Structure of Mind and Structure of Memory


Structure of Mind and Structure of Memory

โครงสร้างของจิต (Structure of Mind) และ โครงสร้างของความจำ(Structure of Memory) ถ้าได้นำมาเปรียบเทียบกัน ก็จะได้ดังรูปข้างบนนี้

รูปใหญ่คือ โครงสร้างของจิต (ที่เห็นบางส่วนทางซ้ายมือของผู้อ่าน) ส่วนรูปทางขวามือคือโครงสร้างของความจำ  จะเห็นว่า  โครงสร้างของความจำ"อยู่ใน"โครงสร้างของจิต

ขอให้สังเกตว่า  "การจำการรู้สึกสัมผัส" หรือ Sensory Memory - SM และ "การจำระยะสั้น" หรือ Short-Term Memory-STM นั้น อยู่ในส่วน "การรู้สึกตัว"  จึงเห็นว่า  ไม่ว่าเราจะเห็นอะไร  ได้ยินอะไร  คิดอะไร เราจะ "รู้สึกตัว"เสมอ

ถัดจากส่วน Consciousness ลงไป ที่แทนด้วยสีดำมืดนั้น ก็เป็นส่วนที่เรา "ไม่รู้สึกตัว" เช่น  การเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้าหรือกระแสประสาท  กิจกรรมของนิวโรน  และตัวนิวโรน ในส่วนของโครงสร้างของจิตนั้น เรา"ไม่เคยรู้สึกตัวเลย" ว่ามันกำลังเกิดขึ้นในหัวของเรา  ซึ่งส่วนนี้ก็คือสิ่งที่เป็น "ความจำระยะยาว" (LTM) ของโครงสร้างของความจำ

ข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือ  ฝ่ายโครงสร้างของจิตนั้น มี "วัตถุ" คือ นิวโรน  และ "กระบวนการ" คือ กิจกรรมของกลุ่มนิวโรน  กระแสไฟฟ้า  สนามแม่เหล็กไฟฟ้า  ตลอดจน "การรู้สึกตัว" ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเหมือนกัน  ในขณะที่ฝ่ายโครงสร้างของความจำนั้น "ไม่มีวัตถุ" ร่วมอยู่"อย่างชัดเจน"เลย?  มีแต่ประเภท "กระบวนการ" ทั้งสิ้น ทั้ง SM, STM, และ LTM จึงเป็น Psychology โดยสมบูรณ  ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าได้ใส่ "Neuropsychology" ก็จะสมบูรณกว่า  แต่ถึงไม่ใส่ก็เป็น Cognitive Psychology อย่างไม่ต้องมีข้อกังขา

แท้จริงแล้ว  จิตวิทยาถ้าเทียบกับกลางวัน  ก็ถือว่า "เพิ่งเริ่มสาย" เท่านั้น  กว่าจะถึงเที่ยง  หรือบ่าย  ก็ยังอีกนาน  นั่นคือ  ยังมีงานให้เราทำ - คิดค้นคว้า - อีกเยอะ  สิ่งที่พบมาแล้วก็อาจจะต้องแปลความ  ตีความกันใหม่ก็ได้  เราจึงควรรีบสร้างคนกลุ่มนี้ขึ้นมาให้มากๆหน่อย ผมดีใจมากที่ จุฬาลงกรณของเรามี "คณะวิชาจิตวิทยา" แล้ว ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 164366เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ผมก็ดีใจ (และปนอิจฉา) ที่จุฬาลงกรณ์ มีคณะจิตวิทยาแล้วเหมือนกันครับ เพราะของผมยังเป็น คณะศิลปศาสตร์ อยู่เลย

(๑)  อีกหน่อยก็คงมี

(๒)  มันคล้ายๆกับพจนานุกรม  ถ้ามี"คนคิดสิ่งใหม่" หรือ "พบของใหม่" แล้ว "ตั้งชื่อ" และ "บันทึก"ไว้ในพจนานุกรม พจนานุกรมจะ "หนาขึ้นๆๆและหนาขึ้น" จน "ต้องแยกตัว" ออกไปตั้งชื่อเป็น "พจนานุกรมเกี่ยวกับ "วิทยาศาสตร์"  ".... เกี่ยวกับ "สถิติ"  ".... เกี่ยวกับจิตรกรรม"  ฯลฯ

การ"แตกตัว"ของ "สาขาวิชา" ออกจากหน่วยงานเดิม ก็เช่นเดียวกัน ถ้า"สาขาวิชานั้น" ค้นคว้าไม่หยุด และพบของใหม่,  สร้างสิ่งใหม่, ค้นพบฎบรรยาย(Descriptive Laws),   สร้างกฎแบบมนุษย์สร้าง(Prescriptive Laws), สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์(Empircal Theories), สร้างทฤษฎีแบบแผน(Formal Theories), ฯลฯ ขึ้นมาทุกเดือน  ทุกปี  ทุกแผนกวิชา  ทุกมหาวิทยาลัย  ทั่วโลก แล้วละก้อ  แต่ละสาขาวิชาก็ "จะรวมอยู่ในภาควิชาเดียว" กัน  ก็คงจะใหญ่เกินไป  จำเป็นต้องแยกตัวไปตั้งเป็นคณะใหม่ มหาวิทยาลัยใหม่ ต่อไป  เหตุการณ์ก็จะเป็นดังนี้ 

ฉะนั้น คณะใหม่ที่จะเกิดขึ้นได้  อย่างเช่น ที่จุฬาที่ว่านั้น  ก็อย่างนี้แหละ

แต่บางแห่งก็ใช้วิธีให้เหตุผล เช่น

                 เพราะว่าที่นั่น/ประเทศนั้นมี

                 เพราะฉะนั้น  เราจะมีบ้าง

แบบนี้เรียกว่า "พฤติกรรมผู้ตาม"  เป็นพวก "ตามเพื่อน" !! ก็มี

ก็ต้องรอกันละนะ คุณ kafaak

ขออนุญาติเรียนถาม

จากภาพโครงสร้างของจิตไม่ทราบว่า จิตใต้สำนึกอยู่ตรงไหนครับ? และจากแผนภูมินี้ การเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า กระแส

ไฟฟ้าหรือกระแสประสาท ซึ่งเป็น กายภาพ(physical) ไม่น่าจะอยู่ในมิติ(Layer)เดียวกันกับจิตซึ่งเป็น

นามธรรม(abstract)

สวัสดี คุณวิโรจน์

เป็นคำถามที่มาจากความคิดที่ลึกซึ้งครับ

(๑) จิตใต้สำนึกเป็นภาษาของ ฟรอยด์ นักจิตวิทยานามอุโฆษในสมัยอดีตอีกท่านหนึ่ง เขา "เชื่อ" ว่าจิตมีระดับตื้นกับลึก บางทีก็ว่าแนวคิดแบบสองจิต ถ้าเทียบกับ ปัญญานิยม ก็จะเป็น ความจำระยะยาว ส่วนที่ยาวนานมากๆ นั่นแหละครับ อันที่จริง แนวคิดของฟรอยด์ใด้กระตุ้นแนวคิดเชิงปัญญานิยมไว้ก็มากครับ

(๒) กระแสไฟฟ้า สนามแม่เหล็กไฟฟฟ้า เราสังเกตโดยตรงด้วยอวัยวะใดๆไม่ได้เลย แต่เราวัดได้ด้วยเครื่องบางชนิด และพยากรณ์ผลของมันได้ เราจึงค้นคว้าด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ และจัดเป็นประเภทวิทยาศาสตร์ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากกระบวนการของนิวโรนนี้ไม่ใช่ จิต นะครับ แต่มันทำให้เกิดจิตขึ้นมา จิตที่ว่านี้ได้แก่ การรู้สึกตัว การเจ็บปวด รู้สึกรัก รู้สึกโกรธ รู้สึกคิด ฯลฯ มันเป็นนามธรรมโดยสมบูรณ์ เราเท่านั้นที่รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นในตัวเรา คนอื่นไม่รู้เลย จึงเป็นอัตนัย เพียงแต่ว่า ในคนอื่นเขาก็รู้สึกของเเหมือนกัน และรายงานว่าเหมือนกับของเรา ส่วนนั้นจึง "ร่วมกัน" คือเป็น intersect กัน ดังนั้น เราจึง "คิด" ว่ามี และเรียกมันว่า จิต เจ้าสิ่งนี้เราไม่มีทางสังเกตโดยตรงเห็นมัยเลย แต่เราก็สามารถวัดเอาจากสิ่งอื่นที่สังเกตได้ และเป็นผลของมัน เช่นพฤติกรรมต่างๆที่เราสังเกตได้ แล้วเราก็สันนิษฐานเข้าไปหาจัต และสามารถพยากรณ์มันได้ด้วย วิธีการคล้ายกับที่เราศึกษากระบวนการของกระแสไฟฟ้า ในเมื่อเราศึกษาด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ เราก็จัดการศึกษาจิตเข้าเป็นฝ่ายวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม แต่แทนที่จะเรียกว่าวิทยาศาสตร์ทางจิต เรากลับเรียกว่า จิตวิทยาปัญญา แต่ก็ยังถือเป็นจิตวิทยาอยู่นั่นเอง เพราะมันติดปากมาแต่โบราณ กุญแจสำคัญของวิทยาศาสตร์คือ วัดได้ และ พยากรณ์ได้ ครับ

อ้อ ที่ว่า จิตเกิดจากสนามแม่เหล็กของกระแสประสาทนั้น imply ได้สองอย่างคือ มัน Emergent หรือ ถูกโปรแกรมไว้แล้วในรหัสพันธุกรรม สมมุติฐานนี้ต้องทิ้งไว้ให้ฝ่ายพันธุศาสตร์ เขาค้นหาต่อไปครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท