การเปลี่ยนแปลงกับความไม่แน่นอน


สิงที่แน่นอนที่สุดคือความไม่แน่นอน

จากคำกล่าวที่ว่า สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือความไม่แน่นอน   และการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด  ทั้งสองประโยคข้างต้นดูเหมือนว่าจะขัดกันเอง เพราะในประโยคแรกแน่นอนที่สุดแล้วคือความไม่แน่นอน แต่ประโยคหลังยังมีสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าดูตามตรรกะแล้วจะพบว่าความไม่แน่นอนกับการเปลี่ยนแปลงมีความสมนัยกัน เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงจึงไม่แน่นอน ในโลกนี้หรือในจักรวาลอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้จึงไม่มีอะไรแน่นอน และไม่มีอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อพิจารณาตัวเราเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่มีใครที่ไม่ตาย ก็ต้องเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปทั้งสิ้น การจะพูดว่ามาจากธรรมชาติก็กลับสู่ธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอน เหมือนกับการเป็นความจริงเชิงประจักษ์ การกล่าวเช่นนี้ก็ดูเหมือนว่าจะขัดกับที่เคยกล่าวมาแล้วว่าไม่มีอะไรแน่นอน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด เหมือนกับกำปั้นทุบดิน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมาจากธรรมชาติทั้งสิ้นซึ่งเป็นความจริงเชิงประจักษ์ ที่พบว่าในความจริงนั้นเป็นความจริงที่ว่ามีความไม่แน่นอนอยู่ในนั้น

มีประเด็นที่น่าคิดว่าจะมีอะไรอยู่ในความไม่แน่นอน อาจคิดได้ว่าก็คือความแน่นอนอยู่ในความไม่แน่นอน ถ้าเรากล่าวว่าทุกคนต้องตายเป็นสิ่งแน่นอน เพราะไม่มีใครจะฝืนความตาย ไม่มีใครที่จะยืนยงอยู่คำฟ้าทำให้คิดประหนึ่งว่า ความตายเป็นสิ่งแน่นอนอีก และเหมือนกับว่าจะขัดแย้งกับประโยคที่ว่าสิ่งแน่นอนที่สุดคือความไม่แน่นอน การจะชี้ให้เห็นว่าการตายก็เป็นสิ่งไม่แน่นอนได้เหมือนกันเมือมองในทัศนะของพุทธ และควอนตัม

กลศาสตร์ควอนตัมไม่สามารถบอกหรือวัดค่าได้แน่นอนจึงบอกในเทอมความน่าจะเป็น และการจะทราบว่าอะไรจะคงอยูุ่หรือไม่นั้น เราจะต้องไปสังเกตมันเสียก่อน ถ้าไม่ไปสังเกตมันก็ไม่อาจตอบได้ว่ามันมีอยู่หรือไม่ จึงตอบไม่ได้ทั้งว่ามีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่ ซึ่งก็อยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอน หรือธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้นเอง

คำสำคัญ (Tags): #ควอนตัม#พุทธ
หมายเลขบันทึก: 165078เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท