บทบาทของชุมชนในการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน


บทบาทของชุมชนในการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน
การทำความเข้าใจบทบาทของชุมชนในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน จำเป็นต้องขจัดภาพเก่า ๆ ของการศึกษาในอดีตให้หมดไป และต้องเปลี่ยนมุมมองการศึกษาใหม่ในแนวทางที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ในสังคมชุมชน

1.     วิถีชีวิตในชุมชน วิถีชีวิตของผู้คนและชุมชนเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างการผลิต การอยู่ร่วมกัน และระบบคุณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสังคมชุมชน ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานในลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้วิถีชีวิตในชุมชนเคลื่อนไหวอย่างเป็นกระบวนการ


1.     การผลิต หรือลักษณะทางเศรษฐกิจของชุมชน สามารถพิจารณาได้จากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ การใช้แรงงาน เทคโนโลยี และเป้าหมายของการผลิตนั้น

2.     การอยู่ร่วมกัน หรือลักษณะทางสังคมของชุมชน สามารถพิจารณาได้จากความสัมพันธ์ 2 แบบ คือความสัมพันธ์ทางเครือญาติซึ่งเป็นความผูกพันทางสายโลหิต และความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นความผูกพันที่เกิดจากการพึ่งพาอาศัยกันทั้งในด้านการผลิตและการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชน และรวมถึงความสัมพันธ์ในทำนองนี้กับบุคคลและองค์กรภายนอกชุมชน

 3.     ระบบคุณค่า ตลอดถึงความเชื่อและศาสนาต่าง ๆ ในชุมชน เป็นกรอบกำหนดวิธีคิดและการให้ความหมายต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น คน ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นต้น การพิจารณาปฏิสัมพันธ์และความเชื่อมโยงขององค์ประกอบเหล่านี้ จะช่วยให้มองเห็นวิถีชีวิตในชุมชนทั้งสองด้าน คือ ทั้งเรียบง่ายและเร่งร้อนวิถีชีวิตที่เรียบง่ายที่ยังคงปรากฏอยู่ในคนจำนวนหนึ่งของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท เป็นผลมาจากการให้ความหมายต่อชีวิตและจัดระบบการผลิตที่เกื้อกูลต่อธรรมชาติ การใช้ชีวิตจึงไม่เร่งรีบ มีเวลาสำหรับตนเอง ครอบครัว และชุมชน ส่วนคนอีกจำนวนหนึ่งในชุมชน ที่ได้ให้ความหมายต่อชีวิตในเชิงสัมพันธ์กับวัตถุ มุ่งมองธรรมชาติในฐานะทรัพยากรที่ต้องนำมาตอบสนองความต้องการของตน ทำให้ต้องใช้ระบบการผลิตที่รีบเร่ง แข่งขัน ขูดรีดตนเองและคนอื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คนเหล่านี้จึงแทบไม่มีเวลาให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตในชุมชนทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเรียบง่ายหรือเร่งร้อนล้วนต้องเรียนรู้ และนอกจากนั้น ปฏิสัมพันธ์และการเชื่อมโยงขององค์ประกอบทั้งสามข้างต้นก็เป็นกระบวนการเรียนรู้ในตัวมันเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการปรับตัวเองของชุมชนและสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนไปตลอดเวลา2.     ศักยภาพและข้อจำกัดของชุมชน การพัฒนาประเทศในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา คือนับตั้งแต่การประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (พ.ศ.2504) มาจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนหลายด้านทั้งในทางที่นำไปสู่ศักยภาพ ปัญหาหรือข้อจำกัดขึ้นในชุมชน 1.     ศักยภาพของชุมชนในปัจจุบัน 1.     การปรับใช้วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา การเข้ามาของวัฒนธรรมภายนอก โดยเฉพาะจากซีกโลกตะวันตก ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเร่งรัดพัฒนาประเทศเมื่อ 35 ปีที่แล้วมา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิต แบบแผน ความสัมพันธ์ ระบบคุณค่าและความเชื่อของชาวบ้านและชุมชน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใดในทุกพื้นที่ของประเทศ ทำให้ชาวบ้านและชุมชนจำนวนมากสามารถสืบทอดวิถีชีวิตของตนหรือวัฒนธรรมชุมชน และนำมาปรับใช้ได้เหมาะสมกับสมัย ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นหนึ่งในหลายกรณีที่แสดงถึงศักยภาพหรือความสามารถของชาวบ้านและชุมชนในการปรับใช้วัฒนธรรม เป็นกระบวนการเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันผ่านระบบคุณค่าเดิมของชุมชน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมส่วนที่มองไม่เห็น ทำให้ชาวบ้านและชุมชนในทุกภาคของประเทศได้ปรับหรือประยุกต์เอาวัฒนธรรมมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างกว้างขวาง และไม่ติดยึดกับรูปแบบหรือวัตถุธรรม ซึ่งปรากฏให้เห็นในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของคนในชุมชนการปรับใช้วัฒนธรรมดังกล่าวนี้ สามารถศึกษาผ่านชีวิตของผู้นำ ผู้รู้หรือผู้ทรงภูมิปัญญาและกลุ่มหรือองค์กรในชุมชน บุคคลและองค์กรเหล่านี้ได้สร้างระบบคิดและปฏิบัติที่เปิดโอกาสให้คุณค่าและ มูลค่าผสมผสานกันอย่างลงตัว และพึ่งตัวเองได้อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปในสังคม กลายเป็นต้นแบบให้ชาวบ้านและชุมชนอื่นเอาอย่าง และคนจำนวนมากยังเชื่ออีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นคำตอบของชีวิตและการพัฒนาเพื่อเข้าสู่สังคมใหม่ที่กำลังจะมาถึง 2.     การพัฒนากลไกทางสังคมวัฒนธรรม การพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวัตถุมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคม ทำให้คนในชุมชนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง แต่อีกด้านหนึ่งของความก้าวหน้านี้กลับส่งผลให้ผู้คนและชุมชนตัดขาดจากกัน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติและการแลกเปลี่ยนหรือการพึ่งพาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ซึ่งเป็นกลไกทางสังคมวัฒนธรรมแบบเดิมแทบจะไม่มีอำนาจในการควบคุมพฤติกรรมทางสังคมของคนในชุมชนอีกต่อไป ท่ามกลางความอ่อนล้าของกลไกทางสังคมวัฒนธรรมดังกล่าว ชาวบ้านและชุมชนจำนวนมากได้พยายามฟื้นฟู ประยุกต์ และสร้างสรรค์กลไกทางสังคมวัฒนธรรมใหม่ ให้มีรูปแบบ เนื้อหา และการหน้าที่หลากหลาย สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง แต่กลไกใหม่นี้ได้คงไว้ซึ่งระบบคุณค่าเดิมของชุมชนสังคมชุมชนในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติแบบให้พี่ปันน้องได้คลายพลังลงไปมากแล้ว สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือการพึ่งพาอาศัยกันในเชิงแลกเปลี่ยนผ่านกลไกการจัดการที่ชาวบ้านสร้างขึ้น ที่สำคัญได้แก่ กลุ่ม หรือองค์กรชุมชน ซึ่งมีความหลากหลายในรูปแบบและกิจกรรม เช่น การออมทรัพย์และสวัสดิการ ธนาคารข้าว กองทุนวัว ธุรกิจชุมชน และอุตสาหกรรมชุมชน เป็นต้น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายใต้กลไกการจัดการใหม่นี้ ได้ฉุดดึงญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านให้ใกล้ชิดกันอีกครั้งหนึ่ง เกิดเป็นเครือข่ายของ 
หมายเลขบันทึก: 165060เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท