สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง"ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยคน


ใครจะรู้ว่าการตายของผู้คนที่มัสยิดกรือเซะ(จากการพิสูจน์มะยัต(ศพ)มุสลิม การเสียชีวิตของประชาชนชาวไทยมลายูมุสลิมกรณีตากใบ การสังหารเยาวชน 16 คนที่ อำเภอระบ้าย้อย การอุ้มฆ่าประชาชนอย่างบ้าระห่ำ การวิสามัญที่ประชาชนไม่มีความผิด การข่มขืนผู้หญิงมุสลิม ฯลฯ ได้สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาเลยในสังคมที่ก้าวเข้าสู่ยุคข่าวสารไร้พรมแดนเช่นนี้ แต่เหล่านี้เกิดขึ้นที่ภาคใต้ กับชาวไทยมุสลิม
               การสมัมนาใหญ่จัดขึ้นที่ขอนแก่น เรื่องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสันติวิธีในสังคมพหุวัฒนธรรม ในการสะท้อนถึงทัศนคติและมุมมองที่ต่างกันของสังคมไทยและสร้างองค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เราไม่เคยได้รับการปลูกฝังเรื่องการจัดการคามขัดแย้งด้วยกระบวนการสันติวิธี ดังนั้นเมื่อเกิดอะไรขึ้นเราก็มักจะลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง ในสังคมไทย"กฎหมายบ้านเมืองไม่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะคนคิดใช่คนทำ กฎหมายไม่อาจนำ ยุติธรรมไม่อาจมี จักเป็นเช่นคัมภีร์แห่งปีศาจอำนาจร้าย ประชาชนคือต้นบท ข้อกำหนดแห่งกฎหมาย ประชาชนไม่เคยตาย กฎหมายตายทุกมาตรา" เป็นบทกลอนเปล่าสมัยทีข้าพเจ้าเข้าศึกษานิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 1.พี่ๆเขาเขียนต้อนรับน้องใหม่ มั่นเป็นเช่นนี้จริงๆ ขอยกกรณีการตายของประชาชนในหลายเหตุการณ์ เป็นการตายที่เหตุผลฟังไม่ขึ้นและปัจจุบันความจริงก็ยังไม่ปรากฎว่าเพราะเหตุใด เช่นกรณีตากใบ ทำไม่ต้องทารุณกรรมผู้บริสุทธิ์ด้วยการมัดมือมัดเท้าจับนอนทับซ้อนกันไม่ตำกว่า 7ถึง8ชั้นกันบนรถ ยีเอ็มซี หลายชั้นเช่นนั้น จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 78 (มะยัต)ศพ และต้องพิการ ทุพลภาพอีกเป็น 100 คน การจ่อยิงศรีษะและยิงประชิดผู้ที่อยู่ในมัสยิดกรือเซะแบบไม่มีทางสู้ การสังหารเยาวชนนักฟุตบอล อำเภอสะบ้าย้อย 16 คน ทั้งๆที่เยาวชนเหล่านี้ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ขบวนการอะไรหรือที่กระทำเช่นนี้ บ้านเมืองไทยเจ้าหน้ารัฐใช้อำนาจเยี่ยงนี้กับประชาชนหรือ ชนวนความขัดแย้งความรุนแรงในเรื่องที่หาคำตอบไม่ได้เหล่านี้ใช่ไหมเป็นส่วนหนึ่งที่คืบคลานเข้ามาสู่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แม้คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติจะหมดวาระไปแล้ว แต่ความจริงของเหตุการณ์เหล่านี้ยังไม่มีการชำระประวัติศาสตร์ ไม่ต่างอะไรกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ข้าพเจ้าได้สัมผัสและคนเป็นร้อยเป็นพันคนเรียกร้องให้รัฐบาลทุกรัฐบาลชำระประวัติศาสตร์ รวมถึง ศาตราจารย์  ดร.ธงชัย วินิจกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิส เมดิสัน ที่เรียกร้องเรื่องนี้มาตั้งแต่ไปเรียนปริญญาโทที่นั่น อิสลามเป็นวิถีชีวิต ที่เรียกร้องมนุษย์ไปสูการสร้างบรรยากาศแห่งความรู้จักซึ่งกันและกัน และอิสลามเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่สังคมกัลยาณมิตรที่อยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเมตตา เอื้ออาทร  อุดหนุนเกื้อกูลต่อกัน บนความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม  ขอให้เราเปิดใจที่จะเรียนรู้ในความต่างของกระแสวัฒนธรรม ความเชื่อ และน้อมใจเคารพในสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของเขามากกว่าจะให้เขาเป็นอะไรอย่างที่เราเป็นที่เราต้องการ คนในสังคมไทยไม่ได้รับการปลูกฝังให้อยู่ร่วมกับผู้ที่มีความต่างในหลายๆด้าน สังคมไทยจึงเผชิญกับความไม่เข้าใจ และเมื่อไม่ไปเรียนรู้เพื่อทำความเข้า จึงเกิดความขัดแย้งและเมื่อความขัดแย้งจากความไม่เข้าใจเกิดขึ้นมากขึ้นก็จะกลายไปเป็นความรุนแรงในที่สุด เช่นที่เราเห็นและเป็นอยู่  


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท