สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

มะยัต (ศพ)มุสลิม จัดการกันอย่างไร


ในอิสลามการจัดการศพ(มะยัต)เป็นเรื่องที่ต้องำดเนินการอย่างเร่งด่วน ห้ามมิให้เหนี่ยวยั้ง เก็บไว้อย่างไรเหตุผล จนส่งผลให้มะยัตมีกลิ่น และการดำเนินการจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ศาสนาอิสลิมบัญญัติไว้ ห้ามจัดงานรื่นเริง ห้ามไว้ทุกขื ไม่เหมาะสมที่จะแต่งดำและโครกเศร้าเสียใจเกินเหตุ ทั้งนี้เพราะทุกร่าง ทุกสภาพต้องกลับคืนสุ่พระผู้อภิบาล เอกองคือัลลออ(ซ.บ)ทุกร่างและรอการสอบสวนลงโทษทั้งจากใน กุโบร์(สุสาน)และการฟื้นคืนชีพในวันแห่งการพิพากษาตัดสิน(วักิยามัต) การจัดการศพมุสลิมจึงเป็นเรื่องที่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยิ่งเป็นมะยัตที่ตายโดยวิธีการอื่นเช่น ฆาตกรรม การฃันสูตรทำได่หรือไม่อย่างไร
              พี่น้องต่างศาสนิกเข้าใจและสอบถามเรื่องการจัดการศพมุสลิม(มะยัต)กันมากว่า ทำไมต้องรีบดำเนินการเก้บไว้สัก 3-5วันไม่ได้หรืออย่างไร ทำไมต้องฝังศพด้วยการยืน หรือทำไมไม่เผา มีคำถามมากมาย ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้ ในแต่ละประเทศหากเป็นการตายโดยธรรมชาติไม่ใช่ปัญหาแพทย์สามารถระบุเหตุผลท่เกิดขึ้นได้และนำร่างศพ(มะยัต)ไปดำเนินการได้ทันที หากแต่การตายเป็นการตายผิดธรรมชาติอย่างเช่นที่เกิดในภาคใต้กับเยาวชน กับกรณีตากใบ หรือที่กรือเซะ อื่นๆที่ต้องใช้วิธีการชันสูตรมะยัติ ในแต่ละประเทศดำเนินการแตกต่างกัน ในอิหร่าน ประเทศที่ปกครองโดยใช้พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานปกครองเป็นรัฐธรรมนูญสูงสุด ใช้ระบบการชันสูตรมะยัตแบบระบบแพทย์(Examiner System) โดยให้สถาบันนิติเวชเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ มีศูนย์นิติเวชดำเนินการทั้งประเทศกรณีมะยัตที่ตายผิดธรรมชาติ และการชันสูตรของอิหร่านจะกระทำก็ต่อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัย ซึ่งผู้ที่ได้รับอนุญาติต้องเป็นแพทย์ที่ได้รับอนูญาตจากกระทรวงสาธารณสุข  แพทย์จะทำรายงานให้ตำรวจ และในบางกรณีศาลอาจสั่งให้สถาบันนิติเวชหรือศูนย์ชันสูตรศพ(มะยัต)เพื่อค้นหาการตายและพฤติการณ์แห่งการตาย ส่วนในประเทศอิยิปต์มีระบบการชันสูตรแบบโคโรเนอร์(Coroner ) คือพนักงานอัยการ จะทำหน้าที่สืบสวนการตายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดทางอาญา โคโรเนอร์สามารถสั่งให่สถาบันนิติเวชของรัฐบาลทำการชันสูตร โดยมีแพทย์ของสถาบันมีส่วนร่วมทั้งหมด ส่วนในประเทศไทย 1.เพื่อมิให้ขัดต่อหลักการความเชื่อศาสนาอิสลาม กาสรชัยสูตรพลิกศพ(มะยัต)จะเกิดขึ้นได้เมื่อไม่มีวิธีการอื่นที่จะค้นหาความจริงที่เกิดขึ้รเท่านั้น 2.แพทย์ต้องอธิบายให้ญาติของผู้ต่ายทราบถึงรายละเอียดและความจำเป็นในการชันสูตรพลิกศพ 3.การชันสูตรพลิกศพ จะต้องไม่ทำในลักษณะที่เป็นการประจานศพ หรือไม่ให้เกียรติศพเด็ดขาด 4. อำนาจหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ การผ่าพิสูจน์อี่นใด พนักงานสอบสวนจะต้องมีส่วนร่วมและอยู่ในทุกขั้นตอน 5. ควรมีหน่วยงานอิสระ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบงานทางด้านการชันสูตรศพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญา เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักท่างด้านนิติเวชศาสตร์ และที่สำคัญเป็นกลไกในการตรวจสอบการทำงานของพนักงานสอบสวน 6.สำนักจุฬา คณะกรรมการกลางอิสลาม คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการมัสยิดจะต้องเปิดเผยข้อวินิจฉัยให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ที่นับถืออิสลามและพี่น้องต่างศาสนิกในเหตุผลความจำเป็นที่เกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพที่ถูกต้อง ตามหลักการศานา (แนวทางปฏิบัติที่ยอมรับได้ของประเทศไทย)อาจจัดทำเป็นคู่มือการชันยสตร การผ่าศพ(มะยัต)เพื่อให้แต่ละฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
คำสำคัญ (Tags): #ศพ(มะยัต)มุสลิม
หมายเลขบันทึก: 164378เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท