถึงไม่มีศัลยแพทย์ แต่ทีมเราก็ยังเดินไปได้ด้วยดีนี่นา พี่ว่ามันตอบโจทย์ ค่านิยมขององค์กรเราเป้ะ!เลยล่ะ องค์กรต้องการ บุคลากร ที่เป็น HR Autonomous[Quality mind-Strategic mind-Learning mind] แล้วสิ่งที่ได้ตามมา คือ การทำงานเป็นทีม โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ พี่ต้วมเตี้ยมเป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ ไว้เมื่อไรพี่ต้วมออกชุมชน ที่ CMU ฝั่งแดง มีปัญหาก็ขอคำปรึกษาด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท