safety goals วันที่4


 ต่อจากครั้งที่แล้ว

24 มค.51 I-COMMIT วันนี้เป็นเรื่อง  I –Accuracy of Patient Identification -  ความถูกต้องในการระบุตัวผู้ป่วย  คุยกันในเรื่อง

            1.มาตรฐานในการทำบัตร และเวชระเบียนผู้ป่วย

            2.มาตรฐานในการระบุตัวผู้ป่วย

            3.มาตรฐานในการระบุตัวผู้ป่วย และตำแหน่งเมื่อ มีการผ่าตัด หัตถการ

           4.มาตรฐานในการระบุตัวผู้ป่วยเมื่อให้สารน้ำ เลือด ยา

           5.มาตรฐานในการระบุตัวผู้ป่วยเมื่อเก็บสิ่งส่งตรวจ 

กลุ่มที่ 1 มาตรฐานในการทำบัตรและเวชระเบียน

            -การทำบัตรผู้ป่วยเพื่อระบุตัวถูกต้องควรทำอย่างไร

            -แฟ้มผู้ป่วยจะส่งให้ถูกตัวถูกต้องได้อย่างไร

            -เอกสารในแฟ้มสามารถระบุตัวผู้ป่วยได้ถูกต้องได้อย่างไร

           -ผล Lab หรือชิ้นเนื้อจะมาอยู่ถูกแฟ้ม ถูกคนและถูกต้องได้อย่างไร

 I-COMMITการทำบัตรและเวชระเบียน

 1.ทำบัตรใหม่ทุกคนต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีเลข 13 หลัก กรณีเด็กให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้าน กรณีฉุกเฉินต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ

2.บัตรผู้ป่วยจะมีเลข 13หลัก

3.กรณีขอแฟ้มตรวจ ผู้ป่วยต้องยื่นบัตรโรงพยาบาล (ถ้าไม่ได้นำบัตรโรงพยาบาลมา ตรวจสอบบัตรประชาชน กรณีเด็กใช้สำเนาทะเบียนบ้าน)

4.จะต้องมีการประชาสัมพันธ์แจ้งล่วงหน้า

 กลุ่มที่ 2 มาตรฐานในการระบุตัวผู้ป่วยนอก

   -เรียกผู้ป่วยเข้าตรวจอย่างไรให้ถูกคนถูกแฟ้มทั้งรู้สึกและไม่รู้สึกตัว

   -เก็บสิ่งส่งตรวจอย่างไรให้ถูกคนทั้งผู้ป่วยรู้สึกและไม่รู้สึกตัวและรายงานผลอย่างไรให้ถูกคนถูกแฟ้ม

   -จะให้สารน้ำ เลือด ยา อย่างไรให้ถูกคนทั้งรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว

   -จะทำหัตถการให้ผู้ป่วยอย่างไร ให้ผู้ป่วยถูกคนถูกแฟ้มทั้งรู้และไม่รู้ตัว

   -จะX-ray USG อย่างไรให้ถูกแฟ้มถูกคน

   -ออกใบนัดให้ถูกคนถูกต้องได้อย่างไร

I-COMMIT การระบุตัวผู้ป่วยนอก

1.กรณีเรียกผู้ป่วยเข้าตรวจ จะระบุคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุล

2.ก่อนจะทำกิจกรรมกับผู้ป่วยทุกอย่างจะต้องระบุตัวอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่โรงพยาบาล โดยต้องตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องตรงกัน

3.ผู้ป่วย ER จะมีป้ายข้อมือ และป้ายชื่อนามสกุล HN ที่เตียง

4.เอกสารทุกแผ่นของผู้ป่วยจะต้องติดสติกเกอร์ระบุชื่อ สกุล HN ผู้ป่วย ถ้าเริ่มแผ่นใหม่ที่ไหน ให้หน่วยงานนั้นติดสิ่งส่งตรวจและใบนำส่งให้ติดสติกเกอร์ทุกแผ่นทุกชิ้น และระบุตำแหน่งที่เก็บสิ่งส่งตรวจด้วยเช่น หนองจากแผลที่............

 กลุ่มที่ 3 มาตรฐานในการระบุตัวผู้ป่วยใน (ทารก เด็ก และผู้ใหญ่)

   -ระบุตัวผู้ป่วยในทำอย่างไร ที่ไหนบ้าง

   -เก็บสิ่งส่งตรวจอย่างไรให้ถูกคนและรายงานผลอย่างไรให้ถูกคนถูกแฟ้ม

    -จะให้สารน้ำ เลือด ยา อย่างไรให้ถูกคน

   -จะทำหัตถการให้ผู้ป่วยอย่างไร ให้ผู้ป่วยถูกคน ถูกข้างถูกแฟ้ม

   -จะส่งไป X-ray หรือ USG อย่างไรให้ถูกคนถูกแฟ้ม และได้ผลกลับมาถูกคนถูกแฟ้ม

-เอกสารต่างๆในchart จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นของใคร

 I-COMMITในการระบุตัวผู้ป่วยใน

1.ป้ายข้อมือของทารกใช้สีแทนเพศ วัสดุกันน้ำ สามารถถอดและติดใหม่ได้

2.ในป้ายชื่อผู้ป่วยระบุ 3 สิ่งเป็นอย่างน้อย คือชื่อ นามสกุล HN

3.ก่อนจะทำกิจกรรมกับผู้ป่วยทุกอย่างจะต้องระบุตัว อย่างน้อย 3 อย่าง เช่น ชื่อ นามสกุล เตียง  โดยต้องตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องตรงกัน

4.สิ่งส่งตรวจและใบนำส่งให้ติดสติกเกอร์ทุกแผ่นทุกชิ้น และระบุตำแหน่งที่เก็บสิ่งส่งตรวจด้วยเช่น หนองจากแผลที่............

5.เอกสารทุกแผ่นของผู้ป่วยจะต้องติดสติกเกอร์ระบุชื่อ สกุล HN ผู้ป่วย ถ้าเริ่มแผ่นใหม่ที่ไหน ให้หน่วยงานนั้นติด

 

 

หมายเลขบันทึก: 161202เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2008 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาเยี่ยมปิ่งค่ะ

ดีมากค่ะที่ปิ่งสรุป  หมอจะได้เข้าใจด้วย

 เวลาหมอมาตรวจที่ OPD อาจจะถูกอาจารย์สอบได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

งานนี้ต้องปรบมือดังๆให้ "หมอนุ้ย" มือประสานสิบทิศ เห็นว่าจะเขียนถอดบทเรียนหลังเสร็จงานแล้วด้วยค่ะ  นอกนั้นทีมหลักๆก็จะมีพี่มอม พี่ปัท พี่ปลา เล็ก(ศุภ) และทีมคุณอำนวย(สะสมชั่วโมงบิน) เช่น ไก่ พัชรา(ต) อัจฉรา(อิ้ด) สมจิตร พี่พรรณี ทันสิษ สมถวิล แมว เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท