post บทความที่สืบค้นในหัวข้อ จิตอาสา


ขอให้นักศึกษากลุ่ม อ.ดร.อัญชลี post ก่อนวันศุกร์ที่ 25 ม.ค.51

 

ให้นักศึกษากลุ่มของ อ.ดร.อัญชลี ชูติธร  ดังรายชื่อดังต่อไปนี้

 

 1. ศิรประภา  ปราการพิลาส 
   9.สมฤทัย  วทนะรัตน์   
 2. ศิริมา  ไชยอุย
 10.สรัญญา ชินดร
 3. ศิริลักษณ์ ผาศิริ
 11.สโรชา  แซ่ลิ้ม 
 4. ศิริลักษณ์  วงษาสันต์
  12.สายฝน  สารพันลำ
 5. ศิริวรรณ ศิริวัฒนะธร  
 13. สาวิณี  ไพรเขียว       
 6. ศุภรนันท์  อินทร์ชมชื่น
 14.สินีนุช  นันท์สูงเนิน
 7.โศจิรัตน์  มูนมัน  
 15.สิริพร ด้วงเอียด                  
 8.โศภิษฐา  สมบัติกำจร
 16.สิริพฤฒา  จ่าแก้ว

                    

  post URL ของบทความลงใน blog ที่อาจารย์กำหนดให้นี้นะคะ หรือบอก link ของบทความที่นักศึกษาคัดเลือกมา คนละ 1 เรื่อง พร้อมทั้งเขียนสรุปบทความ ความยาวไม่เกิน 6-8 บรรทัด ส่งก่อนวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2551 นะคะ  ทั้งนี้ขอให้นักศึกษาทุกท่านระบุ ชื่อ-สกุล เลขประจำตัว พร้อม post รูปของนักศึกษาแต่ละท่านเข้าใน blog ด้วย  ขอเป็นรูปที่สุภาพเรียบร้อยนะคะ

 จาก อาจารย์ ดร.อัญชลี  ชูติธร

หมายเลขบันทึก: 160582เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)
ศิรปรภา ปราการพิลาศ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nacl&month=01-2005&date=17&group=5&gblog=6

 

  บทความที่เลือก  บรรเทาทุกข์ด้วยใจที่เป็นสุข

 

 สรุปบทความ

       พวกที่เป็นอาสาสมัครช่วยคนตายและผู้ประสบภัย ไม่เพียงช่วยบรรเทาความทุกข์ของผู้ที่เดือดร้อนเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้คนเป็นอันมาก ทำให้ผู้คนมีความหวังและเชื่อมั่นว่าความทุกข์ยากจะต้องผ่านพ้นไปในที่สุด งานที่กำลังทำอยู่นี้มีด้านดีคือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ ตอนนี้เรายังภารกิจที่ฟันฝ่าอีกมาก ดังนั้นจึงต้องดูแลตนเองด้วย เพื่อที่จะได้ไม่มีผลกระทบกับงาน การดูแลรักษาจิตใจเป็นเรื่องสำคัญและยากกว่าการดูแลร่างกาย ในการทำงาน นอกจากเราจะต้องเจอความยากลำบากของเนื้องานนั้นแล้ว ปัญหาอีกอย่างก็คือปัญหาความสัมพันธ์กับผู้คนที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง ปัญหาข้อหลังนี้อาจจะยากกว่าปัญหาที่เป็นเนื้องาน อย่าไปคาดหวังคนอื่นจะเข้าใจเราหมด ไม่ว่าเราจะเจอแรงกระทบกระแทก ก็ขอให้เรานึกถึงคนอื่นไม่ถือว่าใครที่ทำงานกับเราเป็นพวกเรา ใครที่ทำงานกับองค์กรอื่นเป็นพวกอื่น เราทำงานอย่างเดียวกันช่วยเหลือคนเดือดร้อนเหมือนกัน เพียงแต่อยู่คนละองค์กรเท่านั้น

                        ศิรประภา  ปราการพิลาศ   เลขประจำตัว 5010110   

คุณศิรปรภา ดีมากค่ะ หมายเลขแรก ก็มาคนแรกเลย สรุปความใช้ได้นะคะ แต่น่าจะระบุว่า บทความนี้เป็นการเทศน์ปลุกปลอบให้กำลังใจจาก พระไพศาล วิสาโล แก่อาสาสมัครในการทำงานช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ ในช่วงเหตุการณ์สึนามิที่มีการทำงานกันอย่างต่อเนื่องเป็นแรมเดือน   ทั้งนี้การที่นักศึกษาสรุปบทความมา การเขียนแทนบุคคล "เรา"  ซึ่งเราในที่นี้หมายถึงอาสาสมัคร ควรเขียนระบุบ่งบอกถึงบุคคลนั้นๆ อย่างชัดเจนด้วยค่ะ   น่าจะแยกออกมาเป็นประเด็นได้ว่า ท่านเทศน์เตือนใจในเรื่องอะไรบ้าง เกี่ยวกับการทำงานด้านอาสาสมัครเช่นนี้ ปัญหาอุปสรรคที่อาจพบได้โดยง่าย ที่เกิดจากเนื้องานเอง หรือจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

  • เพิ่งเห็นบันทึกอาจารย์
  • ดีจังเลยครับ
  • ได้อ่านเรื่องที่นักศึกษาเอามาส่ง
  • ขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตนะครับ
  • ขอบคุณครับ
http://www.volunteerspirit.org/readthis.asp?pid=386บทความที่เลือก  :  "พอ.สว." คือ พระปณิธาน คือ ต้นธารแห่งการให้สรุปบทความ  :   เมื่อครั้งที่สมเด็จย่ายังทรงเจริญพระชนม์ชีพ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรตามท้องถิ่นทุรกันดารอยู่เสมอ พร้อมกับทรงนำแพทย์อาสาไปให้การรักษาผู้เจ็บป่วย โดยมีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ฯ ตามเสด็จอยู่เคียงข้างเสมอและแม้เมื่อสมเด็จย่าได้เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ฯ ยังทรงสืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระราชชนนี โดยเฉพาะการทรงงานในฐานะองค์ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ซึ่งมีการนำหน่วยแพทย์อาสาไปตรวจรักษาผู้ป่วยตามหมู่บ้านต่างๆ ในถิ่นทุรกันดาร ที่อยู่ห่างไกลการคมนาคมโดยทรงติดตามทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์ พอ.สว.ในพื้นที่ห่างไกล  ทรงซักถามถึงการปฏิบัติงาน ของหน่วยแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่อย่างเอาพระทัยใส่  มีผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือไปแล้วนับหลายล้านคน ปัจจุบันมี ได้มีอาสาสมัครแพทย์และอาสาสมัครทั่วไปหลายคนและภาพสะท้อนของ "การให้" ที่นอกจากจะมีความต้องการที่จะช่วยเหลือแล้ว การเอาใจใส่ การทำงานอย่างจริงจังและมีกระบวนการทำงานในเชิงโครงสร้างอย่างชัดเจน จะนำไปสู่การช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะช่วยบรรเทาทุกข์ร้อนและแก้ปัญหาสังคมนั้นๆได้อย่างยั่งยืนและลุล่วง

 ( น.ส.สาวิณี  ไพรเขียว  เลขประจำตัว  5010122 )

จิตสาธารณะบนความเหลื่อมล้ำ

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=70869

 บทความที่เลือก  : จิตสาธารณะบนความเหลื่อมล้ำ

        การให้ทานจะให้อะไร  แก่ใคร  อย่างไร  ถึงจะถือว่าเป็นทานที่ดี  ที่ควรส่งเสริม

สรุปบทความ :     

           การให้ทานและอาสาสมัครได้มีการเปลี่ยนแปลง  และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  การกระทำนี้ได้แฝงอยู่ในการดำเนินชีวิตของคนทุกคน   โดยมีการช่วยเหลื่อเกื้อกูลกันของคนในทุกยุคทุกสมัย   เริ่มตั้งแต่การช่วยกันเองในครอบครัว  ชุมชน  และพัฒนามาจนถึงการทำเพื่อสาธารณะ  แต่ปัจจุบันมีปัญหาในการมองคำว่า " สาธารณะ " ของคนในวงกว้างได้ลำบาก คือ

1.  การให้ทานและอาสาสมัครได้ถูกลดประสิทธิภาพจากคนบางคน  หรือบางกลุ่ม  ที่คิดไม่ซื่อ  คดโกง  หรือหวังผลประโยชน์   จึงทำให้คนมองการให้ทานและอาสาสมัครเป็นแค่ช่องทางการหาผลประโยชน์เท่านั้น

2. เป็นเพราะความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม  จึงทำให้ไม่มีความเสมอภาคพอที่จะทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของ " สาธารณะ " เหมือนๆกัน

( นางสาวโศภิษฐา   สมบัติกำจร  เลขประจำตัว  5010117 )

http://www.volunteerspirit.org/readthis.asp?pid=381

บทความที่เลือก 3 ปีสึนามิ กับความเปลี่ยนแปลง

ตอน อาสาสมัครสึนามิ

สรุปบทความได้ว่า

เมื่อ 3 ปีก่อนได้เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มชายหาดอันดามัน กวาดทั้งชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนมีหลายคนที่มาร่วมเป็นอาสาสมัครในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ แต่วันนี้ ถ้าหากว่าเราได้เปิดไปดูโทรทัศน์ ก็จะมีแต่ภาพนักการเมืองที่จ้องแต่จะตั้งรัฐบาล หรือข่าวดารา ผู้เขียนบทความนี้ มีความสงสัยอยากรู้ที่ว่าอาสาสมัครในครั้งน้น เป็นอย่างไร

คนแรก นางสาว อรุณสวัสดิ์ ภูริทัตพงศ์ หรือ พี่จอย  ตอนนี้เป็นอาสาสมัครอิสระให้แก่มูลนิธิ เพื่อนพึง(ภาฯ) ยามยาก เธอได้เล่าความรู้สึกของเธอว่า สึนามิในครั้นนั้นทำให้รู้ว่า สึนามิก็เป็นเพียงแค่พื้นฐาน เป็นรากแข็งๆอันหนึ่ง ทำให้เห็นว่าเหตุไม่คาดฝันมันไม่มีที่สิ้นสุด เกิดขึ้นได้เสมอ สำคัญคือ เราต้องมีสติ เพื่อให้เข้าสู่ภาวะปกติ

คนที่สอง กรองแก้ว ปัญจมหาพร หรือ แก้ว ตอนนี้เธอเป็นผู้จัดการศูนย์อาสาสมัครสึนามิ เธอได้กล่าวว่า งานอาสาสมัครเหมือนเป็นโรงเรียน ทำให้เราเรียนรู้ว่าจริงๆแล้ว ไม่ว่าจะเก่งมาจากไหน เคยทำอะไรมา ทุกคนก็มีคุณค่าเท่ากัน

น.ส.โศจิรัตน์ มูนมัน เลขประจำตัว 5010116

 ขอโทรคะ อันข้างบน url  ผิดคะ

http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=article&sid=2333

บทความที่เลือก  จิตอาสาเพื่อผู้ป่วย

สรุปบทความ

       จากในเนื้อหาได้กล่าวถึงการทำงานของกลุ่มจิตอาสาเพื่อผู้ป่วย แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ที่พิษณุโลก โรงพยาบาลพุทธชินราช คืออาสาสมัครชมรมศูนย์สุขภาพเมืองพิษณุโลก มีจิตอาสาจะมาเป็นผู้นำการออกกำลังกายหรือเป็นผู้นำทำกิจกรรมหลายๆอย่าง เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยที่มารอรับการรักษาอยู่หน้าห้องตรวจได้ออกกำลังกาย และเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยเท่านั้นยังมีญาติผู้ป่วย และบางท่านที่ไม่ได้เจ็บป่วยแต่ก็มาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย  ซึ่งกลุ่มคนที่มาเป็นอาสาสมัครนี้ล้วนมีความรู้ ประสบการณ์ และอยากมาด้วยใจจริง มีความตั้งใจช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ผลตอบแทนสูงสุดของ  อาสาสมัครจิตอาสาในโรงพยาบาล คือรอยยิ้ม เสียงหังเราะ และ คำชื่นชม ที่ผู้ใช้บรการมีให้แก่จิตอาสา มีความหมายและมีค่ายิ่งสำหรับจิตอาสาทุกคน

นางสาวสโรชา   แซ่ลิ้ม  เลขประจำตัว 5010120

นางสาวสรัญญา ชินดร

http://volunteers.in.th/blog/vsarticle/140

บทความที่เลือก Alternative Happiness ความสุขทางเลือก

สรุปบทความได้ว่า

ความสุขแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความสุขต่างๆเหล่านี้หลายอย่างไม่เกี่ยวกับเงิน เงินอาจมีส่วนแต่เป็นเพียงส่วนประกอบ ความสุขของแท้นั้นกลับไม่ใช่ตัวเงินเสียทีเดียว  ความสุขทางเลือกที่หลายคนประสบกับตัวเองแล้ว คือความสุขจากการให้ ให้ได้สารพันรูปแบบ ตั้งแต่การให้ทาน บริจาคสิ่งของต่างๆ ให้ความช่วยเหลือ ให้แรงงาน ให้ความรู้ ไปจนถึงการให้แม้แต่ความเป็นตัวตนของเราหรือสละอัตตากันไป การให้ เมื่อพูดถึงการให้มักหมายถึงการให้เงินหรือสิ่งของให้แก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน บริจาคสิ่งของ การทำบุญในรูปแบบต่างๆ การให้อีกรูปแบบนอกจากการให้ทานแล้วคือการให้แรง หรือเรียกว่าอาสาสมัครหมายถึงการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังค่าตอบแทนใดๆ เช่น ช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ ช่วยกันสอนหนังสือเด็ก ช่วยกันสร้างบ้านร่วมกับผู้ประสบภัย หลายท่านที่เคยทำสิ่งต่างๆเหล่านี้เข้าใจได้ดีว่าเราจะรู้สึกอิ่มเอมเมื่อได้ทำอะไรดีดีไปบ้าง ถ้าคนไทยทุกคนมีจิตอาสาหรือมีใจอยากช่วยเหลือผู้อื่นขึ้นมาอีกสักเพียงนิดเดียว แผ่นดินนี้คงอบอุ่นน่าอยู่กันอีกมากทีเดียว

 นางสาวสรัญญา   ชินดร เลขประจำตัว 5010119

น.ส.ศิริลักษณ์ ผาศิริ

 นางสาวศิริลักษณ์    ผาศิริ  เลขประจำตัว   5010112

http://volunteers.in.th/blog/vsarticle/135

บทความที่เลือก จิตอาสาพาสังคมเป็นสุข

สรุปบทความได้ว่า

 เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น สิ่งที่เราเห็นคือการบริจาคน้ำใจของผู้คนที่เข้าสู่พื้นที่ ความจริงมันก็เป็นภาพที่สวยงาม
แต่ใครจะรู้ว่า ขบวนรถมากมายที่วิ่งเข้าวิ่งออกนั้น ทำให้บ้านเรือนที่พังพินาศ และ โคลนที่ถล่มจมบ้านของชาวบ้าน
ภาพของคนหนุ่มสาวที่เป็นตัวแทนอาสาสมัครเข้าไปยืนหัวแถว โดยมีชาวบ้านเดินเข้าแถวรับถุงบริจาคคนละถุงสองถุง แถมคนท้าย ๆ อาจไม่ได้เพราะของมีไม่พอ จิตอาสาที่เราพูดกันนี้ จะเห็นเด่นชัดตอนที่เกิดวิกฤตต่างๆ หากแต่วิกฤตต่างๆเป็นช่องทางที่ทำให้จิตอาสาของแต่ละคนพวยพุ่งออกมาโดยไม่ต้องเขินอายกัน ในทางกลับกัน ถ้าพวกเราแค่ออกแรงกันคนละนิดคนละหน่อย ก็เป็นพลังมหาศาลที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

 

 

 บทความ วัยรุ่นอาสา

http://jitasa.com/web/?q=node/126

 สรุปบทความ

     ภาณุพงศ์ ลาภเสถียร หรือ น้องปาว คือวัยรุ่นธรรมดาคนหนึ่ง แต่ที่ไม่เหมือนใครคือ หากวันไหนไม่มีเรียน หรือเสร็จสิ้นจากการเรียนแล้ว น้องปาวก็จะเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  โดยทำงานอาสาสมัครมาร่วม 6 ปีแล้ว สังกัดหน่วยแพทย์กู้ชีพ วชิรพยาบาล สำนักการแพทย์กรุงเทพฯ งานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่น้องปาวกำลังทำอยู่นั้นไม่มีค่าจ้าง แต่มาด้วยหัวใจเต็มร้อย เพราะแม้กระทั่งอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ หรือแม้แต่ยูนิฟอร์มที่สวมใส่เวลาออกปฏิบัติหน้าที่ ล้วนแต่เป็นเงินค่าขนมที่น้องปาวควักจ่ายเองทั้งสิ้น น้องปาวเริ่มต้นการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุด้วยจักรยานที่พ่อซื้อไว้ให้ปั่นไปซื้อกับข้าว

     เชื่อได้เลยว่าอาสาสมัครคนนี้จะต้องโตขึ้นเป็นคนไทยที่มีคุณภาพคนหนึ่ง และนั่นก็เป็นความสุขที่เขาปรารถนากว่าสิ่งใดๆ

นางสาวสิริพฤฒา   จ่าแก้ว  เลขประจำตัว 5010125

 
นางสาวสิริพร ด้วงเอียด

บทความที่เลือก ..เครือข่ายเพื่อนพ้องบัณฑิตอาสาสมัคร (GVFN)

http://www.bbznet.com/scripts/view.php?user=gvctu&board=2&id=846&c=1&order=numtopic

บัณฑิตอาสา เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการให้การศึกษา อบรม การให้บริการแก่ชุมชน และสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับท้องถิ่นชนบทให้แก่บัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากทุกสาขาวิชาและทุกสถาบัน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2512 บัณฑิตอาสาสมัครที่เข้าไปส่วนใหญ่ก็จะลงไปในเรื่องของการให้ความรู้ ทั้งด้านภาษาและการดำรงชีวิต หรือใครที่มีความชำนาญด้านสาธารณสุขจะไปอยู่ตามอนามัยประจำตำบล ปัจจุบันงานบัณฑิตอาสาสมัครมีหลากหลาย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นชีวิตของคนชนบทซึ่งเปลี่ยนไป โดยจะมีบัณฑิตอาสาสมัครที่จบไปแล้ว มาเล่าถึงประสบการณ์ให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น คุณพิรุณพร แสงรังค์ กับการเป็นครูบนดอย

นางสาวสิริพร  ด้วงเอียด เลขประจำตัว 5010124

นางสาวสินีนุช นันท์สูงเนิน

บทความที่เลือก....จุดประกาย...คีต(ดนตรี)เพื่อจิตสาธารณะ

http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0323

สรุปบทความ

เพลงนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรัก เศร้า ทำลายล้าง การปลุกเร้าจิตใจให้เกิดอารมณ์สงสาร และยังมีเพลงที่นักประพันธ์เพลงแต่งขึ้นมาเพื่อให้ผู้ฟังคิดตามเนื้อหาของเพลง แล้วทำให้ผู้ฟังเกิดจิตอาสาขึ้น เช่น กลุ่มเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ เช่นเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา ทะเลชีวิต  จะสะท้อนชีวิตของคนยากจน อาชีพต่างๆ ซึ่งพอเราฟังเพลงที่ท่านแต่งแล้วเราก็จะรู้สึกสงสารแล้วเกิดจิตอาสาขึ้นมาอยากช่วยเหลือ และเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนตอนที่เกิดสึนามิแล้วนักประพันธ์แต่งเพลงขึ้นมาแล้วคนไทยหลายๆคนฟังแล้วเกิดจิตอาสาแล้วบริจาคเงินไปช่วย หรือแม้แต่บริจาคสิ่งของ ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าบทเพลงนั้นก็ทำให้เราเกิดจิตอาสาได้เช่นกัน ถ้าเราฟังแล้วคิดตาม

นางสาว สินีนุช  นันท์สูงเนิน  เลขประจำตัว 5010123

นางสาวศิริมา ไชยอุย

บทความที่เลือก   วัยรุ่นอาสา

http://jitasa.com/volunteerspirit/?q=node/24

สรุปบทความ

ภาณุพงศ์ ลาภเสถียร หรือน้องปาว วัยรุ่นที่มีจิตอาสาได้สมัครเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุ โดยสังกัดหน่วยแพทย์กู้ชีพวชิรพยาบาล สำนักงานการแพทย์กรุงเทพฯ โดยน้องปาวได้เริ่มทำตนเป็นอาสาสมัครมาเป็นเวลา 6 ปีแล้ว ผู้ที่จะเป็นอาสาสมัครได้ต้องผ่านการอบรมเรื่องการปฐมพยาบาลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เวลาอบรมเป็นเวลา 1 เดือน  น้องปาวเริ่มทำงานตอนอายุ 17 ปี จากการที่มีรุ่นพี่เป็นอาสาสมัครมาก่อนแล้วชักชวนด้วยความสนใจอยู่จึงได้สมัครทันทีในการปฏิบัติงานน้องปาวจะจดเวลาเอง เรียนตอนไหนก็ไปตอนนั้น บางวันก็ทำถึงตี 5 แล้วไปเรียนต่อเลยและในการปฏิบัตังาน น้องปาวจะได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน เลยจะต้องออกเงินเองตั้งแต่ค่าชุดและอีกมากมาย แล้วตอนนี้น้องปาวอายุ 22 ปี แล้งและยังทำงานนี้อยู่ ตอนนี้น้องปาวซื้อรถตู้มาแล้ว เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ที่สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยใช้เงินของตัวเอง

นางสาวศิริมา ไชยอุย เลขประจำตัว 5010111

นางสาวศิริวรรณ ศิริวัฒนสาธร

บทความที่เรื่อง เพื่อนข้างเตียง

http://jitasa.com/web/?q=node/142

 

สรุปค่ะ

เนื้อหาสาระของเนื้อหา เป็นเรื่องของรัชฎาอาสาสมัครหญิงวัยกว่าสี่สิบปี เธอเริ่มงานอาสาสมัครจากการนวดเด็กที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนที่ปากเกร็ด ก่อนจะขยับมาเป็นอาสาข้างเตียงเพิ่มอีกงาน ก่อนจะมาเป็นอาสาสมัครเธอทำงานเป็นแม่บ้าน เธอเขียนเรียงความถึงงาน ถึงแรงบันดาลใจในการสมัครเข้ามา เมื่อผ่านแล้วก็เข้าอบรมเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของอาสาสมัคร หน้าที่ของพยาบาล แพทย์ และคนไข้ เพื่อจะได้รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง ผู้ป่วยที่เธอให้การดูแลนั้นส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อยู่โรงบาลเป็นเวลานานไม่ค่อยมีเพื่อนเธอก็จะมาเยี่ยมมาคุยเป็นเพื่อนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น และรัชฎาก็เศร้าใจทุกครั้งเมื่อคนที่เธอดูแลได้จากไป แต่เธอก็มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และเธอก็ยังหวังว่าลูกๆของเธอจะได้เรียนรู้สิ่งดีๆจากการกระทำของเธออีกด้วย
นางสาวศุภรนันท์ อินทร์ชมชื่น

สรุปบทความ

คุยกับอาสาสมัครสึนามิ-กรองแก้ว   ปัญจมหาพร

                กรองแก้วปัจจุบันทำงานอาสาสมัครที่ศูนย์อาสาสมัครสึนามิช่วงแรกที่เธอมาเป็นอาสาสมัคร  เธอเป็นล่ามและช่วยอำนวยความสะดวก  ช่วงนั้นเธอไม่กล้าตัดสินใจลงไปในพื้นที่เกิดสึนามิ  เพราะไม่มีเงิน  หลังจากเกิดสึนามิได้  2  เดือนเธอได้มีโอกาสลงพื้นที่  และเกิดชอบงานอาสาสมัครขึ้นมา  จึงตัดสินใจอยู่ต่อ  ซึ่งเธอเล่าว่า  ช่วง 1-2 ปีแรกอาสาสมัครจะทำงานด้านการฟื้นฟู  เช่น  สร้างบ้าน  เก็บชายหาด  ทำเฟอร์นิเจอร์  และงานที่ใช้แรงงานเป็นส่วนมาก  ตั้งแต่ช่วงปีที่  3 เรื่อยมาจะเป็นงานพัฒนา  เช่นการให้การศึกษา  ซึ่งเป็นงานที่ทำเพื่ออนาคต  หวังผลระยะยาว  เธอเล่าว่าผู้ที่มาเป็นอาสาสมัครในช่วงแรก  บ้างก็มาด้วยจิตใจอาสาจริงๆ  ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน  แต่บางคนก็เรียกร้องอะไรที่มากเกินไป  ซึ่งเงินที่เรากินอยู่นั้นก็เป็นเงินบริจาคที่ควรไปถึงมือผู้ด้อยโอกาสกว่าเรา  เธอเล่าว่าเธอเป็นคนที่เรียนเก่ง  จบได้เกียรตินิยมอันดับ 1 หางานได้ง่าย  แต่สำหรับงานอาสาสมัครแล้ว  จะเป็นใครมาจากไหนไม่สำคัญ   ความรู้ที่เรียนมาไม่สำคัญเลย  ขอให้เอาใจมาอย่างเดียว

นางสาวศุภรนันท์   อินทร์ชมชื่น    เลขประจำตัว  5010115 
นางสาวศิริลักษณ์ วงษาสันต์
บทความ : สายลับฉบับเด็กขอทาน            เป็นเรื่องของอาสาสมัครเพื่อขอทาน ที่เป็นโครงการของอาสาสมัครศูนย์ข้อมูลคนหาย ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นรุ่นที่ 2  มีข้อมูลเกี่ยวกับอาสาสมัครที่มีความสงสารขอทานเด็ก  จนเกิดการสนใจที่จะเข้าร่วมอบรมในโครงการนี้  เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาของขอทานเด็กที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ  ผู้เข้าอบรมจะได้ปฏิบัติงานจริง  โดยสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับขอทานเด็ก  ซึ่งผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่จะเลือกสถานที่ที่อยู่ละแวกบ้านของตน  จากการสำรวจของผู้เข้าอบรมทำให้พวกเขาได้รับรู้การใช้ชีวิตอีกด้านหนึ่งของขอทานเด็ก  และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป  แต่พวกเขาก็ยังมีความคิดเห็นที่เหมือนกันอยู่คือ  การสร้างเครือข่ายติดตามปัญหา  และหาทางแก้ไขช่วยเหลือเกี่ยวกับขอทานเด็กต่อไป    http://www.backtohome.org/autopagenew/print.phpd_id=1757&h=2&page=1&s_id=1308นางสาวศิริลักษณ์  วงษาสันต์  เลขประจำตัว 5010113
นางสาวศิริลักษณ์ วงษาสันต์

บทความ : สายลับฉบับเด็กขอทาน

เว็ปคะ

http://www.backtohome.org/autopage-new/print.php?d_id=1757&h=2&page=1&s_id=1308

 ตอบคุณสาวิณี ไพรเขียว นะคะ

บทความเป็นข้อความชื่นชมผลงานของสมเด็จย่า และสมเด็จพระพี่นางฯ เกี่ยวกับงานด้าน พอ.สว. ที่ได้มาจากหนังสือพิมพ์  ครูอาจไม่คัดค้านหากคุณต้องการเลือกบทความนี้ แต่การที่คุณสรุปบทความมา ไม่ได้ใจความที่เกี่ยวกับประเด็นของจิตอาสาโดยตรง ประเด็นส่วนใหญ่เน้นไปที่การชื่นชมผลการดำเนินงานของพระองค์ท่านทั้งสองพระองค์และมูลนิธิ 

การ cut and paste จึงไม่ได้เป็นการสรุปเนื้อความที่ดีค่ะ ครูอยากให้คุณสรุปบทความใหม่นะคะ ลงประเด็นในเรื่องของงานจิตอาสา การดำเนินของอาสาสมัคร ขอให้ highlight ตรงประเด็นนี้มากกว่าค่ะ

หากตัดสินใจเปลียนและเลือกเรื่องใหม่ก็ยินดีนะคะ
 ตอบคุณ โศภิษฐา

บทความนี้น่าสนใจมากค่ะ เป็นบทความที่อ่านแล้วได้มุมมองที่ชัดเจน และก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ได้อีกหลายด้าน น่าจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ดีมากทีเดียวค่ะ

สรุปบทความมาใช้ได้นะคะ อ่านแล้วพอได้ไอเดีย แต่ครูเข้าไปอ่านในบทความจริง ผู้เขียน เขียนไว้ได้ดี  ทำให้เกิดการกระตุ้นความคิดได้กว้างขวางค่ะ
 นักศึกษาท่านอื่นๆ รอก่อนนะคะ ใจเย็นๆ ก่อน  ครูจะค่อยๆ อ่านให้ครบนะคะ
นางสาวสมฤทัย วทนะรัตน์
 http://jitasa.com/volunteerspirit/?q=node/23
บทความที่เลือก ครูปู่ ตะเกียงใสของเด็กน้อย
สรุปความ
    กลุ่ม ซ.โซ่ เป็นกลุ่มครูอาสาที่เปิดสอนทุกวันอาทิตย์ โดยมีครูปู่เป็นแกนนำ ทำการสอนเด็กที่ด้อยโอกาส ให้การช่วยเหลือทางด้านทุนการศึกษาและจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่เด็ก ครูปู่ซึ่งเป็นแกนนำนั้นก่อนหน้านี้เคยเป็นครูมาก่อนและเกษียณอายุราชการแล้วได้มาสอนหนังสือเด็กในละแวกบ้าน โดยเงินทุนที่ใช้ก็เป็นเงินที่ทางกลุ่ม ซ.โซ่ ออกกันเอง ไม่มีองค์กรใดให้การสนับสนุน ซึ่งเรื่องของครูปู่ได้ถูกนำเสนอผ่านทางครูอาสาที่เข้าไปช่วยในกลุ่ม ซ.โซ่
   
                                                                        นางสาวสมฤทัย  วทนะรัตน์
                                                                          เลขประจำตัว  5010118
นางสาวศุภรนันท์ อินทร์ชมชื่น
 เว็บของบทความ

"คุยกับอาสาสมัครสึนามิ-กรองแก้ว   ปัญจมหาพร" ค่ะ
http://www.volunteerspirit.org/readthis.asp?pid=380

 http://jitasa.com/volunteerspirit/?q=node/55

บทความที่เลือก : สื่อกับการสร้างสังคมการให้
สรุปบทความ : 
    ผู้เขียนต้องการให้สื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์  โทรทัศน์  มองเห็นความสำคัญของการมีจิตอาสาสมัครและการให้  ในปัจจุบันคนไทยได้มีความเห็นแก่ตัว  ไม่ช่วยเหลือสังคมกันมาก  เหมือนครั้งที่เกิดภัยพิบัติสึนามิเมื่อปลายปี 2547 ได้มีอาสาสมัครมากมายมาให้การช่วยเหลือ  แต่ระยะหลังมานี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนั้นขึ้นอีกอาสาสมัครได้มีจำนวนลดน้อยลง  อยากให้สื่อต่างๆ ได้ปลุกจิตสำนึกของคนไทยให้มีจิตอาสาเพื่อสังคมเพราะสื่อสามารถช่วยสร้างสังคมแห่งการให้ได้  สังคมของเราจะได้มีการช่วยเหลือกันแบบพี่น้อง อยู่กันอย่างสงบสุข...
                                                (น.ส.สาวิณี  ไพรเขียว  เลขประจำตัว 5010122)

 เนื่องจากบทความซ้ำกับของเพื่อน หนูจึงขอเปลี่ยนบทความใหม่ค่ะ

บทความ  รอยยิ้มในโรงเรียนแห่งความสุข “บ้านน้ำลัด” แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

http://www.thaipr.net/nc/printprnews.aspx?newsid=A5F06A93A7DE2CB744BE4FA66665350D
    
    โรงเรียนบ้านน้ำลัดได้มีนโยบายและกิจกรรมหนึ่งที่ริเริ่มและปลูกฝังนิสัยดี ๆ ให้เด็กปฏิบัติคือการมี “จิตอาสา” กับงาน “อาสาสมัคร” ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จนกล่าวได้ว่าได้เกิดระบบบริหารจัดการงานจิตอาสาที่เด็ก ๆ ดูแลจัดการกันเอง โดยมี “ครู”ซึ่งเป็นอาสาสมัคร เป็นผู้ชี้แนะอยู่ห่าง ๆ และชื่นชม ภูมิใจกับผลงานที่เกิดขึ้น  แม้เด็กที่นี่จะอ่อนด้อยด้านวิชาการด้วยข้อจำกัดบางอย่าง แต่เด็กๆทุกคนก็ทำงานเป็นและมีความคิดสร้างสรรค์
    กิจกรรมอาสาได้ถูกจัดแบ่งตามความสนใจของนักเรียน เช่น เก็บใบไม้และเศษขยะ ช่วยภารโรงทำความสะอาดโรงเรียน ห้องน้ำ โรงอาหาร พี่ช่วยดูแลการรับประทานอาหารของน้อง ๆ การเก็บกวาดทำความสะอาดเมื่อเสร็จแล้ว เป็นต้น 

    สรุป คือ โรงเรียนบ้านน้ำลัดเป็นตัวอย่างหนึ่งของการปลูก “จิตอาสา”ให้แก่เด็กในโรงเรียนและจะติดตัวเขาไปในอนาคต ขณะเดียวกันการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันของครูนอกโรงเรียนทำให้ความเครียดและความทุกข์ของครูลดลง แต่กลับมีความภูมิใจและมีกำลังใจตระหนักในหัวใจของความเป็นครูอย่างแท้จริง

นางสาวสิริพฤฒา   จ่าแก้ว  เลขประจำตัว 5010125
นางสาวสายฝน สารพันลำ
 อาสาพัฒนาชุมชน  พลิกมิติการศึกษาพัฒนาคนสู่บ้านเกิด
     
      นับตั้งแต่ประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ  เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอีอย่างคือระบบการศึกษา  ที่มุ่งเน้นการสร้างคนเพื่อไปเป็นแรงงานในระบบอุตสาหกรรม ห้างร้าน บริษัท  ซึ่งนับเป็นการศึกษาที่ไม่ได้พัฒนาคน  แต่มุ่งพัฒนาวัตถุ  ทำให้คนมีค่านิยมที่ผิดๆ  ในปี 2508 ด.ร.ป๋วย  อึ้งภากรณ์ ได้จัดทำโครงการบูรณะชนบท  เพื่อเชื่อมโยงสถาบันการศึกษากับชุมชนเข้าหากัน  จนก่อให้เกิดมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย  และพัฒนาไปสู่ "โครงการบัณฑิตอาสา" ซึ่งเป็นโครงการที่รับบัณฑิตที่จบการศึกษาไปเรียนรู้คลุกคลีในชนบท  จากนั้นในปี 2523 นายจอห์น  อึ้งภากรณ์ และคณะ ได้ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม  รับสมัครอบรมกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ให้ได้มีโอกาสทำงานเป็นอาสาสมัครเต็มเวลา
     
http://codi.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=158&Itemid=41 

response คุณโศจิรัตน์  มูนมัน นะคะ

 เลือกบทความดีมากค่ะ แต่คุณไม่ได้สรุปใจความออกมาเลยค่ะ ไปเอาเนื้อความเค้ามาปะติดปะต่อ

ยังไม่มีการสรุปส่วนดีๆ โดยรวมของบทความ   ขอให้สรุปออกมาเป็นประเด็น ข้อคิด ให้ชัดเจนนะคะ

ครูอยากให้คุณสรุปบทความใหม่อีกครั้งได้ไหมค่ะ

 

 

 

ตอบคุณ

นางสาวสโรชา   แซ่ลิ้ม  เลขประจำตัว 5010120

 บทความดีมากค่ะ ทำให้ทราบการดำเนินงานด้านจิตอาสาที่เป็นต้นแบบ งานด้านจิตอาสาในโรงพยาบาลระดับชุมชนได้เป็นอย่างดี

นำไปวิเคราะห์ต่อได้เลยค่ะ

 นางสาวสรัญญา   ชินดร เลขประจำตัว 5010119

และศิริลักษณ์ ผาศิริ 

บทความดีใช้ได้ ผู้แต่งคนเดียวกับ หัวข้อ topic คล้ายๆ กัน แต่นักศึกษาทั้งสองคน สรุปความไม่ดีนะคะ ลอกบางส่วนของเนื้อความที่ผู้แต่งออกมาปะติปะต่อกัน ใจความสำคัญ ยังไม่ได้ย่อยออกมาสรุปให้เห็นได้ชัด

นางสาวสิริพฤฒา   จ่าแก้ว

นางสาวสิริพร  ด้วงเอียด

นางสาว สินีนุช  นันท์สูงเนิน 

บทความดี นำไปวิเคราะห์ได้ทั้ง 3 คนค่ะ  ของคุณสินีนุช  น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ไม่เคยเห็นแง่มุมด้านบทเพลง ที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะมาก่อน จริงๆ มีบทเพลงที่มีอิทธิพลต่อสังคม และประชาชนมากมาย แต่เพิ่งได้อ่านบทความที่เขียนรวบรวม ให้แง่คิดที่ดีมาก

นางสาวศิริมา ไชยอุย  ซ้ำกับของสิริพฤฒา แต่เพื่อนเลือกบทความใหม่ไปแล้ว หนูก็ใช้บทความนี้ได้ค่ะ

 นางสาวศิริวรรณ ศิริวัฒนสาธร   บทความดีมากๆ ค่ะ เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรงพยาบาล ซึ่งเกิดใน รพ.จุฬาของเราเอง   แต่หนูสรุปไม่ค่อยดีนะคะ copy บางประโยคมาเชื่อมกัน มันเลยไม่ค่อยได้เนื้อความที่กลมกลืน ถึงประเด็นที่เราจะสื่อค่ะ

นางสาวศุภรนันท์ อินทร์ชมชื่น  ใช้ได้ค่ะ แต่เรื่องค่อนข้างคล้ายๆ ของ โศจิรัตน์ มูนมัน  แต่ว่า เป็นการสัมภาษณ์อาสาสมัครคนละคนเท่านั้นเอง  ไม่ค่อยมีอะไรแตกต่าง ในเรื่องราวของสองเว็บนี้เท่าไรค่ะ

นางสาวศิริลักษณ์ วงษาสันต์   เรื่องดีค่ะ บทความน่าสนใจ แต่หนูสรุปได้งงมาก คือ copy and paste เนื้อความมา ความต่อเนื่องของเนื้อหาไม่มีค่ะ เลยไม่ทราบว่า เกิดอะไรขึ้น ใครทำอะไร จนเกิดอะไร พวกเขาคือใคร เวลาเขียนสรุปความคุณต้องแยกเรื่องให้ชัดเจน เอาเฉพาะประเด็นหลัก รายละเอียดย่อยควรตัดไป แล้วไปให้ติดตามอ่านในบทความทั้งหมดทีเดียว

นางสาวสมฤทัย  วทนะรัตน์  บทความใช้ได้ค่ะ แต่ความยาวได้หรือเปล่า ตามที่กำหนดหรือไม่ค่ะ ดูน้อยๆ ยังไงไม่รู้นะ ครูว่าบทความอาจจะไม่ถึง 3 หน้า


น.ส.สาวิณี  ไพรเขียว  เหมือนกับสมฤทัยค่ะ บทความดี แต่ความยาว พอได้ตามกำหนดหรือไม่

นางสาวสิริพฤฒา   จ่าแก้ว บทความดีใช้ได้ค่ะ นำไปวิเคราะห์ได้เลยนะคะ

นางสาวสายฝน สารพันลำ  ดีค่ะ นำไปทำรายงานการวิเคราะห์ต่อได้ค่ะ

น.ส.สาวิณี ไพรเขียว เลขประจำตัว 5010122
หนูรบกวนอาจารย์อ่านบทความนี้นะคะ

http://www.budpage.com/vs01.shtml

บทความที่เลือก :  จิตอาสาเพื่อความสุขที่แท้จริง

สรุปบทความ :

บทเพลงจากหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส  ได้สื่อให้เห็นถึงการเป็นอาสาสมัครหรือการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง  เป็นการเสียสละ การทำงานอย่างมีสติ  ทำให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพได้สนับสนุนให้มีโครงการอาสาเพื่อในหลวง  สร้างหอปฏิบัติธรรมสำหรับการจัดตั้งหมู่บ้านพลัมในประเทศไทยที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  แล้วมีกิจกรรมการภาวนาตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม ซึ่งเน้นการทำงานอย่างมีสติและมีความสุข เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงเมล็ดพันธุ์จิตอาสาของแต่ละคนให้เบิกบานและเติบโตมากยิ่งขึ้น และมีการเจริญสติ   ให้สวดมนต์ ให้ฟังเพลงจากหมู่บ้านพลัม และหายใจเข้าออกอย่างมีสติเพื่อปลดปล่อยความวิตกกังวลออกไป  ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของทุกคนให้มีจิตอาสาได้...

 (นางสาวสาวิณี  ไพรเขียว  เลขประจำตัว 5010122)
น.ส.โศจิรัตน์ มูนมัน

สรุปบทความใหม่ค่ะ

http://www.volunteerspirit.org/readthis.asp?pid=381

 บทความที่เลือก 3 ปีสึนามิ กับความเปลี่ยนแปลง

ตอน อาสาสมัครสึนามิ

สรุปบทความได้ว่า

หลังจากเหตุการณ์ สึนามิ ได้มีอาสาสมัครต่างๆมากมาย

ทุกคนล้วนช่วยเหลือทั้งแรงกายและแรงใจ และยังมีอาสาสมัครกลุ่มหนึ่ง ที่ได้อุทิศตนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์ครั้งนั้น

คนแรกคือนางสาวอรุณสวัสดิ์ ภูริทัตพงศ์ เธอคอยช่วยเหลือหมอพรทิพย์ในการจัดการดูแลศพในสุสาน และประสานงานเรื่องต่างๆ ตอนแรกเธอได้ยินข่าวจากสายการบินนกแอร์ รับสมัครล่ามอาสาสมัคร ต่อมาเธอได้กลายเป็นผู้ดูแลระบบฝังศพ เธอรู้สึกมีความสุขกับงานที่ทำ จนวันนี้เธอเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก

คนที่สอง กรองแก้ว ปัญจมหาพร เธอทำงานเป็นอาสาสมัครที่ศูนย์สึนามิ เธอได้ทุ่มทั้งชีวิต จิตใจ และจิตวิญญาณ ในการทำงานอาสาสมัคร เธอได้เข้าใจโลก เข้าใจชีวิต เข้าใจคนอื่น ยอมรับคนอื่นในแบบที่เขาเป็น และยอมรับตนเอง

คนที่สาม อภิชัย บุตรพิเศษ เป็นคนวางระบบคอมพิวเตอร์ให้กับศูนย์สึนามิ ตอนแรกเขาได้ทำงานในศูนย์สึนามินี้ แต่ก็ได้ลาออก แต่ก็ได้ถูกขอแรงมาช่วยอีกเช่นเคย เขาบอกว่า เขาได้รู้ว่า สำหรับเขานั้น อุดมการณ์มาก่อนอนาคต และอุดมการณ์ของเขาคือ การทำสิ่งที่สบายใจ

คนที่สี่ เอกพล พาภักดี เขาบอกว่า เขามาตามหาชีวิตวัยรุ่น ในศุนย์แห่งนี้ ตอนแรกเขาทำงานอยู่ที่โรงงานแห่งหนึ่งในกรุงเทพ และได้ตัดสินใจลาออกหลังจากทำงานได้ 3 ปี และได้มาทำงานอาสาในศูนย์นี้ เขาถือว่างานนี้เป็นการทำบุญให้ชีวิต  และเขาได้บอกว่าที่ถ้าเขาพร้อมเขาอาจจะไม่อยากมาทำงานนี้ก็ได้

นางสาวสมฤทัย วทนะรัตน์ เลขประจำตัว 5010118

http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=print&sid=2477

โรงเรียนบ้านน้ำลัดเป็นโรงเรียนเด็กด้อยโอกาส ที่มีครูเพียง 20 คน โรงเรียนนี้ไดมีการปลูกฝังนิสัยดี ๆ ให้เด็กปฏิบัติคือการมี จิตอาสากับงาน อาสาสมัคร  โดยทุกเช้าก่นเข้าชั้นเรียนจะมีการช่วยกันทำความสะอาดภายในโรงเรียน ซึ่งเป็นการช่วยกันของเด็กเล็กชั้นอนุบาลจนถึงเด็กชั้น ป.6  ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสุขที่ทำให้เด็กอยากมาโรงเรียน  และในช่วงพักกลางวันก็จะให้รุ่นพี่ช่วยดูแลการทานข้าวของน้องๆ คอยเก็บกวาดทำความสะอาดหลังทานข้าวเสร็จ และมีกิจกรรมร้องเพลงที่เด็กทุกคนต่างมีโอกาสได้ร้องเพลงที่ตนเองอยากร้อง นอกจากนี้ยังมีคุณครูมาฝึกให้นักเรียนทำของใช้ในครัวเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งโรงเรียนบ้านนำลัดเป็นตัวอย่างหนึ่งของการปลูกจิตอาสาให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

 หนูหาบทความมาใหม่แล้วค่ะรบกวนอาจารย์ช่วยดูให้หน่อยนะคะ

นางสาวสมฤทัย  วทนะรัตน์  เลขประจำตัว 5010118

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท