พระราชบัญญัติอาหาร


พระราชบัญญัติอาหาร
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เจ้าหน้าที่ของกรมประมงได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาหารฯ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 270) พ.ศ.2546 ลงวันที่12 มิถุนายน 2546 มีอำนาจปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งพระราชบัญญัติซึ่งกำหนดว่าเป็นอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะสัตว์น้ำสัตว์น้ำแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อำนาจในการดำเนินการตามกฎหมายในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ตามมาตรา 43 คือ (1) เข้าไปในสถานที่ผลิตอาหาร สถานที่เก็บอาหาร สถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่ทำการของผู้ผลิต ผู้เก็บรักษา ผู้จำหน่าย รวมทั้ง สถานที่ทำการของผู้นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอาหารในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (2) ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ อาจเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจสอบอาหาร และอาจยึดหรืออายัดอาหารและเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตลอดจนภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุอาหารและเอกสารที่เกี่ยวกับอาหารดังกล่าวได้ (3)นำอาหารในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือตรวจวิเคราะห์ (4) ยึดหรืออายัดอาหารหรือภาชนะบรรจุที่สงสัยว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือผิดอนามัยของประชาชนเพื่อตรวจพิสูจน์ (5) ยึดหรืออายัดอาหารไม่บริสุทธิ์ อาหารปลอมหรืออาหารผิดมาตรฐาน หรือภาชนะบรรจุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือผิดอนามัยของประชาชน หรือที่มีลักษณะไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีฯประกาศกำหนดตามมาตรา6(6)(Nitrofurans.) ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่อาจดำเนินการได้2กรณีคือ (ก) การตรวจสอบควบคุมทั่วไป ตามมาตรา 43(1) โดยการเข้าไปในสถานที่ผลิตอาหาร สถานที่เก็บอาหาร สถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่ทำการของผู้ผลิต ผู้เก็บรักษา ผู้จำหน่าย รวมทั้ง สถานที่ทำการของผู้นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอาหารเพื่อตรวจสอบทั่วไป (ข) การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ ใช้อำนาจตามมาตรา 43 (3) (4) ในการเก็บตัวอย่าง พร้อมกับอายัดอาหารในLotดังกล่าวไว้ก่อน เมื่อผลการตรวจวิเคราะห์พบว่าอาหารดังกล่าวผิดมาตรฐานซึ่งกำหนดไว้ตามมาตรา 6 (3) ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 25 (3) มีโทษตามมาตรา 60 คือปรับไม่เกิน 50,000 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ดังนี้ - กรณีมีโทษปรับสถานเดียว เช่นตามมาตร 60 พระราชบัญญัติอาหารฯ มาตรา 75 กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งให้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับได้ - กรณีเห็นว่าไม่สมควรเปรียบเทียบปรับ ต้องดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่มีเขตอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปโดยรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดจัดส่งไปด้วย - ผู้รับใบอนุญาตที่ผิดมาตรฐาน ผู้อนุญาต(เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต(120วัน)เพิกถอนใบอนุญาตได้(กรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุด)(มาตรา46) - อาหารหรือภาชนะบรรจุที่เป็นอาหารที่ผิดมาตรฐาน ถ้ามิได้มีการฟ้องต่อศาล (มีการเปรียบเทียบปรับเพื่อระงับคดี) ผู้อนุญาต (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ มีอำนาจสั่งทำลายหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร(มาตรา44) ในกรณีที่การตรวจพิสูจน์ ไม่พบสารต้องห้าม ต้องถอนการอายัด ซึ่งผู้ที่มีอำนาจในการถอนอายัดคือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้มีคำสั่งอายัดนั่นเอง อนึ่ง การเข้าไปตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว แม้บางกรณีจะเป็นการเข้าไปค้นในที่รโหฐาน(สถานที่ที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าไปได้)ก็เป็นข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 238 ซึ่งพระราชบัญญัติอาหารฯ ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปได้ แต่เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่มีเหตุสงสัย เห็นควรขอหมายค้นจากศาลด้วย (พิจารณาเรื่องการค้นในที่รโหฐานตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประกอบด้วย) เมื่อมีการร้องขอจากผู้เกี่ยวข้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย (มาตรา 45) http://www.cffp.th.com/
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16249เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท