เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี
เด็กหญิง ประเสริฐ (أُخْتٌ صَغِيْرَةٌ ) รัศมีแห่งดวงตา เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี

ตัฟซีรอัลกุรอาน ซูเราะฮ์-อัลฟาติหะฮฺ


สูเราะฮฺที่ 1 อัลฟาติหะฮฺมักกียะฮฺ มี 7 อายะฮฺชื่อบท “อัลฟาติหะฮฺ” มีความหมายว่า “บทเริ่มต้น” เพราะเป็นบทแรกของการจัดลำดับอัลกุรอาน

Part I - ตอน ตัฟซีรอัลกุรอาน ซูเราะฮ์-อัลฟาติหะฮฺ
=================================
   
จากหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอาน "ใต้ร่มเงาอัลกุรอาน"
- ซัยยิด กุฏุบ (เขียน)
- สุนทร มาลาตี (แปล)   
 

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา

          สูเราะฮฺที่ 1 อัลฟาติหะฮฺมักกียะฮฺ มี 7 อายะฮฺชื่อบท “อัลฟาติหะฮฺ” มีความหมายว่า “บทเริ่มต้น” เพราะเป็นบทแรกของการจัดลำดับอัลกุรอาน

 بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ (1) الْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ (2) لرَّحْمـنِ الرَّحِيمِ (3) مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ (4) إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ (5) اهدِنَا الصِّرَاطَ المُستَقِيمَ (6) صِرَاطَ الَّذِينَ أَنعَمتَ عَلَيهِمْ غَيرِ المَغضُوبِ عَلَيهِمْ وَلاَ الضَّالِّينَ (7)“ـ

           1. ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา  2.  มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลจักรวาล  3.  ผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา  4.  ผู้ทรงสิทธิอำนาจในวันตอบแทน  5.  เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เรานมัสการ เฉพาะพระองค์ เท่านั้นที่เราขอความชวยเหลือ  6.  โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงเถิด  7.  แนวทางของบรรดาผู้ทีพพระองคทรงโปรดปราณแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ (แนวทางของ) พวกที่หลงผิด”[1]

           สูเราะฮฺสั้น ๆ ที่มีเพียง 7 อายะฮฺ แตกลับเป็นสูเราะฮฺทีมุสลิมอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่าถึ่ง 17 ครั้งตลอดเวลาหนึ่งวันและหนึ่งคืนเป็นอย่างน้อย หรือมากกว่านั้นหากพวกเขาละหมาดซุนัต และจำนวนครั้งของการอานสูเราะฮฺสั้น ๆ สูเราะฮฺนี้จะเพิมขื้นอีกหลายเท่าทวีคูณอย่างไม่มีเขตจำกัด หากพวกเขาต้องการยืนอยู่ ณ ความโปรดปรานของอัลลอฮฺด้วยการอ่านในที่ที่นอกเหนือจากการอ่านในละหมาดฟัรฏูและซุนัต และการละหมาดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการอ่านสูเราะฮฺนี้ เพราะมีหลักฐานปรากฏอยู่ในเศาะหีหฺทั้งสองเล่ม (อัลบุคอรียฺและมุสลิม) ในรายงานของท่านอุบาดะฮฺ อิบนุ ศอมิด จากท่านเราะซูลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ) ว่า “ไม่เป็นการละหมาดสำหรับผู้ที่ไม่อ่านสูเราะฮฺอัลฟาตีหะฮฺ” 
 
         สูเราะฮฺอัลฟาตีหะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อของอิสลาม เป็นภาพรวมของความเข้าใจอิสลาม เป็นภาพรวมของความรู้สึกและตัวบงชี้ ที่ชี้ให้เห็นถึงสุดยอดแห่งปรัชญาที่มุสลิมเลือกที่จะอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าครั้งแล้วครั้งเล่าในทุกร็อกอะฮฺของการละหมาด เป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงสุดยอดแห่งปรัชญาอันเฉียบคมที่ชี้ให้เห็นว่าหากขาดสูเราะฮฺฟาติหะฮฺแล้ว การละหมาดจะไม่เป็นการละหมาดได้อีกต่อไป
          
สูเราะฮฺเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า (بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ)  “ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา” ไปพร้อมๆ กับความแตกต่างทางแนวคิดเกี่ยวกับบิสมิลละฮฺ(بِسْمِ اللهِ) ว่าเป็นอายะฮฺหนึ่งในทุก ๆ สูเราะฮฺของอัลกรอานหรือไม่ ? หรือเป็นเพียงอายะฮฺอัลกุรอานที่ใช้สำหรับการเริ่มต้นการอ่านอัลกรอานในแต่ละสูเราะฮฺเท่านั้น แต่ทัศนะทีถูกต้องทีสุดคือ บิสมิลละฮฺ เป็นอายะฮฺหนึ่งของสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ เมื่อนับรวมกับอายะฮฺอื่น ๆ ของสูเราะฮฺแล้วจะได้ทั้งหมด 7 อายะฮฺพอดี และนี่คือความหมายของอายะฮฺที่อัลลอฮทรงตรัสไว้ว่า

وَلَقَدْ آتَيْنَاكَ سَبْعاً مِّنَ الْمَثَانِي وَالْقُرْآنَ الْعَظِيمَ    

           “ขอยืนยัน แท้จริงเราได้มองโองการทั้งเจ็ดจากที่ถูกอ่านซ้ำ(หมายถึงฟาติหะฮฺ) และอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่แก่เจ้า” (อัลฮิจรฺ 87) 
            จากอายะฮฺดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ โดยการกล่าวถึงลักษณะของสูเราะฮฺว่ามีเจ็ดอายะฮฺที่มีการอ่านซ้ำในขณะทำการละหมาดของมุสลิม
            เริ่มต้นสูเราะฮฺด้วย พระนามแห่งอัลลอฮฺ (بِسْمِ اللهِ ) นับได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งมารยาทที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานมายังศาสนฑูตของพระองค์ อันมีปรากฎอยู่ในสูเราะฮฺแรกๆของอัลกุรอานที่พระองค์ทรงประทานมา พระองค์ทรงตรัสว่า

 اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ    

           “จงกล่าวเถิด ในพระนามแห่งองค์อภิบาลของเจ้า” (อัลอะลัก 1)  
          
สอดคล้องกับกฎอันยิ่งใหญ่ของความเข้าใจอิสลามว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้น

 هُوَ الأَوَّلُ وَالآخِرُ وَالظَّاهِرُ وَالْبَاطِنُ     

           “พระองค์ทรงเป็นองค์แรก และพระองค์ทรงเป็นองค์สุดท้าย พระองค์ทรงเป็นภายนอก และพระองค์เป็นภายใน” (อัลหะดีด 3)
         
อัลลอฮฺ พระองค์ทรงเป็นอยู่อย่างแท้จริง จากการมีอยู่ของพระองค์จึงเป็นที่พึ่งพาของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ การเริ่มต้นของทุกสิ่งจะต้องเริ่มจากการมีอยู่ของพระองค์ ฉะนั้นด้วยพระนามของพระองค์นี้เองที่ทุกรูปแบบของการเคลื่อนไหวและทุกทิศทางของการขยับเขยื้อนอุบัติขึ้น   
      
พระองค์ได้ทรงให้คุณลักษณะแก่พระองค์เองไว้ในอายะฮฺแรกของสูเราะฮฺว่าพระองค์ “ผู้ทรงยิ่งความเมตตา ผู้ทรงยิ่งความกรุณา”   ซึ่งในความเมตตาของพระองค์จะครอบคลุมความหมายของคำว่าความเมตตา(الرحمة) ในทุกสภาพการณ์ การเอ่ยรวมสองลักาณะไว้ด้วยกัน คือ ความเมตตาและความกรุณา เป็นคุณลักษณะเฉพาะสำหรับพระองค์ ในส่วนของคุณลักษณะแห่งเมตตา “الرحمن” นั้นเป็นลักษณะเฉพาะสำหรับพระองค์ ส่วนลักษณะกรุณา (الرحيم) นั้น สามารถใช้บอกลักษณะแก่บ่าวของพระองค์คนใดคนหนึ่งได้ ไม่เป็นที่ต้องห้าม แต่สำหรับคุณลักษณะความเมตตา(الرحمن) ในแง่ของความศรัทธาแล้วไม่เหมาะที่จะใช้หรืออนุมัติที่จะให้ใช้บอกลักษณะบ่าวของอัลลอฮฺคนใดคนหนึ่งว่าเป็นผู้ที่ทรงยิ่งในความเมตตา และยิ่งไปกล่าวนั้น คือการให้ลักษณะทั้งสอง(الحمن الرحيم) ผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา รวมกันในการบอกลักษณะบ่าวของอัลลอฮฺ    
           ไม่ว่าทั้งสองคุณลักษณะจะแตกต่างกันอย่างไร .. คุณลักษณะใดที่มีความกว้างไกลกว่ากันในความหมายของความเมตตา นั่นเป็นเพียงความแตกต่างทางทัศนะที่ไม่มีความหมายอะไรมากนักสำหรับเรา ในการที่จะทำให้เราเข้าใจถึงแก่นแท้ของร่มเงาแห่งอัลกุรอานอันนี้ เราควรจะปล่อยให้เป็นเพียงความแตกต่างทางความคิดและหันมาทำความเข้าใจคุณลักษณะทั้งสองให้ลึกซึ้งพร้อมๆกัน ทำความเข้าใจสองคุณลักษณะพร้อมกันในทุกๆแง่มุมของความหมาย ที่หมายถึงความเมตตาในทุกๆสภาพการณ์และในทุกๆด้านของพระองค์   
           ในเมื่อการเริ่มต้นของสูเราะฮฺ เริ่มด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ และสิ่งที่หมายรวมถึงเอกภาพแห่งพระองค์และมารยาทที่ควรจะมีต่อพระองค์ เป็นการแสดงให้เห็นถึงเอกภาพแห่งพระองค์และมารยาทที่ควรจะมีต่อพระองค์ เป็นการแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนแรกของการทำความเข้าใจอิสลาม และหากสามารถเข้าถึงความหมายคำว่า “อัรฺเราะฮฺมะฮฺ”( الرحمة) ในความหมายของลักษณะและขอบเขตของสองคุณลักษณะคือ “ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา(الحمن الرحيم)”ได้ ก็จะทำให้สามารถเข้าถึงขั้นที่สองของการทำความเข้าใจอิสลามได้ และจะนำไปสู่การยอมรับในข้อเท็จจริงของความสัมพันธ์ระหว่างอัลลอฮฺกับบ่าวของพระองค์ได้ในที่สุด เมื่อมีการกล่าวถึงพระนามแห่งอัลลอฮฺจบลง อายะฮฺที่ตามมาก็คือการชี้นำไปสู่อัลลอฮฺด้วยการสรรเสริญ และให้ลักษณะแก่พระองค์ให้เป็นผู้อภิบาลเด็ดขาดแก่สากลโลโดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า ..

الْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ     

           “มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลจักรวาล”      
 
          “มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ”  เป็นคำพูดที่บ่งบอกถึงความรู้สึกที่เอ่อล้นออกมาจากก้นบึ่งแห่งหัวใจของผู้ศรัทธา เพียงเพราะเขาแค่รำลึกถึงอัลลอฮฺ.. โดยรำลึกขึ้นมาเพียงว่าการที่เขามีชีวิตขึ้นมาได้นั้นก็มาจากความเมตตาและความโปรดปรานอันล้นพ้นในความเป็นพระเจ้าของพระองค์ จึงทำให้เขาเปล่งเสียงออกมาเป็นการสรรเสริญต่อพระองค์(อย่างกตัญญู)ในทุกเสี้ยวเวลา ในทุกขณะและทุกย่างก้าวการเคลื่อนไหวของเขาจะดำเนินไปภายใต้การดูแลและความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีให้อย่างทั่วถึง ซึ่งความเมตตาและความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีให้อย่างทั่วถึง ซึ่งความเมตตาและความโปรดปรานอันนี้จะหมายรวมถึงบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์... ด้วยเหตุผลนี้เองการสรรเสริญจึงเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ จากจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย เป็นส่วนหนึงจากบรรดากฎต่างๆ ที่จะทำความเข้าใจและศึกษาอิสลามโดยตรง อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

 وَهُوَ اللهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ لَهُ الْحَمْدُ فِي الأُولَى وَالآخِرَةِ       

          “พระองค์คืออัลลอฮฺ ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระองค์ทรงสิทธิในการสรรเสริญ ทั้งในโลกนี้และโลกนหน้า” (อัลเกาะเศาะศฺ 70)  
          
ด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และความกรุณาอันล้นพ้นของอัลลอฮฺที่มีต่อมวลบ่าวของพระองค์ผู้ศรัทธา เพียงแค่เขากล่าวว่า “
الحمد لله (การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ) ก็จะมีการบันทึกความดีที่สามารถทำให้ตราชูด้านหนึ่งหนักขึ้นได้เป็นไหนๆ ..
           ในสุนันของอิบนุมาญะฮฺ ซึ่งเป็นรายงานของท่านอุบนุอุมัรฺ(ขอความโปรดปรานจากอัลลอฮฺจงมีแดท่านทั้งสอง) รายงานว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ)ได้กล่าวกับพวกเขาว่า “มีบ่าวของอัลลอฮฺคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า 
         

يَا رَبِّ لَكَ الْحَمْدُ كَمَا يَنْبَغِي لِجَلاَلِ وَجْهِكَ وَلِعَظِيمِ سُلْطَانِكَ       

           ซึ่งมีความหมายว่า “โอ้องค์อภิบาลของข้า การสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ตามความเหมาะสมกับความสูงส่งแห่งพระพักตร์และความยิ่งใหญ่ในอำนาจของพระองค์”

           “มะลาอิกะฮฺทั้งสองถึงกับชะงักงัน ไม่รู้จะปฎิบัติอย่างไร ไม่รู้ว่าจะบันทึกสิ่งที่บ่าวของอัลลอฮฺคนนี้กระทำอย่างไร ทั้งสองเลยต้องขึ้นไปกราบบังคมทูลต่ออัลลอฮฺและกราบบังคมทูลพระองค์ไปว่า “โอ้องค์อภิบาลของเรา แท้จริงมีบ่าวของพระองค์คนหนึ่งกล่าวถ้อยคำที่เราทั้งสองมิอาจจะรู้ได้เลยว่าจะบันทึกมันอย่างไร?” พระองค์ทรงตรัสถามมะลาอิกะฮฺ(ทั้งๆที่พระองค์รู้) ว่า “บ่าวของฉันกล่าวว่ากระไรหรือ?” ทั้งสองเลยกราบบังคมทูลว่า “บ่าวของพระองค์กล่าวว่า “โอ้องค์อภิบาลของข้า การสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ตามความเหมาะสมกับความสูงส่งแห่งพระพักตร์และความยิ่งใหญ่ในอำนาจของพระองค์” พระองค์จึงตรัสตอบไปว่า “จงบันทึกดังที่บ่าวของข้าได้กล่าวไว้ เมื่อถึงมายังข้า ข้าจะตอบแทนเขาเอง”  
            
การมุ่งสู่อัลลอฮฺด้วยการสรรเสริญ เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกของผู้ศรัทธาที่เปล่งออกมาเพียงเพราะเขารำลึกถึงอัลลอฮฺ(ดังที่ได้กล่าวมา) และในตอนท้ายของอายะฮฺนี้ได้ถูกกล่าวไว้ว่า “
رَبِّ الْعَالَمِينَ” (ผู้อภิบาลแห่งสากลโลก) อันเป็นเสมือนกกของการทำความเข้าใจอิสลาม การอภิบาลที่ครอบคลุมและเด็ดขาด คือ ส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อแห่งอิสลาม ผู้บภิบาลคือผู้ทรงอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ การอภิบาลและการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์และดูแลอภิบาลเป็นอย่างดีมาตลอด และทุกสรรพสิ่งที่ถูกสร้างมาจะได้รับการดูแลปกป้องจากอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่สากลโลกเป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงสร้างกับสิ่งถูกสร้างจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกกาลเวลาตลอดไป      
          
อำนาจการอภิบาลทีเด็ดขาดคือทางแยกที่จะแยกแยะให้ประจักษ์ระหว่างความชัดแจ้งในเอกภาพแห่งอัลลอฮที่ครบถ้วนสมบูรณ์กับความมืดสลัวทางความเชื่อที่เกิดจากความอึมครึมไม่ชัดเจนต่าง ๆ และนี้คือสัจธรรมที่มีรูปแบบทีชัดเจนเด็ดขาด แต่ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยทีรวมไว้ทั้งการยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺว่าพระองค์แต่เพียงพระองค์เดียวคือผู้บันดาลจักรวาลให้เกิดขึ้น พวกเขาศรัทธาไปพร้อม ๆกับความเชื่อในรูปของพยุหะเทวนิยมโดยเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ทีคอยควบคุมดูแลชีวิตบนโลกนี้ ซึ่งฟังดูแล้วเป็นเรื่องทีแปลกพิลึกน่าขันเป็นยิ่งนัก เป็นไปได้อย่างไรที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวแล้วกลับไปเชื่อว่ายังมีพระเจ้าอื่นๆ อีกมากมายคอยควบคุมดูแลอยู่ แต่เรื่องดังกล่าวยังคงมีปรากฏดังทีอัลกุรอานได้เล่าให้ฟังว่ามีพวกผู้ตั้งภาคี กลุ่มหนึ่งใด้เคยพูดถึงการมีพระเจ้าหลายองค์ของพวกเขาว่า

مَا نَعْبُدُهُمْ إِلاَّ لِيُقَرِّبُونَا إِلَى اللهِ زُلْفَى

          “ เรามิได้นมัสการสิ่งเหล่านั้น (เพี่ออื่นใด) นอกจากเพื่อพวกเขาเหล่านนั้นจะได้ทำให้เราเข้าใกล้ต่ออัลลอฮฺยิ่งขึ้น ” (อัซซุมัรฺ 3)
          
อัลลอฮฺได้กล่าวถึงชาวคัมภีร์กลุ่มหนึ่งไว้ในอัลกุรอานว่า

اتَّخَذُواْ أَحْبَارَهُمْ وَرُهْبَانَهُمْ أَرْبَاباً مِّن دُونِ اللهِ

       “พวกเขาเหล่านั้นได้ยึดเอานักปราชญ์ (พวกยิว) และพวกนักบวช(พวกคริสต์)ของพวกเขา (เคารพยกย่องเหมือน) เป็นพระเจ้านอกเหนือจากอัลลอฮฺ” (อัตเตาบะฮฺ 31)
          
ในวันที่อิสลามมาปรากฎ หลักความเชื่อของเหล่าญาฮิลียะฮฺได้แผ่กระจายไปทั่วเมือง มีการร้องขอความช่วยเหลือต่อพระเจ้าต่างๆ อย่างหลากหลาย โดยที่มีความเชื่อว่า พระเจ้าเหล่านี้เป็นพระเจ้าองค์เล็กองค์น้อยที่อยู่เคียงข้างพระเจ้าองค์ใหญ่ตามที่พวกเขาเข้าใจ อำนาจการบริหารหรือการอภิบาลที่เด็ดขาดและทั่วถึงครอบคลุมสากลโลกทั้งหมดที่ถูกล่าวไว้ในสูเราะฮฺนี้ นับได้ว่าเป็นการแยกแยะระหว่างการมีระบบกับความยุ่งเหยิงปั่นปวนไร้ระบบในหลักความเชื่อ ให้เห็นกันอย่างชัด ๆ เพื่อชี้นำโลกทั้งหลายทั้งปวงไปสู่ผู้อภิบาลองค์เดียว ยอมรับในอำนาจการอภิบาลอันเด็ดขาดของพระองค์ เป็นการทำลายระบบหัวหน้าเผ่า และพระเจ้าองค์เล็กองค์น้อยที่เคยมีอยู่ให้สิ้นซาก มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวอีกต่อไป เป็นการผินหลังให้พระเจ้าองค์เล็กองค์น้อยทุกรูปแบบ อันจะทำให้จิตใจของโลกทั้งหลายทั้งปวงมีความสงบมั่นภายใต้การปกครองของอัลลอฮฺ ภายใต้การรอภิบาลของพระองค์อย่างยังยืนตลอดไป การปกป้องของพระองค์จะไม่มีวันขาดตอนหรือขาดหายใปจากพวกเขาเด็ดขาด ไม่เหมือนจินตนาการของนักปรัชญาบางคนอยางอริสโตเติลทีกลาวว่า “พระเจ้าใด้สร้างใลกนี้ขึ้น จากนั้นก็ไม่ได้ใสใจต่อมันอีกเลย เพราะพระเจ้าจะต้องคอยคิดในสิ่งอื่นอีกต่อไป นั่นคือพระเจ้าจะไม่มี เวลาสำหรับขบคิดในสิ่งอืนใด้อีกแล้ว นอกจากเกี่ยวกับตัวของพระองค์เอง” นั่นคือคำพูดของอิรสโตเติล ผู้ทีถูกเรียกว่าเป็นนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีปัญญาอันเฉียบคม
           
อิสลามได้เข้ามาในขณะที่โลกเต็มไปด้วยหลักความเชื่อที่หลากหลายเป็นกองพะเนิน มีหลากหลายจินตนาการ ไหนจะเป็นเรื่องเล่า ไหนจะเป็นปรัชญา ไหนจะเป็นแนวคิด ไหนจะเป็นนิยายปรัมปราไร้สาระ สิ่งเหล่านี้ถูกเก็บเข้ามาผสมผสานกับหลักความเชื่อของผู้คนทั้งสิ้น สัจธรรมถูกคลุกเคล้าไปกับโมฆะธรรมจนแยกไม่ออก ความถูกต้องถูกเบียดบังจนมองไม่เห็น ศาสนาถูกทำให้สับสนปะปนไปกับเรื่องไร้สาระ ปะปนไปกับปรัชญาหรือนิยายปรัมปรา จนจิตใจของผู้คนถูกทับถมด้วยการกองทับของสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ตกอยู่ในความมืดและความสงสัยคลางแคลงไม่ชัดเจน ความหลงผิดที่ไม่มีความมั่นใจ ไม่มีรัศมีแห่งทางนำให้เห็น สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เป็นปัจจัยในการตีความ เเละการทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้า ทำความเข้าใจคุณลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับสรรพสิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหวางอัลลอฮฺกับมนุษยชาติ ตราบใดที่สถานการณ์ในรูปแบบนี้ยังคงอยู่ จะไม่มีใครสามารถทำให้จิตใจของมนุษย์มั่นคงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในจักรวาลได้ ไม่สามารถทำให้เกิดความสงบมั่นในเรื่องเกี่ยวกับตัวเองและการเป็นอยู่ของตัวเองได้ หากยังไม่สามารถทำให้พวกเขาเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องเกี่ยวกับหลักความเชื่อ เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ จิตใจของมนุษย์จะสงบมั่นได้ก็ต่อเมื่อความเชื่อมั่นที่ชัดเจน เที่ยงตรงถูกต้องได้เกิดขึ้นในจิตใจของพวกเขาแล้วเท่านั้น เพราะพวกเขาตกอยูในท่ามกลางการทับถมของความหลงผิดที่หนักหน่วงนั่นเองผู้คนจะยังมองไม่เห็นความจำเป็นว่าความสงบมั่นนั้นเกิดขี้นจากหลักความเชื่ออันนี้ได้อย่างไร จนกว่าจะมองเห็นรูปแบบหลักความเชื่อต่าง ๆที่กองพะเนินทับถมกัน จนกว่าพวกเขาจะมองเห็นความไม่ถูกต้องของหลักความเชื่อ จนกว่าจะสามารถแยกได้ว่านั่นคือจินตนาการที่เกิดจาก ความหลงผิด นั่นคือนิยายปรัมปรา นั่นคือปรัชญาและการคาดคะเนรวมถึงแนวคิดต่างๆที่มีอยู่อย่างไร้หลักการ
        
เมื่ออิสลามมาปรากฏก็พบว่าสิงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะสร้างความโสโครกให้กับจิตใจของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเราได้ชี้ให้เห็นมาเเล้ว(และจะมีการนำเสนอต่อไปในอีกหลาย ๆสูเราะฮฺ เพื่อชี้ให้เห็นสภาพปัญหาและการแก้ปัญหาทีถูกต้องครบถ้วนของอัลกุรอานในเรื่องดังกล่าวต่อไป)ด้วยเหตุนี้เองอิสลาม จึงมุ่งที่จะปลดปล่อยในเรื่องเกี่ยวกับหลักความเชื่อเป็นอันดับแรก มีการกำหนดยุทธวิธีที่จะทำให้จิตใจสงบมั่นในเรื่องเกี่ยวกับการศรัทธาต่ออัลลอฮ และคุณลักษณะของพระองค์ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอัลลอฮฺกับสิ่งทีถูกสร้าง และสิงถูกสร้างกับอัลลอฮฺ เพื่อสร้างความเข้าใจที่เด็ดขาดมั่นคงให้เกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก และสร้างความศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮฺที่มั่นคงบริสุทธิ์ ถูกต้องสมบูรณ์ไม่ลักลั่น และนั่นคือหลักการที่อิสลามนำมายังมนุษย์ หลักการที่จะทำให้จิตใจของมนุษย์บริสุทธิอันเป็นผลที่ตามมาของการศรัทธาในเอกภาพแห่งอัลลอฮฺ ซึ่งจะทำให้สามารถปลดปล่อยจิตใจออกจากความมืดมัว จะทำใหจิตใจมีเสถียรภาพมั่นคง ไม่เปิดช่องว่างให้เกิดภาพลวงตาใดๆ สอดแทรกเข้ามาอีก อิสลามได้นำมาซึ่งคำที่เป็นตัวแยกแยะไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺและเรื่องเกี่ยวกับอำนาจการอภิบาลที่เด็ดขาด
          ความหลงผิดส่วนใหญที่เกิดจากความงมงายของเหล่าปรัชญา หรือหลักความเชื่อที่มาจากการคาดคะเนและนิยายปรัมปราล้วนแล้วนแต่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันเรื่องที่สาคัญ ๆ ทั้งหมด และเป็นเรื่องที่นับได้ว่ามีอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์แทบทั้งสิ้น
หากมีการย้อนกลับไปดูความพยายามอันยาวนานที่อิสลามได้ทุ่มเทออกไปเพื่อให้ความเชื่อมั่นเกิดขึ้นด้วยคำหรือสำนวนและตัวบทของอัลกุรอานอันมากมายที่จะมาชี้เเจงเพื่อให้ความกระจ่างในเรื่องเกี่ยวกับอัลลอฮและคุณลักษณะของพระองค์
            ประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหวางอัลลอฮฺกับสิ่งถูกสร้างอาจมีข้อสงสัยว่าไฉนถึงเป็นเช่นนี้ หากย้อนไปดูความพยายามของอิสลามอันยาวนานในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพียงอยางเดียยว โดยไม่ย้อนไปดูความหลงผิดที่กองทับถมกันจนเป็นกองใหญ่พร้อมๆ กัน เขาอาจจะไม่ตระหนักในความสำคัญในสิ่งที่ถูกนำมากล่าวถึงครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เขาอาจจะไม่ตระหนักกึงความจำเป็นที่จะต้องมีความประณีตในการติดตามความรู้สึกทางจิตใจอย่างละเลียด แต่หากทบทวนสิ่งเหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน ก็จะมองเห็นความจำเป็นในการทุ่มเทความพยายามอันยาวนานที่ผ่านมา และจะมองเห็นบทบาทอันยิ่งใหญ่ของหลักความเชื่อที่อิสลามนำมาเสนอ หลักความเชื่อที่อิสลามนำมายังมนุษย์ เป็นหลักความเชื่อที่มาปลดเปลื้องจิตใจของมนุษย์ให้หลุดพ้นจากพันธนาการทีมีอยู่กับบรรดาพระเจ้าทั้งหลายทั้งมวล ปลดปล่อยจากความไม่ชัดเจนและเรื่องราวปรัมปราต่างๆ หลักความเชื่อที่อิสลามนำมาเป็นหลักความเชื่อที่สมบูรณ์และสดสวยที่สุด เป็นหลักความเชื่อที่มีสาระเรียบง่ายต่อการทำความเข้าใจ และมีความสมดุลจนหาที่เปรียบมิได้
          สัจธรรมที่เกิดขึ้นกับจิตใจและปัญญาจะต่างกับสิ่งที่เหล่าญาฮิลิยะฮ์นำมาเสนอ ไม่ว่าจะเป็นหลักความเชื่อ จินตนาการ เรื่องเล่าหรือแม้แต่ปรัชญาต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของความเป็นพระเจ้า และความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับโลก หลักความเชื่อของอิสลามคือ ความเมตตาของอัลลอฮฺ เป็นความเมตตาที่แท้จริงสำหรับจิตใจและปัญญาของมนุษย์เพราะหลักความเชื่ออันนี้มีแต่ความวิจิตรบรรจง เรียบง่าย ชัดเจนสมด

หมายเลขบันทึก: 161842เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2008 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตัฟซีรอัลกุรอาน ซูเราะฮ์-อัลฟาติหะฮฺ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท