มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที DW


สิ่งสำคัญที่ทำให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ไม่เป็นสูญ
            เมื่อวานนี้ ดิฉันได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ ( DW) ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสามร้อยยอด ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจากอำเภอหัวหิน  ปราณบุรี  กุยบุรี และสามร้อยยอด มาร่วมประชุมสัมมนา โดยมีประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การทำงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในการสัมมนาครั้งนี้  มีนายเฉลิมพล  จันทร์ฉาย  เกษตรอำเภอสามร้อยยอด เป็น CKO  นางสาวชุติมา  ทองลิ่ม  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3  จากอำเภอหัวหิน เป็นคุณลิขิต  และที่สำคัญมีคุณเล่าที่นำประสบการณ์การทำงานมาแลกเปลี่ยนกัน ทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่1.  นายนพดล  เบ็ญจกุล     นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว  จากอำเภอสามร้อยยอด2. นายนิวัต  กฤตานุสาร      นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว  จากอำเภอสามร้อยยอด3. นายชัยณรงค์  หงษ์ทอง   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว  จากอำเภอปราณบุรี4. นางสาวเพียงใจ  น้อยดี    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3  จากอำเภอปราณบุรี5. นายฐิติภูมิ  ตุ้มศรี    เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร 6  จากอำเภอหัวหิน           ส่วนดิฉันก็ร่วมสังเกตการณ์ และได้ข้อสรุปจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ในการทำให้การดำเนินงานศูนย์บริการฯ ประสบความสำเร็จ ดิฉันเก็บประเด็นสำคัญได้ 5 ประเด็นดังนี้ค่ะ1.    เลขาศูนย์บริการฯ ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรนั่นเอง  ควรมีบทบาทดังนี้-          เป็น  Saleman โดยนำสินค้าดีๆ ใหม่ๆ นำเสนอแก่ลูกค้า คือเป็นผู้ขายความคิดให้แก่คณะกรรมการศูนย์บริการฯ และเกษตรกรในพื้นที่ -          เป็น Director คือเป็นเสมือนผู้กำกับ ที่คอยกำกับให้คณะกรรมการศูนย์ได้แสดงบทบาทของตัวเองได้อย่างเต็มที่และเต็มประสิทธิภาพ โดยที่เลขาศูนย์บริการฯ ไม่ต้องลงไปแสดงเอง ซึ่งเป็นการฝึกการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์บริการฯ และช่วยให้คณะกรรมการศูนย์บริการฯ มีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น-          เป็นนักประสานงานที่ดี ทั้งกับระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับเกษตรกรหรือผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่-          ต้องสร้างศรัทธาต่อชุมชน  โดยมีความซื่อสัตย์  ตรงต่อเวลา จริงใจ และให้เกียรติผู้อื่น-          มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี2.    บทบาทของคณะกรรมการศูนย์บริการฯ  ถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด ได้แก่-          ต้องเป็นผู้ที่มี Power ในการสนับสนุน ผลักดันการทำงานให้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ คณะกรรมการศูนย์บริการฯ จะมีตำแหน่งเป็นสมาชิก อ.บ.ต.  ผู้ใหญ่บ้าน และ ผู้นำเกษตรกร เป็นต้น-          มีความพร้อมและเต็มใจเข้ามาทำงาน-          เข้าใจบาทบาทของตนเอง-          เป็นนักคิด นักพัฒนาชุมชน-          เคารพในกฎ กติกา และข้อตกลงร่วม-          มีส่วนร่วมในการทำงาน-          มีความเสียสละ3.    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือที่คุ้นเคยก็คือ อ.บ.ต. นั่นเอง เพราะศูนย์บริการฯ คืองานหนึ่งที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการถ่ายโอนภารกิจให้กับ อ.บ.ต. แล้ว จึงถือว่า อ.บ.ต. เป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนศูนย์บริการฯ ได้ ซึ่งสิ่งที่เป็นบทบาทสำคัญของ อ.บ.ต ได้แก่-          มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจ-          ให้การสนับสนุน และอำนวยความสะดวกแก่ศูนย์บริการฯ เช่น อาคารสถานที่  โต๊ะ เก้าอี้ ชุดนิทรรศการ และอื่นๆ ที่จำเป็น-          สนับสนุนงบประมาณโครงการจากแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล เพื่อเป็นกลไกในการทำงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ ให้บรรลุผล4.    ที่ตั้งศูนย์บริการฯ  ซึ่งแบ่งตามการใช้ประโยชน์ ได้ 2 ลักษณะ คือ-          อาคารที่ตั้งของศูนย์บริการฯ  ซึ่งเป็นสถานที่ให้บริการแก่เกษตรกร โดยมีข้อมูลที่จำเป็น เอกสารการเกษตร ตลอดจนการมาให้บริการแก่เกษตรกร ณ ที่ตั้ง จึงต้องมีความพร้อมและเหมาะสมต่อการให้บริการแก่เกษตรกร -          จุดสาธิตการเกษตร  มีการดำเนินงานโดยวิทยากรเกษตรที่มีความรู้ ความสามารถ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแก่เกษตรกร 5.    กิจกรรมสนับสนุน  ได้แก่-          การประชุมคณะกรรมการศูนย์บริการฯ ควรมีการประชุมสม่ำเสมอ โดยกำหนดวันประชุมที่แน่นอน-          ค่าตอบแทนของคณะกรรมการศูนย์บริการฯ โดยมีการบริหารกองทุนเพื่อสนับสนุนเป็นค่าตอบแทนแก่คณะกรรมการศูนย์ฯ-          แผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล  ควรเป็นแผนที่มาจากเวทีประชาคม ได้มาซึ่งแผนงาน/โครงการที่ สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้  โดยคณะกรรมการศูนย์บริการฯ จัดลำดับความสำคัญของโครงการ เพื่อนำเสนอต่อ อ.บ.ต. พิจารณา ตลอดจนการสร้างความเข้าใจกับสภา อ.บ.ต. เพื่ออนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการตามแผนฯทั้งนี้ทั้งนั้น ในการดำเนินงานศูนย์บริการฯ ของแต่ละพื้นที่ ก็อาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ แต่ซึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำอย่างไรให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาการเกษตร ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร
หมายเลขบันทึก: 164973เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท