หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ..ที่เราอยากเห็นคนไร้รัฐสามารถเข้าถึง/ใช้บริการ?


..การมีส่วนร่วมในการจ่ายเมื่อไปรับบริการ จะเป็นการสะกัดกั้นการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะสำหรับคนจน

         หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
        
ประกอบไปด้วยผู้ใช้สิทธิในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง), ผู้มีสิทธิในระบบประกันสังคม และผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

  • โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการรวมโครงการประกันสุขภาพเดิมที่รัฐเป็นผู้จัด
           1)โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.)
           2) โครงการบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท
  • โดยแบ่งผู้มีสิทธิเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคยอยู่ภายใต้โครงการ สปร. ได้รับบัตรทองที่มี ท. (ไม่ต้องร่วมจ่าย 30 บาท) และกลุ่มที่เหลือได้รับบัตรทองที่ไม่มี ท. (ต้องจ่ายร่วม 30 บาท ในการไปรับบริการแต่ละครั้ง)
  • ข้อสังเกต : "การมีส่วนร่วมในการจ่ายเมื่อไปรับบริการ จะเป็นการสะกัดกั้นการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะสำหรับคนจน"

         ส่วนร่วมจ่าย : เป้าประสงค์และสิ่งที่ต้องพึงระวัง
               
1) เพื่อลดอุปสงค์หรือความต้องการใช้บริการสุขภาพ โดยเฉพาะบริการที่ไม่จำเป็นเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย
                2) เพื่อหารายได้เพิ่มขึ้นให้กับระบบริการสุขภาพ เป็นการระดมทรัพยากรเพื่อมาใช้ในระบบบริการสุขภาพและลดภาระของภาครัฐ ประเทศแถบยุโรปตะวันก ที่กำหนดให้มีส่วนร่วมจ่ายส่วนใหญ่ มักเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ประการแรก แต่ประเทศในแถบยุโรปตอนกลางและตะวันออกนั้น มักเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ข้อหลัง

               รูปแบบการร่วมจ่าย
               (1) ผู้มีสิทธิจ่ายจำนวนหนึ่งก่อนจะมีสิทธิใช้ประโยชน์จากระบบประกัน (Deductible) เช่น จ่ายเองก่อน 2,000 บาท ส่วนเกินประกันจ่ายให้
               (2) ผู้มีสิทธิจ่ายจำนวนคงที่จำนวนหนึ่งในการไปรับบริการ (Co-payment) เช่น การจ่ายต่อครั้งต่อการไปพบแพทย์ การนอนรพ. ต่อใบสั่งยาหรือรายการยา
               (3) ผู้มีสิทธิจ่ายเป็นสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการรับบริการ (Co-insurance) เช่น จ่ายร้อยละ 20 สำหรับค่าแพทย์ ค่านอนโรงพยาบาล หรือค่ายาเป็นต้น

  • เหตุผลหลักในการสนับสนุนการร่วมจ่ายของประชาชนในการไปรับบริการนั้นมาจากหลักเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ คือ ให้ประชาชนใช้บริการอย่างสมเหตุสมผล ป้องกันการใช้บริการเกินจำเป็น และอาจควบคุมค่าใช้จายได้ระดับหนึ่ง

          อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องมี มาตรการปกป้องคนจนเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการ

หมายเลขบันทึก: 165570เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท