เยี่ยมอาจารย์วิจารณ์ เล่าเรื่องเรตติ้งแล็บ ทฤษฎีที่มาจากชีวิตจริง :อีกมุมหนึ่งของความพยายามสร้างทฤษฎีรากฐานของชุมชน


สิ่งที่เป็นคำถามของอาจารย์โก๋ก็คือ การตรวจสอบแนวคิดว่ากระบวนการนี้ใช้ได้หรือไม่ ??? คำตอบที่ได้รับจากอาจารย์ก็คือ อาจารย์บอกว่า ทฤษฎีมาจากชีวิตจริง ทำให้เรามั่นใจในกระบวนการนี้ที่ได้รับการพัฒนามาจากการทำงานของพี่หนูหริ่งเมื่อครั้งที่เราทำห้องทดลองเรตติ้งอินเทอร์เน็ต

  เยี่ยมอาจารย์วิจารณ์ เล่าเรื่องเรตติ้งแล็บ ทฤษฎีที่มาจากชีวิตจริง : อีกมุมหนึ่งของความพยายามสร้างทฤษฎีรากฐานของชุมชน

                <table border="0" align="center" style="width: 548px; height: 161px"><tbody><tr>

  ทุกปีอาจารย์โก๋ และอาจารย์แหววจะไปเล่าการทำงานในปีที่ผ่านมาให้อาจารย์วิจารณ์ฟังว่าเราทำอะไรกันบ้าง เพื่อขอคำชี้แนะ แลกเปลี่ยนแนวทางในการทำงาน รวมทั้งเล่าแผนการในการทำงานของปีต่อไปให้อาจารย์ฟัง

 

</tr></tbody></table></span></span><p>               ปีนี้ก็อีกเช่นกัน นอกจากอาจารย์โก๋ (ที่กำลังศึกษางานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์) และ อาจารย์แหวว (ที่เน้นการทำงานภาคชุมชนด้านคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ) แล้วคราวนี้มีอาจารย์สายฤดี หรืออาจารย์แอ๋ว ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล น้องชลฤทัย และ น้องไหม ผู้ที่กำลังศึกษางานด้านเด็กไร้สัญชาติ มานั่งเล่าความคืบหน้าของการทำงานในปีที่ผ่านมา และเล่าแนวคิดในอนาคตให้อาจารย์ฟัง </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>             ข้อความแรกที่อาจารย์วิจารณ์ เริ่มต้น ก็คือ กิจกรรมที่อยากให้สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เริ่มต้นก็คือ การสร้างแผนที่ความรู้เชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับงานด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว เรียกกันง่ายๆว่า Mapping ยุทธศาสตร์งานด้านเด็กว่ามีใครทำอะไรตรงไหนบ้าง จะได้รู้ว่าอะไรที่ยังขาดอยู่ อะไรที่มีอยู่แล้ว อะไรที่เป็นสิ่งที่คาดหวังจากสังคม รวมทั้ง การผลิตองค์ความรู้เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาพัฒนาตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ในเบื้องต้นหากตามไปมองดูการทำงานด้านเด็กและเยาวชนก็จะพบว่า ส่วนใหญ่ของการทำงานจะใช้เด็กและเยาวชนเป็นตัวตั้งในฐานะผู้รับ นั่นหมายความว่าเราคงจะต้องเปลี่ยนมุมมองของแนวคิดให้เด็กและเยาวชนนั้นเป็นตัวตั้งในฐานะประธานของงาน งานนี้ อาจารย์แอ๋วเป็นแม่งานในการทำงานประชุมประจำปีของสถาบันเด็กฯแน่นอน <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>         สิ่งที่อาจารย์โก๋เริ่มตั้งคำถามและเล่าเรื่องในเวลาเดียวกันก็คือ การเล่าให้ฟังถึงการทำงานเรื่องการค้นหาเรตติ้งหรือ การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ซึ่งคราวนี้ขยับมาทำเรื่องของเกม ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ต โดยการสร้างห้องทดลองเรตติ้ง ซึ่งเรามักจะเรียกชื่อในกลุ่มประชาคมนักวิจัยของเราว่า เรตติ้งแล็บ กระบวนการก็คือ การนำตัวอย่างภาพของรายการ เกม ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต มาให้กลุ่มเด็ก เยาวชน ครอบครัว นักวิชาการ ภาคนโยบาย ผู้ประกอบการ นักวิชาชีพ ดูเพื่อพิจารณาว่าเนื้อหานั้นให้สีอะไรใน ๓ สี คือ สีขาว เทา หรือ ดำ แล้วให้ในแต่ละกลุ่มช่วยกันนิยามแต่ละสีว่ามีความหมายว่าอะไร หลังจากนั้นก็จะเริ่มช่วยกันวิเคราะห์ว่า อะไรคือเกณฑ์หรือปัจจัยในการกำหนดสี และแต่ละสีนั้นเหมาะสมสำหรับคนในวัยใด คำตอบจากเวทีเหล่านี้จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการสกัดแนวคิดเรื่องของเรตติ้ง <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      จากการทำงานของโทรทัศน์ เราก็จะพบว่าสีขาวนั้นหมยถึงสื่อที่ต้องส่งเสริมให้มีมากขึ้นเพราะมีเนื้อหาที่ส่งเสริมความรู้ให้กับมนุษย์ในสังคมไทย ส่วนสีเทา และสีดำก็จะหมายถึงสื่อที่มีเนื้อหาที่จะต้องใช้วิจารณาญาณในการรับชมในแต่ละช่วงวัย <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>     จุดนี้เองที่อาจารย์แอ๋วเรียกว่าเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เกิดจากการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ จิตวิทยา และ รวมไปถึงแนวคิดเรื่องสื่อเพื่อสาธารณะอีกด้วย <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      สิ่งที่เป็นคำถามของอาจารย์โก๋ก็คือ การตรวจสอบแนวคิดว่ากระบวนการนี้ใช้ได้หรือไม่ ??? คำตอบที่ได้รับจากอาจารย์ก็คือ อาจารย์บอกว่า ทฤษฎีมาจากชีวิตจริง ทำให้เรามั่นใจในกระบวนการนี้ที่ได้รับการพัฒนามาจากการทำงานของพี่หนูหริ่งเมื่อครั้งที่เราทำห้องทดลองเรตติ้งอินเทอร์เน็ต <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      อีกงานหนึ่งที่อาจารย์โก๋เล่าให้อาจารย์วิจารณ์ฟังก็คือ การเข้ามาทำงานเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยตอนนี้เข้ามาเน้นเรื่องของการพัฒนาให้เกิดร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งมีหลักการง่ายๆก็คือ ปลอดภัย คือการประกอบการที่ถูกกฎหมาย ส่วนสร้างสรรค์ ก็คือ การประกอบการที่ดูแลสังคม อาจารย์วิจารณ์เสริมประเด็นสร้างสรรค์ว่า เป็นการส่งเสริมให้เด็กใช้งานไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ในฐานะผู้บริโภคที่รู้จักการใช้งานในการแสวงหาความรู้เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง รวมทั้ง การสร้างสรรค์ในฐานะผู้ผลิต ที่สร้างสรรค์ เช่น การสร้างห้องสมุดออนไลน์เกี่ยวกับการรักษาลุ่มน้ำ เหล่านี้ ทำให้เห็นภาพการใช้งานไอซีทีที่สร้างสรรค์เพื่อสังคมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      ทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่าสิ่งที่ต้องในการพัฒนาแหล่งพื้นที่เข้าถึงสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็คือ (๑) การสร้างองค์ความรู้ในการทำงานด้านการพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยสร้างสรรค์ (๒) การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในการทำงาน และ (๓) การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าจะให้ได้ผลมากที่สุด ทั้งสามส่วนควรมาจากชุมชนเอง และภาคนโยบายก็รับรองการทำงานของชุมชน ก็จะทำให้การพัฒนาครั้งนี้มีความยั่งยืนมากขึ้น <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>        คราวนี้เราจึงไม่ได้มุ่งเน้นลงไปทำงานที่สื่อเก่าเท่านั้น แต่เป็นการลงไปทำงานกับสื่อใหม่เพิ่มเติมด้วย <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>        อาจารย์แหววพาเราคิดไปถึงเรื่องของการสร้างหลักสูตรสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อไปขยายองค์ความรู้หับพื้นที่ต่างๆในรูปของโรงเรียนเคลื่อนที่ ทางสถาบันเด็กฯจะมีการดำเนินการสร้างหลักสูตรโดยการระดมขุนพลคนทำงานด้านเด็กและด้านสื่อมานั่งคุยกันเพื่อสร้าวหลักสูตรแน่นอน <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>        ในเรื่องที่เราได้แลกเปลี่ยนกันนอกจาก “การแสวงหาองค์ความรู้” แล้ว ยังมีเรื่องของ “การสร้างและขยายเครือข่าย” อาจารย์วิจารณ์มักจะเรียกว่า “ทุนทางสังคม” ที่มีคุณค่าและมีพลังไม่แพ้ไปกว่าทุนทางเศรษฐกิจเสียอีก ทุนทางสังคมนี้เองที่จะเป็นขุมทรัพย์ของการเรียนรู้จากสังคม การเรียนรู้ร่วมกันกับสังคมซึ่งเป็นแนวทางของการทำงานของโครงการวิจัยที่เราทำกัน <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      เพื่อฉายภาพตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เราจึงชวนอาจารย์วิจารณ์ลงไปพื้นที่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ ๑๕ –๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้เรามีเป้าหมาย ๒ ประการ ประการที่ ๑ เพื่อไปประชุมร่วมกับเครือข่ายชุมชน ภาคนโยบาย ภาควิชาการ ผู้ประกอบการร้านเกม เครือข่ายเด็กเยาวชน ในการจัดตั้งกรรมการชุมชนและตกลงกันเรื่องของภาระหน้าที่ในการสร้างและพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ (เพื่อเป็นการเตรียมข้อเสนอในการจัดทำกฎหมายลูกบทเกี่ยวกับร้านเกมคาเฟ่) และ ประการที่ ๒ เราจะทำการแสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวกับเรตติ้งเกมคอมพิวเตอร์ โดยการจัดทำห้องทดลองเรตติ้งเกมคอมพิวเตอร์ในกลุ่มเครือข่ายเด็ก เยาวชน และ เครือข่ายผู้ประกอบการ เพื่อร่วมกันสร้างแนวคิดในการจัดทำเรตติ้งเกมคอมพิวเตอร์จากภาคประชาสังคม <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>     คราวนี้อาจารย์วิจารณ์จะลงพื้นที่ไปดูการทำงานของเราด้วย ตอนนี้เรากำลังประสานงานและทำกำหนดการในการทำงานในพื้นที่ จะส่งให้อาจารย์ในวันจันทร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ครับ <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      อาจารย์แหวว ชวนไปหลี่ผีในประเทศลาว เพื่อไปเดินดูปัญหาเรื่องของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ด้วย คราวนี้เราคงได้มุมมองทั้งเรื่องสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมไปถึงเรื่องของความมั่นคงของมนุษย์อีกด้วย <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>      หลังจากกลับจาก สคส (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม อาจารย์โก๋กับอาจารย์แหววก็กลับมานั่งวาดแผนภาพการทำงานร่วมกันถึงการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้กับเด็ก เยาวชนและครอบครัว เป็นการทำงานที่อาจารย์แหวว บอกว่าเป็น true story สำหรับอาจารย์โก๋ แต่ true story ของอาจารย์แหววนั้นเป็นเรื่องคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ กับเรื่องทำศาสตราจารย์ ลองตาไมปดูแผนภาพของอาจารย์แหววและอาจารย์โก๋ที่ช่วยกันวาด จะได้รู้ว่าเราสองคนคิดแผนการทำงานเรื่องสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 162230เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านบันทึกการเยี่ยมครั้งนี้จากมุมมองของ อ.โก๋แล้ว ตามมาอ่านที่ อ.แหววบันทึกด้วยนะคะ

http://gotoknow.org/blog/archanwell/162023

อ่านบล็อกของ อ.วิจารณ์เหมือนเคย ก็พบว่า อ.ก็บันทึกถึงการคุยครั้งนี้ว่า 

สร้างผลงานวิชาการจากสภาพจริงในสังคม
         วันนี้ผมนัด อ. แหวว (พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร)  กับ อ. อิทธิพล ปรีดิประสงค์ มาคุยเรื่องเด็ก  ผอ. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว  มม. เจ้านายของ อ. อิทธิพล คือ รศ. ดร. สายฤดี วรกิจโภคาทร ตามมาคุยด้วย    และมีลูกศิษย์ของ อ. แหวว ๒ คนตามมาสังเกตการณ์ด้วย
         เราคุยกันเรื่องการพัฒนาเด็ก  และเรื่องคนไร้รัฐ  
         อ. อิทธิพล บ่นเรื่องโดนคนมหาวิทยาลัยหลายแห่งกล่าวหาว่าไม่ได้ทำงานวิชาการ     ผมชี้ว่าสิ่งที่ขาดในสังคมไทย คือการสร้างทฤษฎีจากประสบการณ์จริง    นักวิชาการไทยติดกระบวนทัศน์คัดลอกความรู้มาจากตะวันตก    ติดความคิดว่าทฤษฎีคือสิ่งที่เอาไว้ยึดถือ    ไม่คิดว่าทฤษฎีคือสิ่งที่ใช้สำหรับขับเคลื่อนความคิด วิธีคิด เพื่อให้เข้าใจความเป็นจริงได้ชัดเจนขึ้น    และทฤษฎีเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ หรือท้าทายได้
สิ่งที่เราขาดคือการสร้างสรรค์วิชาการจากสภาพจริง เรื่องราวจริง ในสังคม

วิจารณ์ พานิช
๒๙ ม.ค. ๕๑

http://gotoknow.org/blog/thaikm/162051

กำหนดการลงพื้นที่จัดทำ (๑)    เวทีห้องทดลองเชิงปฏิบัติการการจัดระดับความเหมาะสมเกมคอมพิวเตอร์ (๒)   เวทีสาธารณะเพื่อจัดตั้งกรรมการชุมชนพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑

กลับมาอ่านอีกรอบ ก็ยังมีจับใจเหมือนเดิม ลุยๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท