Trip l สมุทรสงคราม


การเรียนรู้
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปทัศนศึกษาที่จังหวัดสมุทรสงคราม  ทำให้ได้เรียนรู้อะไรที่เป็นประโยชน์มากมาย  เป็น  2  วันอันมีค่ามาก  ฐานแรกที่ไปน้ำชีวภาพปรุงแต่ง  เป็นฐานที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำสมุนไพรที่อยู่ใกล้บ้านมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพสร้างรายได้ให้กับตนเอง  ครอบครัวและชุมชน  ปลอดภัยต่อใช้  ไม่เป็นมลพิษด้วย  ฐานต่อไปที่ไปก็คือ  ปั้นน้ำเป็นตัว  ปั้นน้ำเป็นตัวก็คือการทำน้ำตาลมะพร้าวของชาวสมุทรสงครามสงครามนั่นเอง  ฐานนี้เป็นฐานที่ใช้ภูมิปัญญาแท้ๆ  ของชาวสมุทรสงคราม  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำ  อุปกรณ์ที่ใช้ก็ล้วนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งนั้น  เรียนรู้วิธีการทำซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการหยอดลงถ้วย  และต้องใช้ความชำนิชำนาญเป็นอย่างมาก  ฐานต่อไปก็คือ  ผลไม้กลับชาติ  สงสัยกันใช่มั้ยคะว่า  ทำไมถึงเป็นผลไม้กลับชาติ  ที่เป็นผลไม้กลับชาติ  เพราะทางกลุ่มสตรีพัฒนาตำบลบางพรม  ได้นำผลไม้  พืชผัก  สมุนไพร  ที่อยู่ในรั้วบ้านอยู่แล้ว  เช่น  พวกพริก  บอระเพ็ด  ตะลิงปิง  มะละกอ  นำมาแช่อิ๋ม  จนมีรสชาติที่หวานอร่อยได้  ซึ่งถือว่าต้องใช้ความปราณีตและความอดทนในการทำสูง    ฐานต่อไปก็คือ  คนเอาถ่าน  ที่ชื่อว่าคนเอาถ่านเพราะ  ฐานนี้เป็นการเผาถ่าน  ที่ใช้ความรู้ใหม่ประยุกต์มาเรื่อย ๆ  คือ  การในการเผาถ่าน  1  ครั้ง  สิ่งที่ได้มากับถ่านก็คือ  ถ่านไม้  ถ่านผลไม้  น้ำส้มควันไม้ที่อาศัยภูมิปัญญาในท้องถิ่น  และอาหารที่เกิดจากการปรุงอาหารที่อาศัยความร้อนจากการเผาถ่าน  เป็นการเพิ่มมูลค่า  เช่น  การเผาถ่านผลไม้จะนำผลไม้ผลแก่ที่ไม่ได้ขนาดมาเผา  จนได้ถ่านที่สวยงาม  และการเรียนรู้การใช้ชีวิตตามแนวกระแสพระราชดำริตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  เช่น  การปลูกเห็ด  การเพาะถั่วงอก  โดยใช้อุปกรณ์ที่เหลือใช้  และการใช้แสงอาทิตย์ในการทำน้ำอุ่น  ฐานต่อไปก็คือ  มหาวิชชาลัย  เป็นฐานที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำการทำแผนแม่บทชุมชนของพี่สรพงษ์  และการปลูกส้มโอปลอดสารพิษของครูสมทรง  โดยใช้ขี้แดดนาเกลือ  ในวันที่  2  ฐานแรกที่ไปก็คือ  ไปดูการทำนาเกลือของพี่โต  ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ๆ  เกี่ยวกับเกลือ  เกลือ  ก็มีหลายชั้น  เกลือที่ขายในท้องตลาดก็ไม่เหมือนกันด้วย  เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีและภูมิปัญญาต่างๆ  ในการทำนาเกลือ  ฐานต่อไปก็คือฐานการทำแนวกันคลื่นเพื่อกั้นน้ำ  และกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ตามแนววิธีการของพระสุบิน ปณีโต  แห่งวัดไผ่ล้อม  จังหวัดตราด  ก่อตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ออมทรัพย์วันละ 1  บาท  โดยจะทำ  2 บาท  ก็คือบาทแรกเป็นกลุ่มออมทรัพย์  โดยอีก  1  บาทจะเป็นกลุ่มสวัสดิการ  ฐานสุดท้ายก็คือ  ไปดูการเผาถ่าน  สิ่งที่ได้เรียนรู้เขาจะใช้ภูมิปัญญาในการเผาถ่าน  การสร้างเผาถ่าน  และการใช้ไม้โกงกางในการเผาถ่านการเรียนรู้ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละชุมชนเพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 161005เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุดยอดเลย จุ้งลิ้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท