การบริหารความรู้ในชั้นเรียนแบบนี้จะเกิดการแลกเปลี่ยนหรือไม่


Knowledge Management(KM)-การบริหารความรู้ในชั้นเรียน


1.    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน (Knowl sharing) คือ   การจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย จะต้องสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ให้มีบรรยากาศที่ดี เป็นมิตรและชื่นชมกับการปฏิบัติงานของผู้เรียนโดยการสร้างบรรยากาศเป็นไปตามรูปแบบต่อไปนี้1.) เชื่อว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการศึกษาอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว2.) ไม่ตัดสินถูกผิดให้เคารพในความคิดของตัวเองและผู้เรียน3.) ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ4.) เน้นการแลกเปลี่ยนที่มาจากการปฏิบัติจริงไม่ยึดทฤษฎี5.) อย่าคาดหวังกับผลลัพธ์จนลืมเปิดใจรับฟังประสบการณ์ความรู้และความรู้สึกของผู้อื่น6.) สร้างเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ตามบริบทของตัวเองและตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์2.   ความรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน จะประกอบไปด้วย 5 หน่วยคือ1.) ความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดจากผู้รู้หรือการฝึกฝนตนเอง2.) ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการคิดหรือจินตนาการของผู้เรียน3.) ความรู้ที่มาจากการฝึกอบรมหรือศึกษาดูงาน การท่องเที่ยว การลอกเลียนแบบ4.) ความรู้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเพื่อนในกลุ่ม  ห้องเรียน โรงเรียน หรือ บุคคลอื่น5.)ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานในหน้าที่หรืออาจเรียกว่าทักษะหรือประสบการณ์3.   หลักการของ KMเชื่อว่าคนทุกคนมีความรู้และใช้ความรู้ยังไม่เต็มที่    Explicit Knowledge  คือ  ความรู้ที่เราสามารถจะรับรู้ได้ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เป็นสิ่งสาธารณะ เนื้อหาคงที่  ความรู้แบบส่วนตนนั้นสำคัญต่องานขององค์กร ไม่แพ้ความรู้แบบสาธารณะซึ่งหาได้ทั่วไป     Impliclt Knowledge   คือ ความรู้ที่หาได้ทั่วไป จากบุคคลและสื่อต่างๆ เรียกว่าความรู้สาธารณะ หรือความรู้ที่เปิดเผยได้ <p style="margin: 0in 0in 10pt" class="MsoNormal">    Ticit Knowledge คือ ความรู้ที่อยู่ในใจคน อยู่ในพฤติกรรมคน อยู่ในแนวคิดคน จะออกมานอกตัวคนก็โดยการมีปฏิสัมพันธ์กัน เป็นความรู้ที่เกิดจากทักษะในการทำงาน จากประสบการณ์ชีวิต ตนเชื่อว่าเป็นของจริงเฉพาะตน ตกผลึกอยู่ในที่ซ่อน (crystalized) ยากที่เครื่องมืออิเล็กโทรนิคส์จะสามารถล้วงออกมาได้</p> <p style="margin: 0in 0in 10pt" class="MsoNormal">หลักการของ   Tomoshiro   Takanashi เชื่อว่าธรรมชาติของความรู้มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา หากนำไปใช้และเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จะทำให้องค์ความรู้นั้นแตกแขนงและเกิดวิธีการหรือเทคนิคใหม่ที่ดีกว่าเก่า ช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และนั่นคือ จะทำให้บุคคลพัฒนา มีคุณภาพ องค์กรณ์และประเทศชาติก็จะพัฒนาตามไปด้วย</p><p style="margin: 0in 0in 10pt" class="MsoNormal">รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนของผม

       และเมื่อนักเรียนเข้าสู่ห้องเรียนซึ่งผมเองสอนคอมพิวเตอร์ ผมจะเริ่มต้นก่อนว่าวันนี้เราจะเรียนกันเรื่องอะไรกัน สำหรับวิชาคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับโปรแกรมนี้เมื่อนักเรียนเข้าใจในหลักการปฏิบัติ นักเรียนสามารถนำเอาทักษะเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างกับการเรียนของนักเรียน รวมถึงวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียน  โดย ผมกำหนดขั้นตอนการเรียนเป็นดังนี้
</p>1.    บอกวิธีการใช้งานการในการใช้งานโปรแกรม หรือเครื่องมือต่างๆ 2.    ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะซัก 20 นาที โดยให้นักเรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองหลังจากที่ผมได้สอนวิธีการพื้นฐานไปแล้ว3.    เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามข้อสงสัย และ ให้นักเรียนลองศึกษางานของเพื่อนๆ 4.    ถามนักเรียนว่างานของเพื่อนคนไหนที่นักเรียนสนใจ  ให้นักเรียนลองไปหาเจ้าของงานนั้น แล้วถามวิธีการ และ เทคนิคการทำ5.    นำเอาเทคนิคและวิธีการของนักเรียนทุกคนมารวบรวมเป็นองค์ความรู้รวบในชั้นเรียน6.    ช่วยกันสรุปหาว่า เทคนิคและวิธีการของเพื่อนคนไหนที่พวกเราคิดว่า น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดโดยทำแบบนี้ทุกห้องจนครบ7.    นำเอาเทคนิคและวิธีการของนักเรียนทุกห้องมาเก็บรวบรวมเป็นองค์ความรู้ในระดับชั้น8.    นำเอาเทคนิคและวิธีการของนักเรียนทุกห้อง มาช่วยกันสรุปหาว่า เทคนิคและวิธีการของเพื่อนคนไหนที่พวกเราคิดว่า น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด  <p style="margin: 0in 0in 0pt; line-height: normal" class="MsoNormal">
วัน พฤหัสบดี ที่
14 กุมพาพันธ์ พ.ศ.2551
เรียบเรียงโดย
  :  นายบรรเจิด  พุ่มพันธ์สน  
                        
ครูโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา ๑
                         อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
                         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต
2
(วทบ. วิทยาการคอมพิวเตอร์  สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี)</p>

หมายเลขบันทึก: 165205เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2008 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท