ปรากฏการณ์ที่ขัดกับสามัญสำนึก


ยังมีโอกาสที่อนุภาคที่มีพลังงานน้อยกว่าทะลุผ่านสิ่งขวางกั้นได้
ปรากฏการณ์ดังที่ว่าขัดกับสามัญสำนึกนั้น มาจากหลักการทางกลศาสตร์ควอนตัม ที่พยายามศึกษาเกี่ยวกับวัตถุเล็กๆ ในระดับอะตอมแล้ว พบว่ากลศาสตร์ที่ใช้อยู่เดิมไม่สามารถนำมาใช้อธิบายได้เลย จึงต้องมีทฤษฎีใหม่มาอธิบายซึ่งได้แก่กลศาสตร์ควอนตัมนั่นเอง ซึ่งมีแนววิธีที่แตกต่างจากกลศาสตร์ดั้งเดิม แต่พบว่ากลศาสตร์ควอนตัมสามารถนำกลับมาอธิบายหรือใช้ได้กับเรื่องที่เคยใช้ได้กับกลศาสตร์เดิมได้ด้วย กลศาสตร์ควอนตัมจึงถูกต้องกว่า หลักการที่ว่าขัดกับสามัญสำนึกก็คือ  

 

หลักความไม่แน่นอน
ในทางกลศาสตร์ควอนตัมบอกว่าไม่สนามารถวัดอะไรได้แน่นอนแต่วัดได้แต่เพียงโอกาสความน่าจะเป็น โดยคิดว่าไม่ว่าจะวัดอะไรสิ่งที่จะใช้วัดหรือเครื่องมือจะไปรบกวนสิ่งที่จะวัดทำให้วัดค่าได้ผิดพลาดเสมอซึ่งขัดกับสามัญสำนึกของเราที่เคยวัดสิ่งต่างๆ เมื่อวัดแล้วก็ไม่เคยคิดว่าสิ่งที่เราวัดจะเปลี่ยนตำแหน่งไป แต่เป็นความผิดพลาดจากการวัดของเราเอง

ทวิภาคของคลื่นอนุภาค
ทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภพสามารถที่จะคิดให้เป็นอนุภาคหรือเป็นคลื่นก็ได้ คนวัตถุสิ่งของทั้งหลายก็สามารถคิดให้เป็นคลื่นและคำนวณความยาวคลื่นออกมาได้ตามสูตร โดยสามัญสำนึกของเราไม่น่าจะมีทางเป็นไปได้ที่เราจะเป็นคลื่น แต่โดยทฤษฎีสามารถเป็นได้จริง จากหลักการนี้ชี้เห็นเห็นถึงสสารและพลังงานก็คือสิ่งเดียวกัน ไม่มีอะไรที่จะคงตัว แน่นอนตายตัว ไม่เที่ยงเป็นอนิจังและไม่มีตัวตนที่แท้จริงเป็นอนัตตา

การทะลุผ่านอุโมง (tunneling)
เป็นปรากฏการณ์ที่โดยสามัญสำนึกแล้วไม่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นการที่เราจะเดินผ่านทะลุกำแผงหรือขว้างลูกบอลให้ทะลุกำแพง ในกลศาสตร์ควอนตัมก็คืออนุภาคที่พลังงานน้อยกว่าสิ่งขวางกั้นก็ยังมีโอกาสที่จะทะลุทะลวงผ่านสิ่งขวางกั้นนั้นไปได้ แม้ว่าจะมีโอกาสน้อยก็ตาม จากหลักการนี้นักวิทยาศาสตร์ได้นำไปสร้างกล้องจุลทัศน์ชนิดที่สามารถมองเห็นอะตอมได้เป็นครั้งแรก

หมายเลขบันทึก: 165076เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท