สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

เมื่อไหร่รัฐกับNGOจึงจะร่วมงานกันเพื่อประชาชนได้


ในรัฐบาลที่ผ่านๆมาหนักสุดในยุค ทักษิณ คนที่ทำงานNGO (Non Goverment Organization)องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ โดนวิพากษ์ วิจารณ์ โดนกล่าวร้ายป้ายสี จนดูเหมือนว่า คนที่ทำงานNGOเป็นผู้ร้าย ไม่หวังดีกับประเทศชาติ และประชาชน และดูเหมือนภาครัฐจะรังเกียจเป็นที่สุด เหมือนกับที่หลายคนพูดว่าNGO สร้างความแตกแยกวุ่นวาย

              ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ตรงกับการทำงานNGOมาไม่ตำกว่า 15 ปี อยู่และปฏิบัติงานมาตั้งแต่ ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาชุมชนแออัดเมือง,กรุงเทพ ผู้ประสานงานจังหวัดโครงการการศึกษาและพัฒนาชาวเขา เชียงราย ผู้ปฏิบัติงานสนามโครงการศึกษาวิจัยและประเมินผลโครงประสานความร่วมมือพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหมู่บ้านโครงการพัฒนาหมู่บ้านชายแดน สุรินทร์ เจ้าที่นิเทศก์งานโครงการ องค์การนานาชาติแพลน ขอนแก่น และนักวิชาการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก ย่อม องค์การแคร์นานาชาติประเทศ องค์การแคร์นานาชาติภาคอีสาน อุบล ยโสธร ศรีษะเกศ งานNGOเงินเดือนมาก ท้าทาย ความสามารถและการใช้ภาษา อย่างเราทำงานชาวเขาเราต้องใช้ภาษาชาวเขาได้เช่นภาษาอาข่า(อีก้อ)   ลาหู่(มูเซอ) และทำงานที่สุรินทร์ต้องใช้ภาษาเขมรได้ เพราะพี่น้องในท้องที่ไม่ใช้ภาษาไทย การจัดชั้นเรียนแลกเปลี่ยนภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตจึงมีสูงมาก คนทำงาน NGOส่วนใหญ่ต้องฝังตัวอยู่ในหมู่บ้าน ต้องวิเคราะห์พื้นที่ก่อนทำงาน 6 เดือน คนทำงานในระดับหมู่บ้านจึงมองปัญหาชุมชนออกชัดลึกกว่าชาวบ้านทั่วไปเสียอีก คนทำงานNGOถูกสั่งสอนมาให้รัก ศรัทธา การตัดสินใจของชาวบ้านและบ่อยครั้งที่การตัดสินใจของชาวบ้านน่าสนใจกว่าความคิดคนทำงานมากมาย เราถูกปลูกฝังให้รักชาวบ้านและถาโถมแรงกาย แรงใจช่วยเหลือเกื้อกูลชาวบ้านบนการตัดสินใจที่ไม่ใช่มาจากเรา ผมไปทำงานที่สุรินท์เจ็บปวดที่สุดตอนที่ชาวบ้านถูกตกข้าวเขียว ด้วยการแลกเปลี่ยนจากพ่อค้านายทุนนอกหมู่บ้านที่เอาเปรียบเป็นที่สุด ก่อนที่เราจะทำงานแก้ปัญหาด้วยโครงการธนาคารข้าว และโครงการพยุงราคาข้าว ที่นี่เรากระตุ้นใช้เยาวชนหันมาทำธุรกิจทอผ้าขิตย้อมสีธรรมชาติหารายได้เข้ากลุ่ม(ซึ่งพี่น้องชาวเขมรทำผ้าขอขิตไม่ได้ จนทำได้ ทำเป็น ทอผ้าขาวม้าและเพาะเห็ดทุกชนิดไว้กินเหลือขาย กิจกรรมจากความต้องการเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงร้านค้าสหกรณ์ที่ล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จ จนชาวบ้านมีเงินกองทุนพัฒนาหมู่บ้านในหลายๆเรื่อง งานที่ผมทำข้าราชการได้ดิบได้ดีไปตามๆกันส่วนใหญ่มาเด็ดดอกไม้เอางานของเราไปเป็นของตัวเอง ได้ขั้นได้ซีเป็นทิวแถว ในขณะที่คนทำงานNGOสุขใจที่ชาวบ้านกล้าคิดกล้าทำกล้าตัดสินใจ และกล้าดำเนินกิจกรรมเอง มากกว่าถูกเจ้าหน้าที่รัฐจูงจมูก ข้าพเจ้ามารับราชการตั้งแต่ปี 2535 เห็นสัจจธรรมข้อนี้ชัดเจน และยิ่งในยุคปัจจุบันที่อำนาจรัฐรังแกชาวบ้าน ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายสิ่งแวดล้อม แย่งชิงทรัพยากรจากชาวบ้าน ไม่เข้าใจเรื่องสิทธิชุมชน และ อำนาจรัฐจากผู้ปกครองรัฐที่ฉ้อฉลบ่อยครั้งร่วมกับนายทุนผลประโยชน์ บรรษัทลงทุนข้ามชาติแย่งยื้อที่ดินชาวบ้าน เป็นเรื่องที่เราท่านทราบอยู่หากสังคมยังเป็นเช่นนี้ คนทำงานรัฐกับNGO ไม่มีทางร่วมงานกันได้ ระหว่างผลประโยชน์ที่เป็นขั้นเป็นยศกับเงิน กับการมีส่วนร่วมของฃาวบ้านที่คนทำงานNGOยึดถือ ความแตกต่างนี้แหละที่รัฐมักทำมาสร้างให้ผู้คนเข้าใจคนทำงานNGO แบบผิดๆ เราหวังว่า 1.เลิกติดยึดผลประโยชน์และหันมาสร้างประโยชน์สุขให้ประชาชนจะดีกว่า 2. เลิกรังแกชาวบ้านและแย่งชิงทรัพยากรจากชุมชน 3.รัฐต้องปฏิบัติตามกฏหมายรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด 4.ในประเทศต่างๆประชาชนให้การยอมรับคนทำงานNGO ดังนั้นรัฐไทยต้องให้ความสำคัญและสร้างให้ประชาชนเห็นว่าNGOทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง 5.คนทำงานNGO มีบทบาทสร้างสรรสังคมมากมาย อาทิ มูลนิธิปวีณา หงษ์สกุล มูลนิธิเด็ก มูลนิธิคุ้มครองสิทธิเด็ก ฯลฯอีกมากมายเป็นแบบอย่างให้สังคม หากไม่มีคนและองค์กรNGO บ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไร

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ngo ไทย
หมายเลขบันทึก: 164898เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท