Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

งานวิจัยสิทธิทางสุขภาพของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติควรจะมีจุดศูนย์กลางที่เรื่องซึ่งเกิดขึ้นจริงในสังคมไทย


ในประสบการณ์ของ อ.แหววที่ได้สัมผัสคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติที่เจ็บป่วย อ.แหววขอตั้งข้อสังเกตด้วยค่ะว่า

แบบสอบถามนี้น่าจะสะท้อนเรื่องราว ๓ ชุดนะคะ

ชุดแรก ก็คือ เรื่องราวของความไร้สัญชาติไทยของมนุษย์ในสังคมไทย จนถูกปฏิเสธสิทธิในหลักประกันสุขภาพโดย สปสช. ซึ่งอยากให้งานวิจัยชุด A1 ช่วยสะท้อนให้ สปสช. เห็นคนที่มีสัญชาติไทย แต่โชคร้ายถูกกระทำโดยระบบทะเบียนราษฎร และถูกซ้ำเติมโดย สปสช. กรณีป้าเจรียง กรณีน้องออย คงแสดงให้เห็นมายาคติของสัญชาติไทยได้ดี ความเป็นจริงที่ สปสช.ควรรู้ และปรับเปลี่ยนระบบประกันสุขภาพมิให้ซ้ำเติมคนสัญชาติไทยที่โชคร้ายทางทะเบียนราษฎรเหล่านี้

ชุดที่สอง ก็คือ เรื่องราวของความเจ็บป่วยที่จู่โจมคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ ซึ่งจะเห็นว่า มักจะร้ายแรง ทั้งที่มิใช่โรคที่ร้ายแรง ความไร้รัฐความไร้สัญชาติอาจทำให้เข้าไม่ถึงระบบการป้องกันโรคหรือเปล่าหนอ

ชุดที่สาม ก็ตือ เรื่องราวของมนุษย์นิยมในวงการสาธารณสุขไทย แม้นโยบายของ สปสช.จะมีลักษณะอมนุษย์นิยม  แต่เรื่องนี้ดูไม่ร้ายแรง เพราะความพยายามที่จะรักษาโรคให้แก่คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติปรากฏขึ้นมากมาย กรณีของกองทุนโรงพยาบาลในหลายโรงพยาบาลแสดงถึงความไม่ยอมแพ้ของคนทำงานด้านสาธารณสุขต่อกฎหมายที่เป็นใบ้และนโยบายที่ไร้ใจ หรือกรณีของการสงเคราะห์น้องวิน หรือน้องวิษณุ หรือลุงติ๊ ก็เป็นอะไรที่สวยงาม เราตระหนักในความน่าเทิดทูนของคนที่ทำงานด้านสาธารณสุข

กรณีศึกษาหรือที่เราดัดจริตเรียกว่า Case Study จึงจะเป็น "บทเรียน" ให้เราดึงให้ผลการวิจัยของเรา realiste มากที่สุด

อ.แหวว อยากเห็น ทีมวิจัยทุกคนมุ่งมาใช้กรณีศึกษาของเราเป็นตัวทดสอบบทวิจัยของเรา

อยากถามเอกว่า ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น เขาจะทิ้งให้คนอย่างป้าเจรียงตายจากไปแบบนี้ไหม ?

อยากถามสุว่า ที่ประเทศอังกฤษ เขาจะปล่อยให้น้องออยต้องเกิดขึ้นมา โดยมิได้ทำในสิ่งที่ควรทำหรือไร ?

อยากถามเตือนว่า ประชาคมระหว่างประเทศคาดหวังที่จะให้ประเทศไทยทำอย่างไรต่อน้องออยหรือป้าเจรียง ?

อยากถามไหมว่า จริงหรือที่น้องออยและป้าเจรียงมิใช่ "บุคคล" ในกฎหมายหลักประกันสุขภาพ หรือกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ ?

อยากถามจ๊อบว่า จะต้องทำอย่างไรที่จะทำให้กองทุนในโรงพยาบาลมีความสามารถที่จะช่วยคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ?

และอยากถามด๋าวว่า ทำอย่างไรหลักประกันสุขภาพเป็นของมนุษย์ทุกคนในสังคมไทยอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ?

กลับมาถามแก้วและชลว่า จะใช้เวลาอีกนานไหมที่จะเล่าเรื่องของทุกกรณีศึกษาออกมาให้สังคมไทยได้เรียนรู้และถอดประสบการณ์

ขอบใจที่ทุกคนมารวมตัวกันเพื่อทำงานวิจัยชุดนี้ รักทุกคนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 161436เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2008 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามอ่านงานของอี๋ มาเจองานเขียนของอาจารย์
  • ขออนุญาตเอาเข้าแพลนเน็ตครับ

อิอิ

  • ว่างอาจารย์แวะเยี่ยมคนอีสานบ้างนะครับ
  • หรือเข้าไปดูชุมชนคนทอผ้าของเราได้ที่
  • www.isantextiles.net
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท