เมื่อไปพบอาจารย์วิจารณ์ พานิช : “กระบวนการเรียนรู้” กับ “การสร้างทฤษฎีจากของจริง”


รู้สึกว่าได้อะไรมากมายทีเดียว แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าเป็น การได้ “สติ” อันที่จะเป็น “เครื่องมือ” ในการนำไปเก็บเกี่ยวความรู้ที่ได้จากกระบวนการทำงานที่ผ่านมา ซึ่งตั้งไว้เป็น องค์ความรู้ของวิทยานิพนธ์ เป็นสติที่เกิดจากคำของอาจารย์ที่บอกว่า คนเราต้องมีกระบวนการเรียนรู้เพราะมันจะทำให้เราได้ความรู้จากของจริง

ไปพบอาจารย์วิจารณ์ พานิช มาค่ะ 

 

...อาจารย์แหวว มักเล่าให้ฟังเสมอ ว่าชีวิตอาจารย์ที่เปลี่ยนมาทำเรื่องคนไร้รัฐไร้สัญชาติอยู่ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาจารย์วิจารณ์ โดยเฉพาะที่อ.วิจารณ์ให้ คนมาทำรายการทีวี รากแก้วแห่งปัญญา ตอนที่อาจารย์ทำงานวิจัยเรื่องสัญชาติไทยของชาวเขา...

 

ปีนี้อาจารย์แหววขอไปเข้าพบอาจารย์วิจารณ์อย่างเคย  ข้าพเจ้าก็รีบตามอาจารย์ไปด้วยทันทีพร้อมกับโทรไปปลุกน้องๆ ในวันที่นัดท่านกลัวเค้าจะลืมและไม่ได้ไป  เพราะตัวเองที่จริงก็อยากจะเจอตัวจริงของอาจารย์มานานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสสักที  ก่อนหน้านี้จึงได้แต่รู้จักอาจารย์จากคำบอกเล่าของอาจารย์แหวว และ gotoknows ที่อาจารย์เขียน

 ระหว่างที่นั่งฟังอาจารย์พูดคุยกัน ก็รู้สึกว่าบรรยากาศ เป็นไปด้วยความอบอุ่นและเป็นเวทีของนักคิดพยายามคิดตามคำสนทนาของอาจารย์ ซึ่งติดใจอยู่หลายคำ  เช่น  อาจารย์บอกว่า  เราต้องมี กระบวนการเรียนรู้ อาจารย์ว่าการศึกษาไทย ไม่ค่อยมี และ ไม่ให้ความสำคัญ กับ กระบวนการเรียนรู้ เพราะเราจะสอนแต่สื่งที่เป็นความรู้สำเร็จรูปแล้ว เป็นความรู้ หรือ ทฤษฎี ที่คนอื่น โดยเฉพาะฝรั่งเค้าคิดและสรุปไว้แล้ว เราก็จำๆๆๆ และ พยายามทำความเข้าใจในความรู้นั้น แบบไม่มีการเรียนรู้ ที่จะมีความรู้นั้นได้ด้วยตัวเอง  

 

รีบจดลงสมุดเลยค่ะ และ คิดตามอาจารย์  ก็เห็นจริงตามอาจารย์  รู้สึกว่าคำว่า กระบวนการเรียนรู้  นี้สำคัญ และนึกตามอาจารย์ไปว่า ตอนเราเรียนหนังสือมาเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือเปล่าหนอ ก็เริ่มจะเห็นจริง และลองนึกเอาว่า มีความรู้ไหนที่ตัวเราได้มาด้วยการเรียนรู้ของเราเองบ้าง  ที่ไม่ใช่คนอื่นพูดให้ฟัง หรือ อ่านเจอ 

เมื่อพยายามนึกถึงความรู้ ที่เรามีกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่นั้น ในใจยังไม่ค่อยถูกใจกับความรู้ของตนเองในช่วงตั้งแต่เกิด จนถึง เรียนจบปริญญาตรีเท่าไหร่  เพราะส่วนใหญ่ที่เรารู้นั้น  เรารู้สึกว่าไม่ใช่องค์ความรู้ที่มีสาระประโยชน์กับคนอื่นเท่าไหร่ (ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะส่วนตัว และ เป็นสาระกับตัวเราเอง  เป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน ที่เราเชื่อว่าเราทำได้ดี ซึ่งมาจากการฝึกฝน หรือ การทำซ้ำๆ ของเราเอง  หรือไม่ก็ประสบการณ์พิเศษ แปลกๆ ใหม่ๆ ที่เราคิดว่าเป็นกำไรชีวิต ) นึกๆๆ...แบบเร็วๆ...ผ่านมาถึง

กระบวนการเรียนรู้ของเราในช่วงที่มาทำงานกับอาจารย์แหววนี่ซิ เรากำลังรู้สึกตื่นเต้นว่าจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดี เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ที่จะได้มา โดยมีอาจารย์คอยสั่งสอน ชี้แนะ  และที่สำคัญมีประโยชน์กับสังคมไทย รู้สึกว่ามีกระบวนการเรียนรู้เยอะแยะไปหมดเลย  ทั้งที่เราสรุปได้แล้ว และ ยังไม่ได้ทำการสรุป

แต่ขณะที่กำลังพยายามปั้นและสรุปองค์ความรู้ที่เราได้จากการทำงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายอยู่นั้น  อาจารย์วิจารณ์ก็ย้ำว่า  ทฤษฎีต้องสร้างมาจากของจริง  ก็ยิ่งรู้สึกว่า หัวข้อที่คุยกันวันนี้ เป็นวิทยานิพนธ์ของเราทั้งนั้นเลย  เมื่ออาจารย์ท่านทั้งหลาย (อาจารย์โก๋-อิทธิพล และ อาจารย์แอ๋ว-สายฤดี ก็มาด้วย) คุยอะไรกัน ก็เหมือนกับมีแต่คนกำลังช่วยเราเขียนวิทยานิพนธ์ กันใหญ่เลย  เป็นช่วงเวลาที่รู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวมาก ดีใจมากๆ  (อิ อิ จดจด..คิดคิด..ว่าจะเอาคำนี้คำนั้นไปเติมในวิทยานิพนธ์ดีกว่า..)

เนื่องจากวิทยานิพนธ์ที่กำลังทำอยู่ เป็นเรื่องของการสรุปทฤษฎีอันเป็นเรื่องจริงของคนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่ปรากฎตัวในรัฐไทย  และกระบวนการดำเนินการจริง ในการทำให้คนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลนั้นได้มีเอกสาร 

นอกจากนั้น นอกจากเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ที่คิดว่าเราได้ทำในวิทยานิพนธ์ของเราแล้ว ก็มี ในเรื่องการทำงานให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายที่ทำอยู่กับคนไร้รัฐไร้สัญชาติ หรือ คนต่างด้าวในประเทศไทย ที่รู้สึกว่าเราได้ค้นพบความรู้จากความจริง  และ จากกระบวนการทำงานต่างๆ มากมาย  ที่ควรจะต้องรีบๆ เขียนและสรุปมันออกมา  

สุดท้าย คงเป็นความรู้สึกสบายใจอย่างที่สุดว่า  วิทยานิพนธ์ของเราใกล้เสร็จสิ้นเต็มที เหลือแต่การสรุปออกมาเป็นตัวหนังสือสักที และ คิดว่าจะสอดแทรก วิธี การทำงานให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เข้าไปในกระบวนการเรียนรู้ของวิทยานิพนธ์ด้วย  สบายใจที่เราจะสามารถเขียนมันออกมาได้จากของจริงที่เราได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง  เพราะความรู้ในวิทยานิพนธ์เราอาจจะหาไม่ค่อยได้จากกระดาษสักเท่าไหร่ ยิ่งภาษาไทยยิ่งไม่ค่อยจะมี

 

อาจารย์ถามว่ามาหาอาจารย์ได้อะไร  ก็รู้สึกว่าได้อะไรมากมายทีเดียว  แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าเป็น การได้ สติ อันที่จะเป็น เครื่องมือ ในการนำไปเก็บเกี่ยวความรู้ที่ได้จากกระบวนการทำงานที่ผ่านมา ซึ่งตั้งไว้เป็น องค์ความรู้ของวิทยานิพนธ์ เป็นสติที่เกิดจากคำของอาจารย์ที่บอกว่า คนเราต้องมีกระบวนการเรียนรู้เพราะมันจะทำให้เราได้ความรู้จากของจริง

 

และอีกคำตอบหนึ่งที่ไม่ได้ตอบอาจารย์ไป คือ ความตั้งใจ ที่คิดว่าจะนำไปใช้ในอาชีพอาจารย์ต่อไป ที่คิดว่าจะต้องผลักดันให้ตัวเรา  คนใกล้ชิดเรา หรือ คนที่มาเรียนกับเรา เค้าจะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่การเชื่อ การฟังจากเรา จากใครๆ หรือ จากหนังสือ เพียงอย่างเดียว

 (ปล.มีความตั้งใจที่จะสอนหนังสือหล่ะ ชอบสอนหนังสือมากๆเลย  ยิ่งสอน ก็เหมือนทำให้ตัวเองยิ่งรู้ ยิ่งรู้สึกสนุก เพราะเวลาสอนก็จะรู้ตัวว่าตรงไหนยังไม่รู้ ไม่แม่น หรือ คิดต่อไปว่ามันควรจะเป็นยังไงต่อไป ก็จะต้องหาความรู้เรื่องนั้นๆ แล้วก็สนุก)  
หมายเลขบันทึก: 162375เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ได้อ่านเสียที

คงเข้าใจแล้วนะ เวลาที่ต้องทำงาน อ.จะตั้งคำถามเพียงว่า "เป้าหมายของการทำงานคืออะไร ?" ส่วนวิธีการนั้น ให้ไปคิดมา แล้วมาหารือกัน ถ้าบอกจดกันทุกเม็ดนะ โอกาสคิดและตัดสินใจ ก็ไม่มีไง และที่ อ.ต้องทำอีกครั้ง คือ ชื่นชมเมื่อ output ออกมาดี และชี้ข้อบกพร่อง เวลา output ไม่เข้าท่า คนอื่นๆ ชอบหาว่า อ.แหววด่าลูกศิษย์ แต่ก็แปลกนะ ลูกศิษย์ชอบให้ด่า

บางคนที่เก่งแล้ว ชมมากๆ มันหาว่า อ.ไม่สนใจมันอ่ะ แปลกดี ก็ไม่มีอะไรจะติแล้วไง

โลกของครูเป็นโลกที่งดงาม ครูที่ดี ก็จะมีลูกศิษย์ที่ดี ถ้าครูคนไหนเจอลูกศิษย์ที่ไม่ดี ก็เพราะครูคนนั้นอาจจะเคยทำสิ่งที่ไม่ดี ให้แก่ลูกศิษย์ก็เป็นได้ค่ะ

ครับดีมากเลย

ขอเป็นกำลังให้คนที่อยากทำงานเพื่อสังคม ในสังคมที่มีจุดมืด บนประเทศประชาธิไตยอย่างเรา

 ทำงานต่อไป อย่างถ้อ และอย่าท้อย เพื่อคนทีลำบาก อีกมากที่รอความหวังอยู่

 

รีบเขียนงาน ให้คนอื่นใช้เป็น  "เครื่องมือ" และ "อาวุธ" ด้วยนะ

รู้คนเดียวไม่เขียน ไม่บันทึก คนอื่นก็จะไม่รู้

 gotoknow ก็คือพื้นที่บอกเล่าความรู้ที่เคลื่อนไหว

เขียนเยอะๆนะน้องชล

อ.นพพร ชื่นพันธ์ (อดีตอาจารย์พิเศษวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี และเจ้าหน้าที่สารสนเทศ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มรท.กรุงเทพฯ)

ก่อนอื่นขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้

ในทัศนะของข้าพเจ้า...

ก่อนอื่นขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ด้านกระบวนการเรียนรู้แก่ศิษย์

จากการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ(Factor's) องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีดังนี้

1. จากการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง

หรือการเสาะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ของ ท่านอาจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี

และท่านอาจารย์ ดร.สุรางค์ โค้วตระกูล

ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่ามีหลักการจากการเที่ยวในสถานที่ต่างๆ

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ คือ

"Self-learning of case study

in metropolitan areas for travelling"

แปลว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองจากการศึกษาโดยการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ

*** หมายเหตุ ตามทัศนะของข้าพเจ้า ***

อาจารย์นพพร ชื่นพันธ์ (อดีตอาจารย์อาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน อาจารย์สถาบันคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่สารสนเทศ พนักงานกราฟิกดีไซน์ )

ตามทัศนะของศิษย์ / ผู้เขียน /นักศึกษา ป.โท มีดังนี้
ทฤษฎีการวิจัยตามธรรมชาติ
เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ

นพพร ชื่นพันธ์ (อดีตอาจารย์อาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน อาจารย์สถาบันคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่สารสนเทศ พนักงานกราฟิกดีไซน์ )

ตามทัศนะของศิษย์ / ผู้เขียน /นักศึกษา ป.โท มีดังนี้
ทฤษฎีการวิจัยตามธรรมชาติ เพื่อส่งเสริม
กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ

ข้อความที่แสดงทัศนะเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลใน
เชิงวิชาการ เพื่อแสดงทัศนะใน
การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนและ
การพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
โดยอ้างอิงทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ทฤษฎีการวิจัยตามธรรมชาติ
และแนวคิด Constructivism และ Constructionism เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
โดยมิได้มีเจตนา เสียดสี พาดพิง ใส่ร้าย กล่าวหา ผู้ใด
หรือเจตนาทำให้ผู้ใดเสื่อมเสียชื่อเสียง

ขอขอบคุณนักวิจัย สาขาการศึกษา นักการศึกษา
นักวิชาการ คณาจารย์ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท