การบริหารฝ่ายกิจการนักเรียน


ยาเสพติด

ชื่อวิจัย  การบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับการรณรงค์ต่อต้านสารเสพติดในโรงเรียนปากน้ำปราณวิทยา  สพท.ปข เขต 2  ในระบบการต้านยาเสพตติด ( QAD ) ของสภากาชาดไทย

             

ผู้วิจัย  ว่าที่ พันตรี กิตติธัช   แสนภูวา

 บทคัดย่อ                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)  ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติดในโรงเรียนปากน้ำปราณวิทยา สพท.ปข.เขต 2 (2)   เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติดในโรงเรียนใน สพท.ปข.เขต  2(3)   ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2                     กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา  16  คน ครู 65 คน ประธานกรรมการสภานักเรียน 16 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 16   คน จากสถานศึกษาขนาดเล็ก   สถานศึกษาขนาดกลาง  และสถานศึกษาขนาดใหญ่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์เนื้อหา                     ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติดด้านการป้องกันสารเสพติดปฏิบัติงานในระดับมาก  ส่วนด้านการป้องปรามสารเสพติดและด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพปฏิบัติงานในระดับน้อย  (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์  เขต 2  พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นโดยรวมว่า ขนาดสถานศึกษาที่แตกต่างกัน มีสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติดด้านการป้องกันสารเสพติด ด้านการป้องปรามสารเสพติด และด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2  ด้านการป้องกันสารเสพติดมากที่สุด ได้แก่ สถานศึกษาควรให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะและโทษสารเสพติดแก่นักเรียนโดยวิธีสอดแทรกความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ด้านการป้องปรามสารเสพติดมากที่สุด ได้แก่ สถานศึกษาควรมีระเบียบบังคับ และบทลงโทษที่ชัดเจน และควรประชาสัมพันธ์ให้ครูในโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนทราบ และด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมากที่สุด ได้แก่ สถานศึกษาควรหลักธรรมและจิตวิทยา ในการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด  คำสำคัญ  การบริหารงานกิจการนักเรียน  ปัญหายาเสพติด
หมายเลขบันทึก: 161665เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กฎหมายยาเสพติด..ควรรู้

          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาชนิดใด ๆ หรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายสมองและจิตใจ

กฎหมายแบ่งประเภทยาเสพติด  ในทางกฎหมาย สิ่งที่ถือว่าเป็นยาเสพติดนั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากไม่มีกฎหมายระบุไว้ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ยาเสพติด แม้ว่าสิ่งที่เสพนั้นจะมีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการเสพติดได้ก็ตาม เช่น บุหรี่ สุรา

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ..2522 ได้แบ่งยาเสพติดให้โทษ (มาตรา7) ออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

q       ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง มี 38 รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน แมทแอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี

q       ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มี 102 รายการที่สำคัญ คือ ใบโคคา โคคาอีน โคเดอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง เมทาโดน มอร์ฟีน ฝิ่นยา (ฝิ่นที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งเพื่อใช้ในทางยา) ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น)

q       ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติด ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย

q       ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 มี 32 รายการที่สำคัญ เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ , อาเซติค คลอไรด์

q       ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม และพืชเห็ดขี้ควาย

ข้อหา

ยาเสพติดให้โทษประเภท1

ยาเสพติดให้โทษประเภท2

ผลิตน้ำเข้าส่งออก

-จำคุกตลอดชีวิต (.65.1)

-ถ้ากระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (.65.2)

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย (.15)

-จำคุก 1-10 ปีและปรับ 10,000 บาท (.68)

-ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จำคุก 20 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 200,000-500,000 บาท(.68)

จำหน่ายครอบครองเพื่อจำหน่าย

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัมจำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000-500,000 บาท (.66.1)

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต (.66.2)

-จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000 บาท-100,000 บาท(.69.2)

-ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 3-20 ปี และปรับ 30,000-200,000 บาท ถ้าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000-500,000 บาท(.69.4)

ครอบครอง

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000บาท (.67)

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (.15)

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (.69.1)

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 100 กรัม ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (.17)

เสพ

-จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปีและปรับ 5,000-100,000 บาท (.91)

-จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปีและปรับ 5,000-100,000 บาท (.91)

ใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้ายฯ

-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000บาท (.93)

-กระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000บาท

-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000บาท

-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000บาท (.93)

-กระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000บาท

-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000บาท

ให้ผู้อื่นเสพ

-ถ้าเป็นมอร์ฟีน หรือโคคาอีน ระวางโทษเพื่มกึ่งหนึ่ง (.93.4)

-ถ้าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท1 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต (.93.5)

-ถ้าเป็นมอร์ฟีน หรือโคคาอีน ระวางโทษเพื่มกึ่งหนึ่ง (.93.4)

-ถ้าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท1 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต (.93.5)

ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ

-จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000-50,000 บาท (.93ทวิ)

-จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000-50,000 บาท (.93ทวิ)

ข้อหา

ยาเสพติดให้โทษประเภท3

ยาเสพติดให้โทษประเภท4

ผลิตนำเข้า

-จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (.70)

-จำคุกตั้งแต่ 1-10ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (.73)

ส่งออกจำหน่าย

-จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (.71)

-จำคุกตั้งแต่ 1-10ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (.73)

ครอบครองเพื่อจำหน่าย

-

-จำคุกตั้งแต่1-10ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (.74.2)

ครอบครอง

-

-จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (.74)

-ถ้า 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (.26.2)

เสพ

-

-

ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้ายฯ ให้ผู้อื่นเสพ

-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท(.93)

-ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (.93.2)

-ถ้ากระทำผิดต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท (.93.3)

-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท(.93)

-ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (.93.2)

-ถ้ากระทำผิดต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท (.93.3)

ข้อหา

ยาเสพติดให้โทษประเภท 5

ไม่รวมพืชกระท่อม

ยาเสพติดให้โทษประเภท 5

เฉพาะพืชกระท่อม

ผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่าย

-จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (.75.1)

-จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท (.75.2)

ครอบครองเพื่อจำหน่าย

-จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (.76.2)

-จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท (.76.4)

ครอบครอง

-จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (.76 .1)

-ถ้า 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (.26.2)

-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (.76.3)

-ถ้า 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (.26.2)

เสพ

-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท (.92.1)

-จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท (.92.2)

ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้ายฯ ให้ผู้อื่นเสพ

-จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (.93)

-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท

-จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (.93)

-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท

ยุยงส่งเสริม ให้ผู้อื่นเสพ

-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท (.93 ทวิ ว.2)

-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท (.93 ทวิ ว.2)

         ...มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ..2534

วัตถุประสงค์  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยเฉพาะการมุ่งเอาผิดต่อผู้ค้ายาเสพติด ระดับนายทุน และตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด และริบทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการค้ายาเสพติด เพื่อขจัดแหล่งเงินทุนในการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด

          ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดและศาลสั่งริบ ให้ตกเป็นของ กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเพื่อนำทรัพย์สินที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป

ข้อคิดสำหรับผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

ไม่ว่าจะได้รับทรัพย์สินเงินทองมากเท่าใดจากการผลิต การค้ายาเสพติด ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์สิน หรือโอนไปอยุ่ในชื่อของใครก็ตาม เช่น ลูกเมีย ญาติพี่น้อง หรือคนใกล้ชิด   หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินเหล่านั้นได้มาอย่างบริสุทธิ์ ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินนั้นให้ตกเป็นของ กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต่อไป และยังต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกอีกด้วย

อัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด 

        ผู้ที่แจ้งข่าวสารยาเสพติด แก่เจ้าหน้าที่จนสามารถจับกุมผู้กระทำผิด และของกลางยาเสพติดได้ ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินค่าตอบแทนการแจ้งข่าวนำจับ เรียกว่า เงินสินบนเงินรางวัลซึ่งมีอัตราการจ่ายเงินตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด พ..2537 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

    1. เฮโรอีน                   กรัมละ  10 บาท

    2. มอร์ฟีน                   กรัมละ  <

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท