การระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียนราษฎร ..สามารถทำได้แล้ว โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ชี้แจงหรือโต้แย้ง??


มาตรา 10 วรรค 4 พรบ.ทะเบียนราษฎร ฉบับผ่านสนช.เมื่อธันวาคม 2550 "การดำเนินการตามวรรคสาม รวมตลอดทั้งวิธีการโต้แย้ง หรือชี้แจงข้อเท็จจริง และการอุทธรณ์ของผู้ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของนายทะเบียน รวมถึงการพิจารณาคำอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียนไว้ก่อนที่จะรับฟังคำชี้แจงหรือการโต้แย้งได้"

อ่านมาตรา 10 วรรคสี่แล้วนะ-พี่
คิดว่าคงเข้าใจไม่คลาดเคลื่อนจากกันนะคะ ที่ว่า วรรค
4 ของมาตรา 10  พูดใน 2 ประเด็นคือ
ข้อแรก
-การสั่งไม่รับแจ้ง (เกิด บันทึก หรือลงรายการเพื่อดำเนินการจัดทำหลักฐานทะเบียนต่างๆ) จำหน่าย, เพิกถอน และแก้ไขรายการ "ให้ถูกต้อง"
 -วิธีการโต้แย้ง หรือชี้แจงข้อเท็จจริง
-วิธีการอุทธรณ์ของผู้ได้รับผลกระทบ
-วิธีการพิจารณาคำอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง--ซึ่งหน้าตาของมันจะเป็นอย่างไร???
ข้อสอง "ทั้งนี้ ให้นายทะเบียน มี อำนาจ สั่ง ระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียน ไว้ก่อนที่จะรับฟังคำชี้แจงหรือการโต้แย้ง ได้"
 คิดว่า พี่คง ติดใจประโยคนี้ เพราะเท่ากับ ต่อไปกรณีระงับไม่ให้มีการเคลื่อนไหวทางทะเบียนอย่างกรณีแม่แตง ก็จะเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งไม่ถูกไม่ควรเป็นอย่างยิ่งเท่าที่ค้นๆๆ กองเอกสาร หนังสือมาเปิดในเวลาจำกัด และคุยกับรุ่นพี่นิดนึง ได้ความว่า เรื่องแรก-มันเป็นหลักในการปฏิบัติราชการทางปกครองอ่ะค่ะ ว่า การดำเนินการใดๆ ต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีชี้แจงโต้แย้ง

เรื่องที่สอง-รธน.ฉบับรัฐประหาร เวอร์ชัน 2550 รับรองสิทธิเสรีภาพที่เกี่ยวข้อง (เท่าที่ค้นด่วนๆ ตอนนี้) ไว้สองเรื่องคือ หลักที่ว่าการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะทำไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายระบุให้อำนาจ, ทำได้เท่าที่รธน.กำหนด, กระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้ ...ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหลักสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับรู้ ให้ความคิดเห็นหรือโต้แย้งการปฏิบัติราชการทางปกครอง ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ม.58)

หมายเลขบันทึก: 160953เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เอาตัวบทมาดูค่ะ มันไม่เอียงแบบโง่ๆ อย่างนั้นหรอกค่ะ

ต้องให้ความเป็นธรรมกับคนยกร่างกฎหมายแบบนะคะ การวิจารณ์แบบไม่มีข้อมูล ก็เป็นการละเมิดนะคะ

ตอนท้ายของวรรค สี่ โค้ดไว้แล้วในบลอค ประโยคที่เป็นปัญหาคือ

 "..ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียนไว้ ก่อนที่จะรับฟังคำชี้แจง หรือการโต้แย้งได้"

ไม่น่าจะเข้าใจผิดนะคะ

การอ่านกฎหมายคงต้องอ่านทั้งระบบค่ะ

มาตรานี้เถียงกันมากค่ะ ยืนยันว่า ไม่ทำแบบโง่ๆ เพราะเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบมาตรานี้ มันคิดแบบเอียงๆ ไม่ได้ค่ะ มีหลายกรณีที่ต้องจัดการ ความยุติธรรม ก็คือ ความชัดเจนและการให้โอกาสที่จะโต้แย้ง ความยุติธรรมไม่หมายความว่า ทำอะไรไม่ได้เลย

มีหลายเรื่องที่จะต้องจัดการ ต้องไม่ลืมว่า กฎหมายใช้กับทุกคนอีกด้วย

เรื่องนี้เป็นเรื่องของการจัดการเวลาที่พบว่า กระบวนการเพิ่มชื่อหรือกระบวนการลงรายการสถานะบุคคลไม่ชอบค่ะ เป็น Wrong doing Management

ดูทั้งระบบกฎหมายค่ะ อย่าดูแค่วรรคเดียว

ด้วยความเคารพนะคะอาจารย์

หนูว่า หนูเข้าใจเบื้องหลังการเขียนประโยคท้ายของวรรคนี้ ..มันเป็นกลไกหนึ่งของการตรวจสอบ "คนที่ต้องสงสัย" ด้วยเหตุผลต่างๆ ว่า เขาอาจมีชื่อในทะเบียนราษฎร ด้วยวิถีทางที่ไม่ถูกต้อง

ทำให้เกิดประโยคนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการกับคนลักษณะนี้

หนูว่า ผู้ยกร่างฯ ยืนอยู่มุมของเหตุผลของความมั่นคง.. ด้วยเหตุผลนี้ การออกคำสั่งแบบนี้ (แบบไม่ต้องเปิดโอกาสให้คนโต้แย้ง "ก็ได้") จึงกลายเป็นเรื่อง เป็นเหตุ "ที่ชอบด้วยเหตุและผล"

หนูว่า ในเชิงข้อกฎหมาย ประเด็นที่ต้องถกเถียงกันต่อก็คือ การระงับการเคลื่อนไหวนี้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ..เท่าที่ทราบ มีการดีเฟนด์ว่า "การระงับ" ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ

ประเด็นชัดๆ นะคะ ..มาตรานี้ ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่รัฐสามารถออกคำสั่งได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ชี้แจง หรือโต้แย้งก่อน--ทั้งนี้--ในนามของความมั่นคง--ค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท