ประชุมคณะทำงาน "การจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร"ตอนที่ ๒


เนื้อในวันนั้นที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

สัวัสดีคะหลังจากห่างหายจากการเขียนบล็อคไปหลายวัน วันนี้กลับมาแล้วนะคะ พร้อมกับเนื้อในของการประชุมวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ แต่เบื้องต้อนสำหรับวันนี้ขอเล่าในช่วงแรกที่ลุงประยงค์ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครมาให้อ่านกันก่อนนะคะ

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครทั้งหมด ๘ ท่านแต่วันนี้เราเชิญมาประชุมทั้งหมด ๑๗ ท่านด้วยเหตุที่ว่าเราจะมีการประชุมคณะทำงานชุดใหญ่เบื้องต้นแจ้งว่าวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ แต่เนื่องจากจ่าจังหวัดแจ้งว่าวันที่ ๒๑ มีหลายท่านไม่พร้อมคือนายอำเภอไม่พร้อมก็เลยจะเลื่อนไปเป็นวันที่ ๗ มีนาคม
การประชุมวันนี้ส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความรู้จักกันและก็เพื่อรับทราบแนวความคิดของโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครและได้หารือเพื่อเตรียมการในฐานะที่เป็นคณะทำงานทางวิชาการก็มีวัตถุประสงค์ คร่าว ๆ ๒-๓ เรื่องในเบื้องต้นก็ให้ทำความรู้จักกันก่อนว่ามาจากที่ไหนบ้าง
๑)       ภีม  ภคเมธาวี ทำงานที่ ม.วลัยลักษณ์ ตำแหน่งคณะทำงานและเลขนุการของคณะทำงานทางวิชาการ
๒)     อาจารย์พรเพ็ญ  ทิพยนา  มาแทนคณะบดีสำนักวิชาการจัดการ ม.วลัยลักษณ์
๓)     คุณชะอ้อน  จูเมฆา    แทนพัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช
๔)     คุณพัชณีย์  พนิตอังกูร  จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
๕)     อาจารย์ฤกษ์ชัย   จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
๖)       
๗)      
๘)      
๙)      อาจารย์จำนง  หนูนิล  จาก กศน.เมือง
๑๐)   คุณสมบูรณ์  ชุตินันทกุล  งานนโยบายและแผนงานศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
๑๑)   คุณถาวร  คงแก้ว   จ่าจังหวัดนครศรีธรรมราช
๑๒)  คุณธนิต  สมพงศ์  ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
๑๓)  คุณสมพงศ์  รักษาธรรม  จาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
๑๔)  คุณพิเชษฐ์  อินนุพงศ์  หัวหน้าสาขา ม.รามคำแหงจังหวัดนครศรีธรรมราช มาแทนท่านรองอธิการ
๑๕)  คุณเกษร     รอง ผอ.กศน.จ.นครศรีธรรมราช
๑๖)  คุณโสภณ  คงจังหวัด   ธกส.
๑๗)  คุณประเสริฐ ศรีเจริญ  ธกส.
๑๘)  
๑๙)   คุณประยงค์  รณรงค์
๒๐)  คุณกิตติ   จากอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
๒๑)  คุณหทัย  เหมทานนท์
๒๒) คุณจิรา  กาญจนภักดิ์
ต้องขออภัยด้วยนะคะที่รายชื่อบางรายชื่อขาดไปเนื่องจากว่าไม่ได้หยิบเอาบันทึกที่เขียนไว้มาด้วยถอดจากเทปได้ยินไม่ค่อยชัดนะคะ เดี๊ยวกลับไปนครศรีธรรมราชจะเพิ่มเติมให้คะ (ตอนนี้อยู่ลำปางคะ)

เริ่มต้นเมื่อรู้จักกันแล้วอยากจะให้ทำความเข้าใจในตัวโครงการก่อน ความเป็นมาเท่าที่ผมทราบเกิดจากเครือข่ายยมนากับทางปกครองจังหวัดร่วมกันทำโครงการมาก่อนหน้านี้ ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อยอดให้น้ายงค์กับพี่ถาวรจ่างจังหวัดเล่าความเป็นมาของโครงการที่มาที่ไป

ลุงยงค์
ที่จริงเรื่องนี้ก็คุยกันหลายรอบ รอบแรกก็คุยกันเล่น ๆ กับท่านผู้ว่าช่วงแรกท่านผู้ว่าทำคาราวานแก้จน ก็ถามผู้ว่าว่าคาราวานแก้จนที่ทำสามารถจะแก้ได้หรือเปล่า ตรงนั้นได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งแต่ต้องทำตามนโยบาย หากมีสิ่งที่สอดคล้องสัมพันธ์ต่อเนื่องกันก็น่าจะค้นหา ผมก็มีความคิดว่าเรามีความจำเป็นที่จะต้องค้นหาคนจนให้ได้และจะได้ทราบสาเหตุของความยากจนอย่างแท้จริงแล้วสามารถแก้ปัญหาที่สาเหตุได้ ก็ได้คุยกับท่านผู้ว่ารอบแรกว่าผมได้คุยกับท่านนายกเรื่องคนจนว่ามีโครงการเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน ท่านนายกบอกว่าคนจนก็ยึดหลักจากที่เขาไปขึ้นทะเบียนไว้ ส่วนผมก็บอกว่าบ้านผมคนที่ไปขึ้นทะเบียนไม่ถึงร้อยละ ๔๐ ที่เป็นคนจนอีกร้อยละ ๖๐ กว่า ๆ ที่เหลือก็มีส่วนปะปน ซึ่งหนทางที่จะแก้ปัญหายากจนจริง ๆ ก็ต้องหาคนจนจริง ๆให้พบ ซึ่งหากมีนโยบายที่จะให้การช่วยเหลือคนจน คนที่ต้องการช่วยเหลือนอกจากคนจนจริง ๆ แล้วก็ยังมีอีกเยอะ แนวทางที่เราต้องจัดระดับความสำคัญเราน่าจะดูในพื้นที่ แต่ละที่ว่าคนจนมีกี่ระดับ คนจนที่พออยู่พอกินแล้วก็น่าจะมีอยู่เราอาจจะเข้าไปส่งเสริม ส่วนที่มากกว่านั้นก็ต้องช่วยเหลือกันเป็นระดับไป คนอีกระดับหนึ่งที่ไม่จนเขาก็ต้องการความช่วยอีกระดับหนึ่ง คนทุกระดับก็ต้องการความช่วยเหลือในรูปแบบที่แตกต่างกันไป แนวทางตรงนี้ผมว่าก็สอดคล้องกับทางผู้ว่าราชการ ทางคุณถาวรก็มีความเห็นตรงกันว่าจะต้องเริ่มต้นจากตัวอย่างกิจกรรมทั้ง ๔๐๐ หมู่บ้าน โดยมีแกนนำของหมู่บ้าน ๆ ละ ๘ คนจะได้สำรวจข้อมูลออกมาเป็นข้อเท็จจริง ประสบการณ์ที่ได้ดำเนินการมาก็น่าที่จะขยายผลให้มีความเป็นประโยชน์ต่อไปมากขึ้น ทางหนึ่งได้เป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน อีกทางหนึ่งก็เป็นการทำงานร่วมกัน

หากเราได้คนและได้แผน/แปลน รายละเอียดออกมาวิเคราะห์กันจะทำให้การเรียนรู้ตรงนี้นำไปสู่การพัฒนาได้ในเบื้องต้นถ้าเราสามารถที่จะให้การเรียนรู้กับคนที่เป็นแกนนำได้ระดับหนึ่งก่อน คนที่เป็นแกนนำก็นำความรู้ที่ได้มาไปถ่ายทอดในหมู่บ้านหรือชุมชนกับคนทุกระดับเพื่อต้องการให้เขานำไปแก้ไขปัญหาให้กับตัวเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีช่องทางในการแก้ปัญหาให้กับตรงนี้ได้ นั้นเป็นความคิดเบื้องต้น

ส่วนของคุณถาวรเล่าความเป็นมาและรายละเอียดในช่วงอื่น ๆ คอยติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

หมายเลขบันทึก: 16104เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท