ธุรกิจร้านอาหารสดและอาหารพร้อมรับประทาน


CP Fresh Mart
วันนี้ เราได้เห็น CP ขยายธุรกิจร้านอาหารสดและอาหารพร้อมรับประทาน ที่กำลังขยายสาขาอยู่ใกล้ ๆ       7 eleven คือ CP Fresh Mart เรามาคิดต่อไปว่าทำไม CP ถึงขยายร้าน ประเภทนี้ออกมา  1.       พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน จากเดิมเคยใช้เตาปรุงอาหารหรืออุ่นอาหาร เปลี่ยนมาเป็นการยอมรับในการใช้เตาไมโครเวฟมากขึ้น (ลองไปหารายละเอียดยอดขายของเตาไมโครเวฟปี 2549 -2550 เพิ่มเติม) รู้ได้อย่างไร รู้ได้เพราะ CP ใช้ 7 eleven  เป็นที่ทดสอบตลาด เท่าที่ผมได้สังเกต ในเวลา 1-2  ปีที่ผ่านมา ในร้าน  7 eleven  เริ่มมีคนซื้ออาหารสำเร็จรูปที่อุ่นในเตาไมโครเวฟมารับประทานโดยมีบริการอุ่นให้ที่ร้าน ซึ่งส่วนมากจะเป็นข้าวราดแกง ต่าง ๆ และไส้กรอก ตลอดเวลาที่ผมได้เข้าไปซื้อของที่ร้าน ซึ่งในร้าน CP Fresh Mart จะประกอบไปด้วยอาหารสดและอาหารพร้อมรับประทาน เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู กุ้งสดแช่แข็ง ไข่ไก่ สินค้าแปรรูปจากเนื้อไก่ ติ่มซำ เกี๊ยวกุ้ง กุ้งต้มสุก ไส้กรอก-แฮม นมสด ไอศกรีม ข้าวสาร ฯลฯ 2.       ความได้เปรียบของธุรกิจ CP ที่ทำอุตสาหกรรมอาหาร ตั้งแต่ การผลิตอาหารสัตว์  การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปอาหารและจัดจำหน่าย ตลอดทุกกระบวนการที่อยู่ใน Chain ทำให้ซีพี รุกเข้าใกล้ผู้บริโภคคนสุดท้ายมากขึ้น เพื่อครอบครองตลาดในส่วนที่ยังมีคนทำน้อย นั้นคือ CP Fresh Mart ซึ่งเน้นตลาดอาหารแช่เย็นและอาหารที่ปรุงรสและพร้อมรับประทานเมื่อนำไปอุ่นในไมโครเวฟได้ทันที สามารถตอบสนองความต้องการสำหรับลูกค้าที่ต้องการอาหารด้วยความรวดเร็ว 3.       สถานการณ์น้ำมันแพง ทำให้ CP ก็รุกด้วยบริการจัดส่งอาหารถึงที่ ซึ่งร้านแต่ละแห่งจะอยู่ท่ามกลางกลุ่มลูกค้าในเขตเมืองเป็นหลัก สอดคล้องกับพฤติกรรมคนเมือง จากที่กล่าวมาข้างต้น (อาจมีมากกว่านั้น)  ทำให้เราเห็นว่าถ้าหากเรามีการจัดการที่ดี มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ มีการส่งเสริมระหว่างธุรกิจซึ่งกันและกัน ในกลุ่มธุรกิจ ทำให้ธุรกิจใหม่มีความเสี่ยงที่น้อยลงในการประกอบธุรกิจ  หากเรามองถึงเรื่อง โลจิสติกส์ เราจะมองเห็นความสัมพันธ์ ตั้งแต่ ต้นน้ำ ไปยังปลายน้ำ ดังนี้   1.การจัดหาและเตรียมวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูป    ในที่นี้วัตถุดิบมีเนื้อสัตว์เป็นหลัก  จะเคลื่อนย้ายจากสถานที่เลี้ยง  เข้าสู่โรงงานเพื่อผ่านกระบวนการผลิต แปรรูปให้เป็นอาหารประเภทต่าง ๆ โดยผลิตตามการพยากรณ์ความต้องของลูกค้า 2. เคลื่ยนย้ายเพื่อจัดเก็บและกระจายสินค้า  เมื่อสินค้าผลิตเสร็จ จะถึงขั้นตอนการนำสินค้าจัดเก็บหรือกระจายไปยังร้านสาขา ในการจัดเก็บก็ต้องมีวิธีการเก็บที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นอาหารแช่เย็น การจัดเก็บต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมรวมถึงการควบคุมอุณหภูมิระหว่างขนส่งเพื่อรักษาคุณภาพของอาหาร และสุดท้ายอาหารไปอยู่ที่ร้านเก็บไว้ในตู้เย็นพร้อมจำหน่าย  3.  บริการจัดส่งอาหารถึงที่เมื่อลูกค้าเข้ามาซื้ออาหารที่ร้านหรือสั่งซื้ออาหารผ่านทางโทรศัพท์ อาหารยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ในส่วนที่ลูกค้าสั่งซื้ออาหารทางโทรศัพท์ทางร้านมีบริการจัดส่งอาหารถึงที่  เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า  4.       การจัดเก็บข้อมูลการดำเนินการธุรกิจนั้นข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ในส่วนของโลจิสติกส์ การจัดทำข้อมูลให้เป็นเวลาจริง (Real Time) เป็นสิ่งจำเป็นทำให้ธุรกิจสามารถได้ข้อมูลทันทีในเวลาที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลสินค้า และข้อมูลลูกค้า ฯลฯ ในการวางแผนธุรกิจ ข้อมูลยังสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจด้วย  ยิ่งข้อมูลของลูกค้า จะสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าตามสินค้าที่สั่งซื้อเป็นประจำ เวลาที่ซื้อเป็นประจำ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดทำโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่ม จัดหาสินค้าให้กับกลุ่มนั้น ๆ ถ้าเรามีการจัดการที่ดีและเป็นระบบแล้ว การดำเนินธุรกิจของเราก็จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ในส่วนของพนักงานก็เป็นทรัพยากรที่สำคัญ ยิ่งพนักงานที่ให้บริการลูกค้าหน้าร้าน พนักงานให้บริการทางโทรศัพท์และพนักงานบริการจัดส่งอาหารถึงที่ ต้องมีการอบรมในการให้บริการอย่างสุภาพ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดี ให้ลูกค้าเป็นลูกค้าของธุรกิจตลอดไป ปล. ประเทศไทยเราเป็นสยามเมืองยิ้ม แต่ปัจจุบันคนไทยยิ้มน้อยลง หากธุรกิจทำให้พนักงานและลูกค้ายิ้มได้อย่างมีความสุข ผมเชื่อว่าการดำเนินของธุรกิจประสบความสำเร็จแน่นอน  อ้างอิงhttp://www.bangkokbiznews.com/2007/11/09/WW14_1401_news.php?newsid=200642


ความเห็น (2)
ทำแล้วดี แล้วคนไทยก็เลือกบริโภคเช่นนี้ด้วย

เซเว่นฯปลื้ม"อิ่มสะดวก" ยอดพุ่ง5ล้านกล่อง/เดือน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2552 07:22 น.

เซ เว่นฯ ปลื้มจุดยืนใหม่ "ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย" ดันยอดขายพุ่งเกือบ 5 ล้านกล่องต่อเดือน ไตรมาส 3 ที่ผ่านมามีรายได้รวมทะลุ 2.8 หมื่นล้านบาท คาดปีหน้าดันการผลิตเพิ่มอีก 50%

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร 7-11 ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย กล่าวว่า การปรับจุดยืนจากร้านสะดวกซื้อเป็น “ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย” ด้วยการเพิ่มสัดส่วนสินค้าประเภทอาหาร อาทิ ข้าวกล่องพร้อมรับประทาน, เบเกอรี่, นมสด และเครื่องดื่ม เป็น 75% ของสินค้าภายในร้าน จากเดิมมีสัดส่วน 70% และปรับลดสัดส่วนสินค้าประเภทของใช้ทั่วไปลงเหลือ 25% ของสินค้าภายในร้าน จากเดิมมีสัดส่วน 30% ส่งผลให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ โดยผลดำเนินงานในไตรมาส 3 ของปีนี้ มีรายได้ทั้งสิ้น 28,769 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมีผลกำไรสุทธิ 1,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะอาหารกล่องมียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 5 ล้านกล่อง แบ่งเป็นอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน 4 ล้านกล่อง และอาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน 1 ล้านกล่อง

“เดิมที คนมักจะคิดว่า 7-11 มีแต่ของทานเล่นหรือทานรองท้อง แต่นับจากนี้เราได้เปลี่ยนจุดยืนจากร้านสะดวกซื้อเป็นร้านอิ่มสะดวกซึ่งมี อาหารเสิร์ฟครบทุกมื้อ โดยการปรับจุดยืนใหม่ก็เพื่อนำเสนอสินค้าให้แตกต่างจากร้านโชห่วยทั่วไป” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานวางจำหน่ายในร้าน 7-11 แล้วกว่า 5,000 สาขา ส่วนสินค้าประเภทอาหารแช่เย็นพร้อมรับประทานมีการวางจำหน่ายแล้ว 1,000 สาขา ซึ่งเมนูอาหารเหล่านี้ที่ได้รับความนิยมมากอันดับต้นๆ ได้แก่ ข้าวผัดปู, ข้าวกะเพราหมู, ข้าวกะเพราไก่, ข้าวไข่เจียวกุ้ง, เกี๊ยวกุ้ง, ข้าวหน้าหมูซีอิ๊ว และข้าวไก่เทอริยากิ เป็นต้น

ด้านนายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด (ซีพีแรม) บริษัทในกลุ่มซีพี ออลล์ ผู้ผลิตสินค้าอาหารพร้อมรับประทานป้อนให้กับ 7-11 ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีความสามารถในการผลิตสินค้าโดยรวมอยู่ที่ 2,500 ตันต่อเดือน โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามียอดขายแล้ว 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายผ่านร้าน 7-11 จำนวน 1,620 ล้านบาท และขายผ่านช่องทางอื่นๆ 380 ล้านบาท จึงวางแผนว่าในปี 2553 จะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตอีก 50%

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท