สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

พ.ร.บ คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ 2535 จริงจังแค่ไหน


สิทธิที่ประชาชนคนรังเกียจและไม่พิศวาสกับการสูบบุหรี่ ควรจะได้รับสิทธิแห่งการคุ้มครองเรื่องนี้มานานแล้ว เพราะ พ.ร.บ.ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ของผู้ที่เกี่ยวข้อง เรื่องนี้เพิ่งถูกหยิบยกมาดำเนินการประกาศจริงจังเมื่อ 12 กุมภาพันธ์2551นี้เอง มีการห้ามสูบบุหรี่ในห้องอาหาร ห้องแอร์ สถานบันเทิงที่มีแอร์ ร้านอาหารทุกชนิด ตามคลับ บาร์ โรงภาพยนต์ หรือแหล่งมั่วสุม ที่อโคจรซึ่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ว่ากันว่าจะมีการดำเนินการอย่างจริงจังด้วยการปรับ ผู้สูบไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทและผู้ประกอบการตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป กรรมของสิงห์อมควันเป็นแน่แท้
                ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้แล้วคงจะมีความสุขกันถ้วนหน้า เมื่อมีการบังคับใช้ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่จากผู้สูบ ที่ห้ามไปปล่อยครัวพิษในสถานที่เริงรมณ์ โรงภาพยนต์ ร้านอาหาร รวมทั้งร้านที่ติดเครื่องปรับอากาศ(แอร์) ในรถประจำทางปรับอากาศ ฯลฯ ถือเป็นความก้าวหน้าขึ้นมาอีกระดับของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย น่าห่วงใยในขั้นตอนการดำเนินงานในทางปฏิบัติ ซึ่งจะเริ่มลงโทษอย่างจริงจังในวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 ช่วงนี้ถึง 30 พค.2551 จะเป็นการตรวจตราตรวจสอบ ว่ากล่าวตักเตือน หลังจากวันที่ 30 พค ซึ่งเป็นวันงดสูบบุหรี่โลกแล้ว จะจัดการขั้นเด็ดขาด จะเด็ดขาดขนาดไหนก็คงต้องติดตามตรวจสอบกัน จากประสบการณ์พบว่าในโรงภาพยนต์ที่จังหวัดขอนแก่นยังคงมีการลักลอบสูกบุหรี่อยู่ด้านหลังหรือพยายามพ่นควันลบุหรี่ใส่ถุงก๊อบแก็ป ก็ไม่เช่นมีใครว่ากดล่าวตักเตือน เด็กลูกจ้างโรงภาพยนต์นั่นแหละตัวดี สูปในห้องฉายและปล่อยควันออกมา สังเกตุเสื้อที่ใส่ออกมาจะได้กลิ่นควันบุหรี่ออกมาด้วย แม้ในร้านอาหารยิ่งหนัก สูกกันชนิดกินข้าวไม่ลงก็แล้วกัน ปัญหาที่น่าจะเกิดคือ การหาผู้จัดการลงโทษ ขั้นตอน วิธีการจะเป็นอย่างไร เพราะประเทศไทยเราไม่ได้พัฒนาคนจากจิตสำนึกแต่เราพัฒนาคนด้วยการลงโทษ ไม่ต่างกับจับเด็กเข้าดัดสันดานแต่เด็กจะจำหรือไม่ก็ไม่มีมาตราการณ์ที่สูงกว่านั้น ที่จะวัดได้ว่าเขาจะเข็ดหราบและไม่กลับมากระทำอีก นี่คงไม่ใช่กระทรวงสาธารณสุขต้องตั้งเทศกิจสาธารณสุขจัดการกับการฝ่าฝืนเรื่องนี้กระมัง เรียกร้องให้พัฒนากันที่สำนึกสาธารณะ ที่เห็นความเดือดร้อนของผู้ไม่สูบให้มากและผู้ที่สูบก็ต้องพยายามรนอบคอบกับสถานที่ต่างๆที่มีผลกับการส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้อื่น ลูกหลาน คนในครอบครัว และพี่น้องร่วมสังคม อย่าให้ต้องเสียใจเหมือนกับโฆษณาอยู่ตัวหนึ่งที่ผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ ถามผู้ชายที่สูบบุหรี่ว่า" แล้วคุณมาทำร้ายฉันทำไม"ซึ่งในชีวิตจริงแล้วไม่มีใครที่จะกล้าพูดเพื่อทำลายความสัมพันธ์กับผู้คนที่เราไม่รู้จักแบบนี้แน่ คงจะเห็นการเดินหนีไปให้ไกลมากกว่า นี่ก็อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการพัฒนาที่จิตสำนึกมากว่าพัฒนาที่ออกกฎหมายบังคับเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ สำนักรับผิดชอบเป็นเรื่องใหญ่ต้องช่วยกัน 
หมายเลขบันทึก: 164864เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท