อนุทินส่วนตัว ๒๘ ม.ค. ๕๑


 

วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับท่านพุทธทาส
Discussion in the Buddhist public sphere in twentieth-century Thailand : Buddhadasa Bhikkhu and his world
By
Tomoni Ito
A thesis submitted for the degree of Doctor of Philosophy of the Australian National University
August 2001

พื้นที่สาธารณะ
จิตว่าง
อภิธรรม
ธรรมิกสังคมนิยม

มอบให้ นพ. บัญชา พงษ์พานิช  เอาไปเข้าหอจดหมายเหตุพุทธทาส


สกว. ฝ่ายวิจัยพื้นฐาน
         ต้นฉบับหนังสือเทิดพระเกียรติ งานวิจัยพื้นฐาน : ฐานรากของการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    ด้านการวิจัยพื้นฐานเพื่อพัฒนาสุขภาพ
         แก้ไขคำนำ แก่หนังสือชุดนี้ ส่ง ศ. ดร. วิชัย บุญแสง   อ่านได้ที่นี่ (click)
สสส.
คณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ ๓

โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขภาคอีสาน เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพอย่างยั่งยืน ระยะที่ ๒
นำเสนอผลการดำเนินการปีแรก และแผนปีที่ ๒  โดย นพ. อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร   มูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตดี จ. ขอนแก่น
      งปม. 15.7 (ปีที่ 1) + 11.3 ล้าน (ปีที่ 2)    ปีที่ 1 ระดมทุนจากแหล่งอื่นได้ 40.6 ล้าน
      ความเห็นของทีมประเมิน  (รศ. นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์ และคณะ)  ได้ทำงานตามที่เสนอไว้    
       ติดตามโดย OM
         ศูนย์เรียนรู้ 13 ศูนย์ ทำหน้าที่เป็น node มีการจัดการ และ ลปรร. กันเป็น คข
         หลักสูตร วปอ. ภาค ปชช
         เป้าหมายการพึ่งตนเอง ผ่าน คข ร่วมมือ ของชุมชน 
         ทำให้ความสัมพันธ์กับภาคราชการเปลี่ยน
         บทบาทของสถาบันในท้องถิ่น
         เกิด node ใหม่เพิ่มขึ้น?  
         ประเมิน  ผลต่อสุขภาวะ
                     ยั่งยืน
                     การจัดการศูนย์เรียนรู้  เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ 
                     บทบาทขององค์กรที่หลากหลายในพื้นที่   หลากหลายแบบ
                     ความเป็น รร. ชีวิต
       ความเห็นของฝ่ายจัดการ (หนู) การเชื่อมต่อดีขึ้น เปิดมากขึ้น  
 
โครงการขับเคลื่อนแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาโดยการบูรณาการโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง พศ. 2550-2552
         นำเสนอผลการดำเนินการปีแรก และแผนปีที่ ๒-๓  โดย นายชาคริต โพธิ์เจริญ  และ ผศ. ดร. พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา (www.songkhlahealth.org)
      งปม. 7.5 + 11.5 ล้าน (ปีที่ 2-3)
      ทำงานเชื่อมประสาน คข  โดยทำแผนสุขภาพระดับตำบล    การปฏิบัติการสนับสนุนโดยพื้นที่ อบจ.   สร้างความเข้มแข็งให้ คข ย่อยพึ่งตนเองได้    ติดต่อแหล่งทุนเองได้    ปีหน้าจะเน้นอาหารปลอดภัย ศพพ    แผนตำบลเชื่อมกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข    ผวจ. ใหม่เริ่มให้ความไว้วางใจ    เชื่อมโยงกับ คข เชิงประเด็น    ก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลา     มีเรื่องเล่าเร้าพลัง 30 เรื่อง    เวที Success Story Telling   
         ปีที่ 2-3 ทำงานสร้างเครือข่ายย่อยเพิ่ม   มีเป้าหมายให้เครือข่ายย่อยพึ่งตนเองได้    เชิงประเด็น ด้าน เศรษฐกิจพอเพียง   อาหารปลอดภัย    ธรรมนูญสุขภาพระดับ จว.   การจัดการความรู้    สร้างมูลนิธิ   สร้างกลไกบูรณาการแหล่งทุน 
         แผนพัฒนาสุขภาพ จ. สงขลา ไม่ใช่แผนจังหวัด ไม่มีเป้าหมาย   แต่เป็น process
ข้อสังเกตของผม ทีมจัดการทีมนี้มีวิธีการจัดการที่เก่งมาก    เป็นการจัดการเครือข่ายที่ดีมาก    ใช้ OM ด้วย    ทีมได้สรุปการเรียนรู้จากประสบการณ์ เป็น learning team      
ข้อแนะนำจากคณะกรรมการ  หาคนมาเขียนประเด็นเรียนรู้จากการทำงานของโครงการนี้

ร่างเอกสารชุดโครงการสนับสนุนการจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาสุขภาวะในพื้นที่
แนะนำให้ยกเลิกโครงการนี้ทั้งหมด     และคิดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ใหม่    หาภาคีใหม่


SCB
ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธนาคาร
         บันทึกแยกไว้ต่างหาก                

 

สกว.
ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน
  โดยนภาภรณ์ หะวานนท์  เพ็ญสิริ จิระเดชากุล  สุรวุฒิ ปัดไธสง   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  พฤศจิกายน ๒๕๕๐  ISBN 978-974-8284-72-5

        ความเข้มแข็งของชุมชนเกิดจากการสะสมทุนอย่างน้อย ๒ ด้าน
1. การนำความรู้สมัยใหม่เข้ามาบูรณาการกับความรู้เดิมของตน    หรือความเข้มแข็งอันเกิดจากการสร้างและสะสมทุนปัญญา
2. การสร้างระบบความสัมพันธ์ในลักษณะของการสร้างเครือข่ายชุมชน ทั้งเครือข่ายชาวบ้าน-ชาวบ้าน  ชุมชน-ชุมชน  ชุมชน-รัฐ  ชุมชน-เอกชน   ทำให้เกิดการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ และสร้างอำนาจต่อรอง    เกิดความสัมพันธ์ที่เสมอภาค    หรือความเข้มแข็งที่เกิดจากการสร้างและสะสมทุนทางสังคม

        ความเข้มแข็งของชุมชนสะท้อนออกมาที่
1. ความมั่นคงในการผลิต  ไม่เสี่ยง
2. มีอำนาจอิสระในการแก้ไขปัญหา
3. มีสำนึกสาธารณะ  ไม่ดูดายปัญหาของชุมชน
4. เรียกคืนความเป็นมนุษย์  และศักดิ์ศรีของความเป็นชุมชน


สร้างผลงานวิชาการจากสภาพจริงในสังคม
         วันนี้ผมนัด อ. แหวว (พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร)  กับ อ. อิทธิพล ปรีดิประสงค์ มาคุยเรื่องเด็ก  ผอ. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว  มม. เจ้านายของ อ. อิทธิพล คือ รศ. ดร. สายฤดี วรกิจโภคาทร ตามมาคุยด้วย    และมีลูกศิษย์ของ อ. แหวว ๒ คนตามมาสังเกตการณ์ด้วย
         เราคุยกันเรื่องการพัฒนาเด็ก  และเรื่องคนไร้รัฐ  
         อ. อิทธิพล บ่นเรื่องโดนคนมหาวิทยาลัยหลายแห่งกล่าวหาว่าไม่ได้ทำงานวิชาการ     ผมชี้ว่าสิ่งที่ขาดในสังคมไทย คือการสร้างทฤษฎีจากประสบการณ์จริง    นักวิชาการไทยติดกระบวนทัศน์คัดลอกความรู้มาจากตะวันตก    ติดความคิดว่าทฤษฎีคือสิ่งที่เอาไว้ยึดถือ    ไม่คิดว่าทฤษฎีคือสิ่งที่ใช้สำหรับขับเคลื่อนความคิด วิธีคิด เพื่อให้เข้าใจความเป็นจริงได้ชัดเจนขึ้น    และทฤษฎีเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ หรือท้าทายได้
สิ่งที่เราขาดคือการสร้างสรรค์วิชาการจากสภาพจริง เรื่องราวจริง ในสังคม

วิจารณ์ พานิช
๒๙ ม.ค. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 162051เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท