สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

สันติวิธีในสังคมพหุวัฒนธรรม มุมมองจากสังคมอีสาน(สมานฉันท์เพื่อสันติสุข)


การจัดการความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรมที่สร้างสรร(สันติธรรม ยุติธรรม)จะ ก่อให้เกิดความสมานฉันท์

            สังคมอีสานเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ไม่อาจดำรงอยู่ได้ด้วยการแยกออกจากบริบทอื่นๆ เช่นการเมือง  การปกครอง เราจึงต้องนำมิติต่างๆมารวมกัน ส่งผลให้การจัดการความแตกต่างจำเป็นต้องคิดในภาพรวม ยึดหลักสังคมโดยประชาชนมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ  สันติวิธีเป็นเรื่องที่คนไทย คนอีสานไม่คุ้ยเคย ไม่เคยถูกหล่อหลอม อบรมบ่มเพาะ ยิ่งยุคทุนนิยม โลกาภิวัฒน์ ความเห็นแก่ตัว คลั่งซื้อ บ้าเดินห้างใหญ่ สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย นิยมบัตรเครดิตจนหนี้สินล้นพ้นตัว เห่อมือถือราคาแพง งมง่ายแฟชั่น ความพอเพียงเป็นแค่ลมปากอวดอ้าง จะเห็นได้ว่าแม้คนมุสลิม (แขก)จะถูกหล่อหลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย สังคมอีสาน แต่ก็ยังคงอัตลักษณ์ของกลุ่มของพวกไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ในอุดมคติมุสลิมมีแบบอย่างท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล)เป็นแบบปฏิบัติ มีพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน อันจำเริญเป็นทางนำ ดังนั้นทุสิ่งทุกอย่างถูกวางไว้หมดแล้ว จึงขึ้นอยู่ว่า ความเป็นตัวคนหรืออัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมจะถูกนำเสนอ แลกเปลี่ยน แบ่งปับกับผู้คนในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างไร ที่ไหนและเมื่อไหร่ เท่านั้น มุสลิมเป็นประชาชาติที่รักสันติ และประสงค์สร้างความสงบสุขบนหน้าแผ่นดิน รักบ้านเกิดเมืองนอน รักพระมหากษัตริย์ การหาโอกาสและเปลี่ยนวิถีวัฒนธรรมระหว่างเพื่อพ้องน้องพี่ต่างศรัทธาจึงมีไม่มากนัก และผู้ปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นก็ให้ความสำคัญน้อยมากๆ ความไม่เข้าใจ ความสงสัย ในการปฏิบัติศาสนกิจ รวมไปถึง กิจปฏิบัติทางความเชื่อ ศาสนาจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก คำถามที่เรามุสลิมได้ยินบ่อยๆเช่น ทำไมมุสลิมจึงไม่เข้าวัด ทำไมไม่กราบ ทำไมไม่ไว้ทุกข์ ทำไม ทำไม มีมากมาย เมื่อขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็ขาดองค์ความรู้ เมื่อเกิดความไม่เข้าใจก็เป็นความขัดแย้งและในที่สุดก็ลงเอยมาเป็นความรุนแรง เหมือนกันที่มุสลิมทางอีสานตั้งคำถามกับอำนาจรัฐสมัยคุณทักษิณว่า ปราบปราบยาเสพติดทำทไม่ต้องฆ่าผู้บริสุทธ์ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาบ้าเป็น 100- 200คน ทำไมทหารยุคทักษิณ ปฏิบัติกับผู้ชุมนุมตากใบด้วยการมัดมือมัดเท้าแล้วโยนทับซ้อนไปบนรถทหารมีคนตาย 78 คนและทุรพลภาพอีกนับ 100 ทำไมต้องฆ่าเยาวชนนักฟุตบอลที่ไม่รู้เรื่องอะไรที่ อำเภอสะบ้าย้อย อุ้มฆ่าคุณสมฃาย นีละไพจิตรทำไม นี่ก็เป็นประเด็นที่ขาดความรู้ความเข้าใจและค้างคาใจคนมุสลิมทั้งประเทศว่าทำไมต้องรุนแรง ต้องฆ่า ต้องปราบปรามและทำไมสันติวิธีใช้ไม่ได้หรือกับสังคมไทย การหาโอกาส เวลา และผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ของท้องถิ่น น่าจะได้เปิดเวที สานเสวนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันของพี่น้องในสังคมพหุวัฒนธรรมก่อนที่มันจะกลายเป๋นความไม่เข้าใจและบ่มเพาะไปสู่ความบาดหมากและลงเอยด้วยความรุนแรงอีก

 



ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

ไม่รู้จะแสดงความคิดเห็นอย่างไร เป็นคนอิสานค่ะ

รู้สึกว่าสังคมอิสาน เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงไปเยอะเลย เป็นสังคมที่ต่างคนต่างอยู่มากขึ้น

ขอบคุณที่ให้ข้อคิดค่ะ

  1.  จากที่ได้อ่านบันทึกคุณสมานฉันท์ ว่า
  2. "สังคมอีสานเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ไม่อาจดำรงอยู่ได้ด้วยการแยกออกจากบริบทอื่นๆ เช่นการเมือง  การปกครอง เราจึงต้องนำมิติต่างๆมารวมกัน ส่งผลให้การจัดการความแตกต่างจำเป็นต้องคิดในภาพรวม ยึดหลักสังคมโดยประชาชนมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ"
  3. "สันติวิธีเป็นเรื่องที่คนไทย คนอีสานไม่คุ้ยเคย ไม่เคยถูกหล่อหลอม อบรมบ่มเพาะ ยิ่งยุคทุนนิยม โลกาภิวัฒน์ ความเห็นแก่ตัว คลั่งซื้อ บ้าเดินห้างใหญ่ สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย นิยมบัตรเครดิตจนหนี้สินล้นพ้นตัว เห่อมือถือราคาแพง งมง่ายแฟชั่น ความพอเพียงเป็นแค่ลมปากอวดอ้าง"
  4. "จะเห็นได้ว่าแม้คนมุสลิม (แขก)จะถูกหล่อหลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย สังคมอีสาน แต่ก็ยังคงอัตลักษณ์ของกลุ่มของพวกไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ในอุดมคติมุสลิมมีแบบอย่างท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล)เป็นแบบปฏิบัติ มีพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน อันจำเริญเป็นทางนำ ดังนั้นทุสิ่งทุกอย่างถูกวางไว้หมดแล้ว จึงขึ้นอยู่ว่า ความเป็นตัวคนหรืออัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมจะถูกนำเสนอ แลกเปลี่ยน แบ่งปับกับผู้คนในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างไร ที่ไหนและเมื่อไหร่ เท่านั้น"
  5. "มุสลิมทางอีสานตั้งคำถามกับอำนาจรัฐสมัยคุณทักษิณว่า ปราบปราบยาเสพติดทำทไม่ต้องฆ่าผู้บริสุทธ์ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาบ้าเป็น 100- 200คน ทำไมทหารยุคทักษิณ ปฏิบัติกับผู้ชุมนุมตากใบด้วยการมัดมือมัดเท้าแล้วโยนทับซ้อนไปบนรถทหารมีคนตาย 78 คนและทุรพลภาพอีกนับ 100 ทำไมต้องฆ่าเยาวชนนักฟุตบอลที่ไม่รู้เรื่องอะไรที่ อำเภอสะบ้าย้อย อุ้มฆ่าคุณสมฃาย นีละไพจิตรทำไม" ฯลฯ
  6. ข้อ 2 ดูสมานฉันท์  แต่ข้อ 3-5 ควรพิจารณาว่าท่าทีที่มองอย่างนี้ สมานฉันท์  หรือแบ่งแยกกันแน่
  7. กรณีย์ข้อ 5 ก็ต้องพิจารณาที่นโยบายของรัฐบาลนั้น ๆ  และคำถามอย่างนี้  ก็ต้องดูเหตุปัจจัยที่ส่งผลมาเป็นทอด ๆ ประกอบ  ทุกสิ่งมิได้เกิดขึ้นเอง
  8. ข้อ 3 มีสองส่วน  ส่วนหนึ่งคือแนวคิดที่แยกตนพร้อมมองคนอื่นอย่างดูแคลน  อีกส่วนเป็นการวิเคราะห์ที่ขัดแย้งอย่างยิ่งกับที่คุณกล่าวในข้อ  2 (ไม่มองแบบพหุปัญญา  แต่มองโดยอ้างอิงอัตลักษณ์ที่เข้าใจว่าตนเองมี)
  9. คอมเมนท์นี้เข้ามาอ่าน  และรู้สึกได้ว่าในข้อ 3 คุณมองสังคมไทย  สังคมอีสานอย่างตรงข้ามกับสมานฉันท์มาก  คุณมีความสุขดีที่อีสาน  เพราะทุกคนรักสันติมิใช่หรือ

 

 ขอบคุณมากครับที่ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับบันทึกของผม ผมเห็นว่าการนำเสนอของผมมีความพยายามทำความเข้าใจเรื่องพหุวัฒนธรรมมากนะครับ และที่ผมแลกเปลี่ยนลงไปเรื่องอัตลักษณ์มุสลิม มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ มุมมองนี้ได้แลกเปลี่ยนกับท่านพระอาจารย์มหาสาคร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่นด้วยท่านก็เห็นไม่ต่างจากที่ผมนำเสนินะครับ และเรื่องที่ผมพยายามแลกเปลี่ยนเรื่องปัญหาการกระทำที่อำนาจรัฐสมัยทักษิณกระทำกับมุสลิม เรื่องนี้ไม่ใช่ผมคิดคนเดียว มุสลิมทั้งประเทศคิดและรู้สึกเห็นนี้ และผมได้นำเสนอประเด็นนี้อย่างเป็นทางการคราประชุมหัวข้อที่ผมแลกเปลี่ยนนี่ท่ามกลางทหาร ตำรวจ นักวิชาการมหาวิทยาลัยมากมายว่า เรื่องดังกล่าวนี้มีความสำคัญและจำเป็นในเรื่องความยุติธรรม และค้นหาผู้กระทำผิดตัวจริง ก่อนที่จะพูดเรื่องสมานฉันท์ เพราะจะสมานฉันท์แต่ความรู้สึกที่ถูกกดขี่ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมที่ยังค้างคาไม่สามารถกล่าวคำว่าขอโทษเท่านั้น  นี่เป็นประเด็นวิจัยที่ผมสอบถามพี่น้องที่เดินทางขึ้นมา ดะวะส์ตับลิกจากภาคใต้จำนวนไม่ต่ำกว่า 1,000 คนทีเดียว ผมไม่เคยดูแคลนคนอีสาน แม่ผมเป็นคนอุบลราชธานี และผมจบการศึกษาที่ประสานมิตรระดับปริญญาโทอีสานคดีศึกษา มีจิตศรัทธายกย่องให้เกียรติและศรัทธาคนอีสานมากซึ่งหลายเรื่องต้องแยกแยะ ว่าปัจจุบันมันเกิดเรื่องเหล่านี้จริงๆ และเรื่องอัตลักษณ์ของมุสลิมก็เป็นไปเช่นนี้จริงๆ ผมคิดเสมอว่าหากสังคมอีสานประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสันติวิธีมากกว่านี้ความรุนแรงไม่ได้หมายถึงภาคใต้แต่หมายถึงเรื่องหย่าร้าง เรื่องครอบครัว เรื่องผู้หญิง เด็ก และปัญหาความรุนแรงในอีสานน่าจะดีกว่านี้ จะว่าผมมีความสุขดีที่นี่ไม่ใช่เลยคนอีสานที่เห็นและเป็นอยูเดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อปี 2524 ที่ผมขึ้นมาทำงานมาก เปลี่ยนไปเป็นคนละเรื่อง แม่แต่ในระดับหมู่บ้านที่ความเจริญเข้าไปถึงก็เปลี่ยน และผมยังเชื่อว่าหากมีการสื่อสารเรื่องความรุนแรงในภาคใต้มากๆเหมือนที่สื่อมวลชนแยกแยะความจริงไม่ออก และมักชูเรื่องศาสนา ประกอบกับมีแนวคิดคลั่งชาติ ศาสนาเกิดขึ้นได้ง่ายหากขาดความเข้าใจ  เชื่อว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนกลุ่มน้อนเหล่านี้ ดังนั้นผมจึงเห็นว่า ผมไม่มีความสุขกับสถาพอย่างนี้เหมือนที่คุณกล่าวมาในข้อ 3  หากอยากแลกเปลี่ยนกับผมมากกว่านี้โทร 084  2658008 ผมยินดีแลกเปลี่ยนครับ ขอบคุณครับ

 

การที่ชาวมุสลิมจะให้คนอื่นเข้าใจความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองนั้น ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากสังคมมุสลิมเป็นสังคมปิดซึ่งแตกต่างจากสังคมพุทธที่เป็นสังคมเปิด ส่งผลทำให้ขาดการสื่อสารกับสังคมต่างวัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี และความเชื่อ

วิธีแก้ไขก็คือว่าชาวมุสลิมแทนที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นหันมาเข้าใจตนเอง ตนเองนั่นแหละจะต้องสร้างความเข้าใจด้วยการเปิดตัวเองและด้วยการสื่อสารกับสังคมอื่น ๆ ให้มากขึ้น

ความแปลกแยกแตกต่างระหว่างสังคมมุสลิมกับสังคมอื่น มิใช่มีแต่เรื่องวัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี และความเชื่อเท่านั้น แต่สังคมมุสลิมเลือกที่จะสร้างความแตกต่างในแง่ของการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักการทางศาสนาบางประการที่ไม่ยืดหยุ่น

การเปลี่ยนคนอื่นผมมองว่าเป็นเรื่องยาก แต่การเปลี่ยนตัวเองน่าจะง่ายกว่ากันเยอะ ดังนั้น ชาวมุสลิมต้องยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองบ้างในยุคโลกาภิวัตน์บ้าง คำตอบที่ได้รับก็คือยากมากเพราะมุสลิมมีความเป็นอนุรักษ์นิยมสูง นอกเสียจากว่าจะเปลี่ยนคนทั้งโลกให้เป็นมุสลิมเท่านั้นน่าจะง่ายกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท