โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน


โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน             เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2551 ได้ไปราชการที่อำเภอเวียงสา ซึ่งท่านเกษตรจังหวัด ท่านอาคม   ระเบียงโลก และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบเรื่องโครงการอาหารกลางวันโดยตรง คือ คุณสมจิต    ฟูบินทร์ ซึ่งไปติดตามงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ที่ตำบลน้ำมวบ ซึ่งท่านเกษตรอำเภอ        ท่าน ธนาธร         ใหม่คำ  ให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2 ท่าน ได้แก่ คุณวิชัย   สังวิริยะบุตร นวส.6 ว. และนางผกาพรร  ทาสม  นวส6 ว. ไปดูงานที่ รร.ตชด  98  ที่ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา  ระยะทางกกลเหมือนกัน แต่เป็นทางลาดยางตลอดสะดวก ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวที่อำเภอเวียงสา ทางก็ไม่ลำบากเท่าไหร่ แต่ว่าไม่ได้รับการเอาใจใส่จากหน่วยงานราชการเท่าที่ควร จะมีก็แต่หน่วยงานของทางเกษตรเท่านั้นที่ยั่งยืนดูแลตลอด  ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อำเภอเวียงสา คุณผกาพรรณบอกว่าเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 51 ได้มาทำการจัดเลี้ยงให้กับเด็กนักเรียนเป็นการจัดงานวันเด็กให้กับเด็กที่ด้อยโอกาสครับ นับว่าเป็นกิจกรรมที่น่ายกย่องนะครับ ผมได้สอบถามน้องๆ นักเรียนทั้งหมดมีเพียง 27 คนเท่านั้น ตั้งแต่ ป.1- ป.6 และยังมีเด็กอนุบาลอีก 10 คน ทั้งโรงเรียนก็มี 27 คน ครูผู้สอนมีทั้งหมด  5 คน ครับ ซึ่งน้อยมากแต่ก็นั่นแหละเมื่ออยู่ไกลการเอาใจใส่ย่อมน้อยลง ท่านเกษตรจังหวัดได้ตรวจเยี่ยมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันก็รับทราบปัญหาของทางโรงเรียนหลายอย่าง โดยเฉพาะการขาดการเอาใจใส่จากหน่วยงานต่าง ๆ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งพระองค์ท่านได้ดูแลตลอด ซึ่งอำเภอเวียงสามีโรงเรียน ตชด 98 เพียงโรงเรียนเดียว จึงทำให้ไม่มีหน่วยงานไหนให้ความสำคัญเมื่อพระองค์ท่านจะเสด็จเท่านั้น ถึงจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระตือรือร้นเข้าไปทำงานกันอย่างมากมาย  แต่พอพระองท่านเสด็จกลับหน่วยงานก็กลับตามพระองค์ท่านไปด้วย  โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนต่างๆ ในโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งมีกิจกรรมทางการเกษตรในโรงเรียนการดำเนินงาน ได้แก่ การปลูกพืชผักสวนครัวให้ มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทางโรงเรียนโดยไม่ต้องจัดซื้อวัตถุดิบมาทดแทน บางครั้งก็ให้ผู้ปกครองนักเรียนหาพืชผักที่มีอยู่ตามท้องถิ่นมาให้ ทางโรงเรียนได้ปลูกพืชผักหมุนเวียนติดต่อกันไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนการผลิตไม้ผลในโรงเรียนได้ปริมาณยังไม่เพียงพอ ต้องซื้อหามาเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง ส่วนการเลี้ยงสัตว์ได้เลี้ยงไก่พันธุ์สามสายเลือด ก็ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากไม่มีคนดูและมีสัตว์ของชาวบ้านที่เลี้ยงเอาไว้มาทำลายไก่  ผลผลิตที่ได้จะนำมาเพื่อโครงการอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน และหากมากพอก็จะนำจำหน่ายให้กับชาวบ้าน โดยการหมุนเวียนในรูปของสหกรณ์ และการเลี้ยงปลากินพืช ได้ผลน้อย เนื่องจากปลาได้ออกจากสระในช่วงฤดูฝนเพราะน้ำท่วมบ่อปลา แต่นักเรียนส่วนตัวเล็กการทำการเกษตรไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องมีผู้ปกครองเข้ามาช่วยเหลือ ในการทำแปลงเกษตรแม้แต่การรดน้ำพืชผักที่ปลูกไว้ บางทีครูผู้สอนต้องช่วยนักเรียนทำ การทำอาหารกลางวันก็จะมีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลัดกันมาทำให้  ซึ่งนักวิชาการเกษตรที่รับผิชอบด้านงานเคหกิจเกษตรจะเข้าไปสอนในเรื่องการทำอาหารตลอดจนการแปรรูปผลผลิตให้กลับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเองก็จะเข้ามาทำอาหารให้กับโรงเรียนโดยให้เด็กนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำอาหารของโรงเรียนด้วย ครับเก็บมาเล่าบางทีอาจจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ จากคนขับรถครับ29/01/51 
หมายเลขบันทึก: 162178เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท