Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

นิยามและการจำแนกสิทธิทางสุขภาพ


              ในทีมวิจัยของเราได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องสิทธิและสุขภาพ เราก็คงต้องนิยามและจำแนก Right and Health ให้ชัด
 
               ในประการแรก อ.แหววคิดว่า น่าจะเป็นเรื่องของ Right to health access ซึ่งแปลว่า แม้จะไร้รัฐ เมื่อป่วย โรงพยาบาลจะโยนออกมา และปฏิเสธการรักษาพยาบาลไม่ได้ค่ะ
               ในประการที่สอง อ.แหววเรียกว่า Right to health garantie ซึ่งก็แปลว่า รัฐย่อมจะต้องทำให้คนทุกคนมี "หลักประกัน" ที่จะได้รับสุขภาพที่ดี ซึ่งจะไม่น่าจะประกันความสามารถที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลอย่างเดียว ความไร้เงินที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลมิใช่ "ความเสี่ยง" อย่างเดียวของคนป่วยค่ะ แต่ยอมรับว่า เงินค่ารักษาพยาบาลเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งในวันนี้ หมอไทยเก่งค่ะ เมื่อรัฐไทยสิ้นท่าในการให้ "หลักประกันสุขภาพ" แก่คนไร้รัฐ หลายโรงพยาบาล ก็คิดเรื่อง "หลักประกันสุขภาพทางเลือก" ขึ้นมาได้ ทีมวิจัยของเธอจึงต้อง "ถอดประสบการณ์" ของความพยายามที่จะอุดช่องว่างนี้ของเหล่านักวิชาชีพสาธารณสุข   
                ในประการที่สาม อ.แหววเรียกว่า Right to health fulfilment ซึ่งก็คือ การรับรองสิทธิที่จะได้การรักษาพยาบาลจนหายดีค่ะ จะรักษาเท่าที่มีเงินไม่ได้ค่ะ
            ในประการที่สี่ อ.แหววเข้าใจว่า มัน ก็คือ Right to health utility ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษแบบแปลกๆ อีกแล้วเรา ก็พยายามจะอธิบายถึง "สิทธิในการใช้ประโยชน์จากความมีสุขภาพดี" เปรียบเทียบกับคนเรียน ก็น่าจะทำงานได้จากเรื่องที่เรียน จึงต้องออกใบรับรองวุฒิการศึกษาให้เด็กไร้รัฐที่เรียนจบในประเทศไทย ในขณะที่ต้องออกใบรับรองแพทย์ใหแก่คนไร้รัฐที่ปรากฏตัวในสังคมไทย
          อันนี้ ก็คือ การตอบในเชิงการวิเคระห์สิทธิในชีวิตจริงของมนุษย์ ลองตรวจสอบซิคะ ว่ามนุษย์ทุกคนบรรลุถึงสิทธิในสุขภาพดีครบทุกระดับไหม และประชาคมระหว่างประเทศคาดหวังให้รัฐไทยทำแค่ไหน ?
หมายเลขบันทึก: 161338เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท