ยางลบ


ได้มาจากเพื่อน ส่งมาทางเว็ป เห็นว่าเป็นข้อคิดที่ดี เลยอยากให้เพื่อนร่วม Blog ได้อ่านบ้าง

ยางลบ        
สมัยเด็กๆ ครูสอนศิลปะท่านหนึ่งสอนฉันเสมอว่า
เวลาเราใช้ดินสอวาดภาพ  เราห้ามใช้ยางลบ
ตอนนั้น ฉันไม่เข้าใจจุดประสงค์ของครูสักเท่าไหร่
รู้เพียงแต่ว่าเวลาฉันวาดภาพแล้วเส้นมันบิดเบี้ยว
ฉันก็อยากแก้ให้มันตรง สวย
แต่ทุกครั้งที่ฉันหยิบยางลบขึ้นมาเพื่อจะลบภาพนั้น
ครูของฉันก็จะเตือนถึงกติกานั้นเสมอ
สุดท้ายฉันจึงเลือกใช้วิธีต่อเติมภาพๆนั้นไปตามจินตนาการ
เช่นถ้าฉันตั้งใจวาดรูปหน้าคน
แต่ฉันเผลอวาดดวงตากลมโตเกินไป
ฉันก็จะใช้วิธีเปลี่ยนตากลมๆ นั้นเป็นแว่นตาแทน
แม้ตอนนั้นฉันจะไม่เข้าใจว่า
ทำไมฉันจึงไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ยางลบ
และแม้ฉันจะไม่เคยคิดวาดรูปหน้าคนใส่แว่นตามาก่อน
แต่ฉันก็ได้รูปหน้าคนตามที่ต้องการ แถมยังภูมิใจว่า
ฉันสามารถวาดภาพๆนั้นด้วยความมั่นใจ
และไม่ต้องใช้ยางลบลบภาพเลยสักครั้ง
เวลาผ่านไป ฉันโตขึ้น ฉันเรียนรู้ว่า
สิ่งที่ครูสอนวันนั้น
แท้จริงแล้วมันปลูกฝังนิสัยหนึ่งให้กับฉัน
นั่นคือการเข้าใจธรรมชาติของความผิดพลาด
ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนทุกคน
และในชีวิตหนึ่งนี้ก็มีหลายครั้งที่ฉันได้พบมันโดยไม่ตั้งใจ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันยอมรับความผิดพลาดเหล่านั้น
และรวบรวมสติเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ก็คือ
การที่ฉันเข้าใจว่า
ธรรมชาติของความผิดพลาด คือการที่มันเกิดขึ้นแล้ว
จะคงอยู่อย่างถาวร
ฉันไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ยางลบ ลบความผิดพลาด
แต่ฉันจำเป็นต้องใช้สมองต่อเติมแก้ไขภาพวาดของฉันให้สมบูรณ์ด้วยตัวเอง
ดังนั้น ถ้าความผิดพลาดมันเกิดขึ้นกับเราแล้ว
การที่เราจะมานั่งร้องห่มร้องไห้
อ้อนวอนขอแหกกฎเพื่อใช้ยางลบกลับไปลบแก้ไขมันนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้
สิ่งเดียวที่จะทำได้ ก็คือ
รู้จักพลิกแพลงแก้ไขสิ่งเหล่านั้นด้วยสติ
และวาดภาพของตัวเองต่อไปด้วยความระแวดระวังมากขึ้น
ทุกคนมีดินสอหนึ่งแท่งเพื่อจะวาดภาพชีวิตของเราให้สวยงาม
แต่เราไม่มียางลบสักก้อนที่จะเอาไปลบสิ่งที่เราทำผิดพลาดมาแล้วได้
ดังนั้นเราต้องตั้งใจ และมีสติทุกครั้งที่ลากเส้น
และถึงแม้ภาพที่เราวาดจะออกมาไม่เหมือนกับภาพที่เราฝันไว้สักเท่าไหร่
แต่มันก็มาจากมือของเรา เราควรจะภูมิใจกับมันได้เสมอ ไม่ต้องกลัวหรอก
แม้จะรู้ดีว่าสักวันหนึ่ง

เราอาจลากเส้นบิดเบี้ยวไปบ้าง
เพราะถึงอย่างไร ฉันเชื่อว่า
ถ้าสมองและหัวใจของเราทำงานอย่างเต็มที่
ภาพชีวิตของเราก็งดงามได้ โดยไม่ต้องใช้ยางลบ
ภาพชีวิตของเราจะเกิดขึ้นได้เพราะจินตนาการ
โดยการคิด แก้ปํญหา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16352เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำงานที่สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ศธ. และกำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่มศว. เคยหารือคุณกฤช เรื่องจำนวนกลุ่มตัวอย่างสำหรับทำเดลฟาย หรือ EDFR ว่าอยู่ที่ 20-27 คน สามารถอ้างจากงานวิจัย/ทฤษฎีของใครได้คะ ขอบคุณ สมใจ กรุณาติดต่อกลับที่ 02-2816370 (121) หรือ 081-9230678 และขอทราบโทรมือถือคุณกฤช ด้วยได้มั้ยคะ แต่วันนี้มือถือลืมไว้ที่บ้านค่ะ

e-mail: [email protected]

  • ข้ามาอ่าน และชอบครับ
  • (เวลาฝึกนักเรียนเขียนรูป หลายครั้งผมมักให้นักเรียนใช้ปากกาวาดครับ....เพื่อสร้างการตัดสินใจ-ไม่ลังเล)
  • ปณิธิ ภูศรีเทศ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท