เทคนิคการใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการนำเสนอ


1. กำหนดวัตถุประสงค์

 

    ที่สามารถพิสูจน์และวัดผลได้ในสิ่งที่เราได้พูดไปแล้วหรือนำเสนอไปแล้วว่า ผู้ฟังมีปฏิกริยาที่แสดงถึงความเข้าใจหรือไม่ มีทัศนคติเป็นอย่างไร เกิดความชำนาญและเป็นบุคคลที่มีคุณภาพที่ดี เขาปฏิบัติตามที่เราต้องการหรือเปล่า เป็นต้น

 

2. ลักษณะของการนำเสนอ

      การนำเสนอมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ เช่น

                          - การประชาสัมพันธ์- โฆษณา

                          - การเรียน การสอน

                          - การฝึกอบรม

                          - การประชุมสัมมนา

                          - การขาย

                          - การประชุมลูกค้า

                          - การอภิปราย

                          - การรายงานต่อผู้บังคับบัญชา

                          - การรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น

                          - การแถลงข่าวสื่อมวลชน

                          - การบันเทิง

                          - การนิทรรศการ-แสดงสินค้า

3. การเลือกใช้สื่อและอุปกรณ์

    มีโสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่าง ๆ  มากมายที่สามารถมาใช้ในการนำเสนอ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจใช้สื่อหรืออุปกรณ์ใดแล้วควรจะวิเคราะห์เสียก่อนว่าสื่อหรืออุปกรณ์ใดจึงจะเหมาะสอดคล้องกับ  เรื่องที่จะนำเสนอ

                                   - ขนาดและลักษณะของผู้ฟัง

                                   - สถานที่ในการนำเสนอ

                                   - เวลาในการนำเสนอ

                                   - เวลาสำหรับในการผลิตสื่อ

                                   - งบประมาณ

   โสตทันูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอควรจะสอดคล้องและเหมาะสมกับเรื่องราว

                                   - เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ

                                   - ชอล์ก กระดานดำ

                                   - ฟลิปชาร์ต-แผนภูมิ-ของจริง

                                   - เครื่องฉายไมโคร ไมโครฟีล์ม

                                   - เครื่องฉายข้ามศีรษะ

                                   - เครื่องฉายภาพทึบแสง 

                                   - เครื่องฉายภาพยนตร์

                                   - เครื่องฉายโปรเจคเตอร์  ทีวี

                                   -  เครื่องเล่นวีดีโอเทป

                                   -  เครื่องฉายภาพวิชวล

                                   -  เครื่องคอมพิวเตอร์

                                  -  เครื่องเล่น  ดีวีดี  ซีวีดี  เอ็มพี 3  และเอ็มพี โฟร์

4. การวางโครงเรื่องและภาพที่จะนำเสนอ

    การจะเป็นนักพูดที่มีการนำเสนอที่ดีแล้ว ควรจะมีการเตรียมการหรือวางแผนเสียก่อน ดังสุภาษิตจีนบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า " ระยะทางร้อยลี้จะต้องมีก้าวแรกเสมอ " นักโสตทัศนศึกษาที่ดีแล้ว  ควรจะนึกถึงเรื่องและภาพออกมาในเวลาเดียวกันได้ แต่ก่อนจะร่างโครงเรื่องใด ๆ ควรจะมีการวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟังเสียก่อน ซึ่งหลักในการวิเคราะห์มีดังนี้

                                    - ขนาดของกลุ่ม

                                    - อาชีพและการศึกษา

                                    - อายุและเพศ

                                    - ความรู้ของผู้ฟังเกี่ยวกับเรื่องที่เราจะนำเสนอ

                                    - ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่จะนำเสนอ  

                                    - ความเชื่อถือเก่า ๆ

                                    - ความกระทบกระทั่งต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมระหว่างชุมชน ชนชาติ  ศาสนาฯลฯ 

การวางโครงเรื่อง

                                   -  ตั้งหัวข้อเรื่อง

                                   - ร่างโครงเรื่องให้ตรงกับหัวข้อเรื่อง

                                   - คำนำเรื่อง เพื่อชักจูงความสนใจให้ติดตาม

                                   - เนื้อเรื่อง อธิบายเนื้อหาสาระ

                                   - สรุป เพื่อย่อและทบทวนเพื่อหาสาระ

ภาพที่จะใช้ประกอบการนำเสนอ

                                  - เลือกภาพให้ตรงกับเนื้อเรื่อง

                                  - เลือกใช้ภาพที่เหมาะสมกับกาลเวลา

                                  - เลือกใช้ภาพที่ดีมีคุณภาพ

                                  - เรียบเรียงภาพตามขั้นตอนของเนื้อเรื่อง

5. กำหนดขั้นตอนสำคัญในการนำเสนอ

     ในการนำเสนอแต่ละครั้งควรจะจัดขั้นตอนว่าอะไรควรเสนอก่อนหลัง เช่นการแนะนำตัว หรือว่านำเสนอก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าจะมีเทคนิคหรือเคล็ดลับอะไรที่จะทำให้การเสนอนั้น ๆได้รับการสนใจและเกิดความประทับใจจากผู้ฟัง

6. การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพต่อผู้ฟัง

    ก่อยนำเสนอนั้นผู้พูดควรจะต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้ฟังให้มาก มีนักพูดประสบความล้มเหลวมามากแล้ว    ที่ไม่ได้ตำนึงถึงกลุ่มผู้ฟังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการนำอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา เข้ามาประกอบการนำเสนอ ผู้นำเสนอควรจะระวังหรือคำนึงถึงสิ่งต่างๆ  ดังนี้

                                  - ผู้ฟังและผู้พูดควรจะเห็นกันได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม

                                  - ผู้ฟังและผู้พูดควรจะได้ยินเสียงอย่างชัดเจน

                                  - ผู้ฟังและผู้พูดควรจะเห็นภาพที่ปราฏบนจอได้อย่างชัดเจน

                                  - ผู้ฟังคือบุคคลสำคัญ

                                  - ควรคำนึงถึงสถานที่ให้มาก ถ้าไม่คุ้นกับสถานที่ควรไปดูสถานที่ก่อน 

7. ซ้อมการนำเสนอ 

    ถ้าเป็นนักพูดที่เก่งแล้วไม่ควรประมาท ในกรณีที่จะต้องใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา  ควรจะต้องมีการผึกซ้อมเป็นอย่างยิ่ง  

                                  - กำหนดเวลาในการพูดและซ้อมให้ด้ในเวลา

                                  - ซ้อมการใช้สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆที่จะนำไปใช้

                                 -  ถ้าได้ซ้อมในสถานที่จริงก็จะเป็นประโยชน์มาก

                                 -  ควรจะซ้อมการนำเสนอต่อหน้าผู้ทีจะให้คำแนะนำได้

                                 -  ควรจะซ้อมด้วยความมั่นใจก่อนนำเสนอจริง

8. โฆษณา / ประชาสัมพันธ์ 

     ในบางกรณีจะมีการนำเสนอในโอกาสพิเศษ  จะต้องมีการลงทุนทั้งงบประมาณ และการเสนอที่แปลกใหม่ เช่นการประชุมลูกค้าในการขาย ควรประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มที่เราต้องการ ให้มาชุมนุมให้ได้  ทั้งนี้เพื่อจะไดให้คุ้มค่ากับสิ่งที่เราลงทุนและให้เขาเล็งเห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับ

9. เตรียมตัวของท่านให้พร้อมอยู่เสมอ

    เมื่อท่านได้ฝึกซ้อมการพูดแล้วมิใช่ว่าจะสำเร็จแล้ว สำหรับท่านที่จะไม่ค่อยมีโอกาสนำเสนอบ่อยนัก ผู้นำเสนอควรจะหาประสบการณ์และเตรียมพร้อมเสมอ ที่จะเป็นผู้นำเสนอมืออาชีพ

                              - ท่านจะต้องมีความมั่นใจในเรื่องที่นำเสนอเต็มที่

                              - ท่านจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ฟัง

                              - ท่านจะต้องรู้จักผ่อนคลายอิริยาบท ไม่เครียด

                              - อย่ากังวล-ประหม่า

                              - ควรจะเตรียมตัวในการเลือกการแต่งกายให้เหมาะสม

10. บทสรุป ทบทวน ตอบข้อซักถาม

      ผู้นำเสนอจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องการสรุปเนื้อเรื่องที่นำเสนอ และในขณะเดียวกันอาจจะมีข้อซักถาม          

ผู้นำเสนอจะต้องมั่นใจ และเตรียมพร้อมด้วยความสุขุม สุภาพ ฉนั้น ผู้นำเสนอจะต้องกำหนดเวลาเพื่อเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย

11. การเตรียมงาน - อุปกรณ์  ก่อนนำเสนอ

                              - ตัดสินใจว่าควรจำนำอุปกรณ์อะไรไป

                              - สำรองหลอดอะไหล่ เครื่อง สายต่าง ๆ เลนซ์

                              - นำอุปกรร์ต่างๆ ที่จะใช้งาน ที่อยู่ในสภาพดีไปเท่านั้น

                              - กรณีเดินทางไกลควรจะสอบถามแต่ละท้องถิ่นว่ามีอุปกรณ์อะไรที่ต้องการใช้ ว่ามีหรือเปล่า

                              -  ควรจะมีปัญชีรายการสิ่งของบันทึกไว้อย่างละเอียด 

12. ที่สถานที่นำเสนอ ( ห้องบรรยาย )

                               - ไปถึงก่อนบรรยายในการนำเสนอ

                               -  ติดตั้งเครื่อง  และอุปกรร์ด้วยความละเอียด

                               -  ตรวจสอบและทดลองซ้อมการใช้ด้วยความมั่นใจ

                               -  ตรวจสอบระบบเสียงให้ได้ยินอย่างชัดเจน

                               -  ตรวจสอบภาพว่าสัมพันธ์กับผู้ชมหรือไม่

                               -  ตรวจสอบว่าผู้ชมเห็นภาพชัดเจนและทั่วถึง

                               -  ควรใช้สูตรระบบ 8 H ทุกครั้ง ในการฉายภาพทุคร้ง

                               -  ควรคำนึงระบบการถ่ายเทอากาศไว้ด้วย

ขณะที่เปิดการนำเสนอ

                               -  รักษาเวลาในการนำเสนอ ( พูด - แสดง )

                               -  ใช้ภาพให้ตรงกับการพูด

                               -  อย่าหันหลังให้ผู้ชมมากนัก

                               -  ผู้พูดควรจะเป็นผู้ควบคุมการฉายเอง  ถ้าทำได้

                               -  อย่าโยนความผิดต่อหน้ากลุ่มผู้ฟังไปให้คนอื่น เมื่อเกิดการผิดพลาดขั้นตอน

                               -  ใช้หลักการพูดในที่ชุมชนมาประยุกต์ใช้

                               -  อย่าให้มีแสงสว่างจ้าปรากฏบนจอก่อนหรือหลังการพูด

ข้อบกพร่องที่พบเสมอ

                               -  หลอดฉายขาดระหว่างการใช้เครื่อง

                               -  ติดขัดขณะดำเนินรายการ

                               -  ห้องมีแสงสว่างมาก ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน

                               -  เรียงลำดับและกลับภาพผิด ๆ ถูก

                               -  คำพูดกับภาพไม่ตรงกัน

                               -  ภาพไม่สัมพันธ์กับผู้ชม

                               -  มีแสงสว่างจ้าปรากฏบนจอ

                               -  ผู้พูดหันหลังให้ผู้ชมมากเกินไป

ขอ้แนะนำ

                               - ซ้อมการนำเสนอด้วยความมั่นใจ

                               - ใช้ภาพเป็นแนวทางในการพูด

                               - ใช้ทักษะในการพูดมาประยุกต์ใช้

                               - วิธีที่จะไม่หันหลังให้ผู้ชมมากเกินไป ให้ใช้กระจกส่องมองหลังหรือทีวีมอนิเตอร์ขนาดเล็ก

                               " บุคคลิกภาพของมนุษย์ คือขุมทรัพย์มหาศาลแห่งพิภพ " 

               เอกสารประกอบการอบรมการถ่ายภาพที่มีคุณค่าที่ได้รับจากการเข้าฝึกอบรม  ย้อนไปในอดีตที่ บริษัทโกดักโด่งดังมากในยุทธจักรของสื่อที่ต้องผลิตด้วยฟีล์มเป็นหัวใจสำคัญ   เป็นการเผยแพร่ให้กับสมาชิกผู้สนใจเพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ที่ถูกต้อง และได้เพิ่มเติมอุปกรณ์บางอย่างที่เป็นปัจจุบันเข้าไปด้วย  จึงขออภัยผู้เขียนไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ทันสมัยนำไปใช้ในด้านการเรียน  การสอน  และ การประชุมสัมนา ทั้งภาครัฐ -เอกชน สำหรับวิทยากรที่สนใจทุกท่าน

                                  เขียนโดย: สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์   ศูนย์ฝึกอบรม  บริษัทโกดัก ( ประเทศไทย) จำกัด

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 162800เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2008 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท