สื่อการศึกษาทาไกล ผ่าน Internet


สื่อเพื่อการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย Internet ควรจะพัฒนาไปในทิศทางไหน

 

  • ได้โจทย์ใหม่มาอีกข้อหนึ่ง ความจริงก็เป็นโจทย์เก่านที่เคยทำมาแล้ว แต่มีคิดว่า น่าจะมีอะไรมากกว่าที่เคยทำมา คือเรื่อวงการพัฒนาสื่อ e-Learning ที่ว่าเป็นเรื่องเก่า เพราะทำมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ก้าวไปไหน เริ่มต้นย้อนหลังตั้งแต่ไปนั่งปฏิบัติการทำกันที่โรงแรมหัวหินแกรนด์ ในสมัยห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ตอนนั้นการทำงานบน Web เราเรียกสื่อว่า WBI ทำกันโดยใช้โปรแกรม Netcape Composer ในปีต่อมาโปรแกรม Dreamweaver เข่ามามีบทบาท ก็ได้ใช้โปรแกรมนี้สร้างสื่อ ที่โรงแรมเดิม กลับมาก็มาพัฒนาสื่อ เผยแพร่บน website จำนวนหลายเรื่อง ในชุดที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปและวัฒนธรรมอีสาน จำได้ว่ามีประมาณ 10 เรื่อง ต่อไปก็ไปช่วยศูนย์การศึกาษนอกโรงเรียนภาคกลางทำอีก จนกระทั่งปัจจุบัน คือ 2-3 ปี นี้ ได้ช่วยสถาบันการศึกษาทางไกล พัฒนาสื่อ แต่การใช้งานต่างออกไป แทนที่จะใช้งานใรูปแบบ WBI อย่างเดียว แต่สื่อดังกล่าวนำไปใส่ไว้ในระบบ LMS ของ e-Learning ทำให้สื่อที่สร้างมานั้น นำไปใช้ในรูปแบบการเรียนการสอนผ่าน Internet
  • ในปี 2549 ศนอ. ก็ได้พัฒนาะบบ e-Learning อย่างจริงจังอีกครั้ง โดยทำในรูปแบบ e-Training โดยนำเอาสื่อที่สร้างไว้ทั่งหมด เข้าไปไว้ในระบบ e-Learning ที่ใช้ระบบ Learnsquare แล้วเปิดให้มีการเรียนโดยไม่ต้องเสียเงิน และเข้าระบบ โดยไม่ต้องมีการ Login หรือมีการลงทะเบียน ดังนั้นสื่อที่สร้างขึ้นมาจึงเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน จากการเปิดจากหน้า website ของหน่วยงาน มาเปิดผ่าระบบ LMS และการสร้างสื่อ ก็ต้องสร้างผ่านระบบ CMS  โดยสื่อจะต้องอยู่ในมาตรฐาน SCORM
  • จากพัฒนาการที่กล่าวมานี้จะเห็นว่า ลักษณะสื่อและการนำไปใช้ มรการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่เมื่อมาดูที่ตัวสื่อ กลับคิดว่า เราไม่ได้พัฒนาอะไรไปมากเลย (หมายถึงสื่อที่เราทำนะ ไม่เกี่ยวกับสื่อที่มีทั่งไป) ที่กล่าวเช่นนีเพราะ ตอนที่ไปทำครั้งแรก ลักษระของสื่อก็เป็นข้อความประกอบภาพ ปัจจุบัน สื่อที่เราสร้าง ส่วนมากก็เป็นข้อความประกอบภาพเหมือนเดิม MUltimedia ตัวอื่นๆ มีน้อย โดยเฉพาะเรื่อง Interactive ไม่ค่อยมี และที่สำคัญ ไม่แน่ใจว่า กระบวนการนำเสนอสื่อ เป็นไปตามหลักการของการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือไม่
  • เคยจำได้ สมัยที่สร้งสือประเภท CAI ได้ถกกันมาก ถึงกระบวนการเรียนรู้ ว่าสื่อที่สร้าง จะสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างไร เช่น ผู้เรียนจะต้องทราบว่า เนื้อหาที่เขาจะเรียนนั้น เรียนไปทำไม เรียนแล้วจะได้อะไร พื้นฐานความรู้ของเขาเป็นอย่างไร นำเข้าสู้เนื้อหาอย่างไร รูปแบบการเรียนรู้จะต้องเป็นอย่างไร เช่น เนื้อหาที่ต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจ จะนำเสนออย่างไร เนื้อหาที่จะสร้างทักษะการคิด จะนำเสนออย่างไร เนื้อหาที่ต้องการสร้างเจตคติ จะนำเสนออย่างไร สิ่งเหล่านี้ เคยคิดและตระหนักกันมากในการสร้างสื่อ CAI แต่เมื่อพัฒนามาเป็นสื่อประเภท WBI กลับไม่ค่อยได้คิอเรื่องนี้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในระยะแรก มีข้อจำกัดอย่างมาก ในการใช้ ภาษา HTML หรือเขียน Script ให้สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าว จึงนำเสนอได้เฉพาะ ตัวหนังสือและภาพ แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีพวกนี้ก้าวไปไกลมาก ควรจะต้องกลับมาทบทวนสื่อที่สร้างในระบบ e-Learning ว่า ควรจะทำอย่างไร

     เนื่องจากรับผิดชอบบทบาทในการพัฒนาหลายด้านไปพร้อมกัน สำหรังงาน ICT ดังนั้น เมื่อได้งานมา 1 ชิ้น จึงต้องมาคิดว่า ทำอย่างไร จึงจะใช้เงินที่ได้มา สร้างงานให้ได้มากกว่า 1 ชิ้น เช่อย่างตัวอย่างตอนนี้ ได้งบประมาณมาพัฒนาสื่อ จำนวน 100,000 บาท แต่คิดว่า น่าจะได้มากกว่าสื่อ 1 ชิ้น จึงคิดเป้าหมายไว้ 3 เรื่องคือ

  • คนมีความรู้ในการพัฒนาสื่อ นั่นคือ แทนที่จะพัฒนาเฉพาะสื่อ ก็พัฒนาคนไปด้วนย เพราะถ้าเป้าหมายต้องการเพียงแค่สื่อ ไปจ้างบริษัททำก็ได้  แต่ถ้าเอาเงินนั้น มาพัฒนาคน ก็จะได้ทั้งสื่อ และคนก็มีความรู้ ที่จะไปพัฒนาสื่ออื่นๆ ได้อีก
  • ระบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาสื่อ คิดว่า ทำอย่างไรจึงจะมีกระบวนการพัฒนาบุคลากรที่ดี เพราะการพัฒนาสื่อจะต้องใช้กระบวนการพัฒนาทักษะ และใช้เครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่าง แนวความคิดเรื่อง Multimedia Lab จึงเกิดขึ้นมาอีกครั้ง
  • ระบบการพัฒนาสื่อ จะมีระบบในการพัฒนาอย่างไร จึงจะมีความสัมพันธ์กับระบบฐานข้อมูลคลังหลักสูตร (e-Service) และฐานข้อมูลคลังค;ามรู้ (knoeledge Bank) พร้อมทั้งนพำแช้กับระบบ e-learning
  • โปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาสื่อ น่าจะมี Application อะไร มาช่วยบ้าง

ดังนั้นจึงคิดว่า งบประมาณที่ได้รับมานี้ น่าจะมาคิดให้ครบวงจรดังที่กล่าวมากนี้

หมายเลขบันทึก: 161717เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับอาจารย์

              ต้องให้โจทย์ไปทำมาก่อน...แล้วค่อยมาร่วมบรรณาธิการ...เพื่อลงปฏิบัติจริง...ผมคิดว่าน่าจะดี...เดี๋ยวนี้คนเก่ง ๆ เยอะมาก...ข้อมูลก็มากครับ...แต่ไม่รู้ว่าเขาจะวางวัตถุประสงค์ว่าเอางานหรือเอาทั้งคนและงานเหมือนที่อาจารย์ว่า...

                                               ขอบคุณครับ

ขอบคุณนายช่างใหญ่มากครับ ให้ข้เสนอแนะที่เป็นประโยชน์

ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากเพื่อชาว ICT จึงขออนุญาตนำเอามาบันทึกไว้ต่อท้ายคงไม่ว่ากันนะครับ

--------------------------------------------------------------------------

ผมเห็นบล็อกของอาจารย์ จากลิงก์ด้านล่างนี้
http://esan.nfe.go.th/diary/srichao/index.php?datestamp=20080127&thisday=1&dfMonth=1&dfYear=2008
จึงอยากแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย

  • ปัญหาที่พบเรื่องการผลิตสื่อการเรียนการสอนนั้นคือ อบรมไปแล้ว ไม่เห็นมีใครไปผลิตสักเท่าไหร่เลย
    (เอ๊ะ แต่ผมทำเรื่อง jooomla กับ windows server บ้างเหมือนกันนะ)
  • ปัญหานี้ไม่ได้เกิดกับเราเท่านั้น  ผมได้คุยกับ ศน. ที่คุ้นกัน พบว่า ทาง สพฐ. ยิ่งกว่าเราสมัยก่อนนั้นอบรมหนักกว่า ทุ่มไปเยอะ สุดท้ายก็ไม่เคยได้เห็นสื่อต่างๆ ที่ทำกันออกมาเลยผมตั้งสมมติฐานไว้ว่า งานนี้อาจจใช้คนทำงานที่ไม่ถนัด  ผมได้เขียนเรื่องนี้ไว้ที่นี่แล้วครับ
    http://indochinahub.blogspot.com/2008/01/blog-post.html#links
  • ตอนท้ายนี่ ผมไม่ได้แสดงทางออกชัดๆ ไว้ จึงขอแสดงไว้ ณ ที่นี้บ้างดังนี้ครับ
     
  1. จ้างเขาทำเลย แต่เราเป็นผู้ออกแบบเนื่อหา เขียน storyboard ควบคุมคุณภาพ ทดสอบใช้งาน
  2. ตั้งคณะทำงานเรื่องนี้คัดเฉพาะคนที่สนใจมาช่วยกันทำ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาอบรมมาก หรือไม่ต้องอบรมเลยเพราะฝึกมาด้วยตัวเองอยู่แล้ว 
    อาจจะใช้เนื่อหาทีออกแบบเอง เหมือนข้อที่ 1 ก็ได้
  3. จัดประกวด Story Board ให้คนที่มีความคิด เขียนพวกเนื้อหาในรูป Story Board พร้อมระบุวิธีการทำงานโปรแกรมที่ใช้ พร้อมานำเสนอประกวดกัน  ผลงานที่เข้าตามกรรมการจะถูกวิเคราะห์ความเป็นไปใช้และเอาผลงานนั้นไปใช้ผลิตโดยการจ้าง(ข้อ 1) หรือคณะทำงานดำเนินการผลิต (ข้อ 2)
  • ไม่ว่าวิธีไหน ผมอยากให้ครูโดยทั่วไปมีทักษะในการออกแบบเนื้อหาและนำเสนอมากกว่าจะมากังวลเรื่องเทคนิคในการผลิตสื่อ ซึ่งเป็นเรื่องความชำนาญเฉพาะ
  • สุดท้าย เรื่องนี้เป็นแค่ความคิดเห็นเท่านั้นครับ ผมแค่ไม่อยากให้เราทำอะไรที่คล้าย สพฐ. ซึ่งก็คงจะได้ผลแบบ สพฐ. ด้วย
     
     
    ขอแสดงความนับถือ

ขออนุญาตเอานิทานของท่านมาเขียนต่อตรงนี้นะครับ

----------------------------------------

นิทานเรื่อง พ่อค้าก๋วยเตี๋ยวกับลูกชิ้น

  • กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานนี้ พ่อค้าก๋วยเตี๋ยวหลายๆ คนได้มารวมกลุ่มกันเป็นสมาคมช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ระหว่างกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย พวกเขามักพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการช่วยให้ลูกค้าได้รับประทานก๋วยเตี๋ยวที่สะอาด ถูกหลักอนามัย มีคุณค่าในราคาที่เหมาะสม
  • ในบรรดาพ่อค้าเหล่านั้น มีจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาไม่สามารถหาซื้อลูกชิ้นที่มีคุณภาพดีๆมาประกอบอาหารได้ จากสาเหตุหลายๆ ประการ เช่น ร้านพวกเข้าตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่ไม่ค่อยมีลูกชิ้นให้เลือก พวกเขาไม่มีข้อมูลว่าลูกชิ้นจากแหล่งผลิตแต่ละแห่งมีคุณภาพอย่างไร พวกเขาจึงมาหารือกันเพื่อหาวิธีแก้ไข

    "พวกเราก็ทำลูกชิ้นเอง สิ" ใครสักคนก็เสนอความคิดออกมา และหลายๆ คนก็เห็นด้วยเพราะจะได้ควบคุมคุณภาพลูกชิ้นให้ได้ตามความต้องการจากนั้นพวกเขาแต่ละคนก็ลงทุนหาอุปกรณ์ทำลูกชิ้น จัดหาผู้ที่มึความเก่งกาจมาช่วยสอนทำลูกชิ้นให้ ฯลฯ หลายปีผ่านไปพวกเขาก็ยังไม่สามารถผลิตลูกชิ้นที่มีคุณภาพเสียที

    "บางทีเครื่องจ้กรเราอาจจะไม่ทันสมัยลองเปลี่ยนเครื่องจักรดู นะ" พวกเขาก็พากันเปลี่ยนเครื่องจักร แต่ก็ไร้ผล
    "บางที เราควรเปลี่ยนสูตรทำลูกชิ้นดูนะ" พวกเราก็พากันเปลี่ยนสูตร ก็ยังไร้ผล
  • อนิจจา พ่อค้าเกี๋ยวเตี๋ยวเหล่านั้น เขาไม่เข้าใจเลยว่า สิ่งที่เขาเป็นคือ พ่อค้าก๋วยเตี๋ยว เขาไม่ยอมทำสิ่งที่เขาทำได้ดีที่สุด นั่นคือ ก๋วยเตี๋ยว เท่านั้น อาจมีบางคนสามารถทำลูกชิ้นได้ดีแต่ก็น้อยคนเหลือเกิน
  • นี่เป็นสาเหตุว่า ทำไมเขาถึงไม่สามารถทำลูกชิ้นอร่อยๆ ออกมาเสียที ส่วนลูกค้าก็ไม่ได้ทานก๋วยเตี๋ยวอร่อยๆ ก็เพราะลูกชิ้นที่ไม่อร่อยนั่นเอง



ผมเขียนนิทานเรื่องนี้เพื่อเปรียบเทียบกับเรื่องการผลิตสื่อ ครับ โดย
พ่อค้าก๋วยเตี๋ยว - คุณครูทั้งหลาย
ลูกชิ้น - สื่อการสอน
ลูกค้า - นักเรียน
เครื่องจักรและสูตรทำลูกชิ้น - สารพัดโปรแกรม เช่น Authorware , Captivate ฯ


ฝากไว้
- ท่านคิดว่าพ่อค้าเกี๋ยวเตี๋ยวเหล่านี้ควรทำอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าได้ทานก๋วยเต๊ยวดีๆ ?

เรา(กศน.) มองว่า  สื่อการศึกษาทางไกล ผ่าน Internet คือ คำตอบ การแก้ปัญหาความไม่รู้, ไม่เรียน, ไม่พอ(งปม. ครู ฯลฯ),  โดยอาจหลงลืมไปว่า สื่อการศึกษาทางไกล ผ่าน Internet  เป็น Channel หนึ่งเท่านั้นของการถ่ายทอดความรู้ (เหมือนทีวียังมี 3, 5, 7, 9 ตอนนี้ขาด ITV ไปรู้สึกเหงาชอบกล...เป็นเหมือนผมไหม)  

สื่อการสอนทุกประเภทมีธรรมชาติของตนเอง (ทั้งข้อดีและข้อด้อย) ซึ่งสื่อการศึกษาทางไกล ผ่าน Internet  ก็ไม่ได้รับการยกเว้นธรรมะข้อนี้ และที่ได้ยินมานานแล้วว่าการใช้สื่อประกอบการสอน ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้ผู้เรียน (ต่างจากเดิมครูเป็นผู้สอน) 

สิ่งที่ดูเหมือนขาดหายไปกับการใช้สื่อการศึกษาทางไกล ผ่าน Internet ก็คือกิจกรรมสนับสนุน หรือพูดให้แคบลงมาอีกก็คือ รูปแบบการใช้สื่อประเภทนี้ ซึ่งคงไม่ใช้เพียงนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท