เก็บสาระมาใกล้ตัว (ต่อต่อ)


โอย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเอาใจใส่ของข้าพเจ้าคือว่า วิธีการศึกษาต่างๆเหล่านี้มันนำเสนอรากฐานอภิปรัชญาที่อ่อนแออันหนึ่งให้กับการวิจัย และไม่ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับกระบวนการที่ทำงานอยู่ข้างใต้ในการสร้างความรู้ และสภาพแวดล้อมในการใช้ความรู้

ในที่นี้ วิธีการศึกษาทั้งหลายเกี่ยวกับการโฟกัสลงไปที่การทดลองของบรรดานักปรัชญาวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น Gailson และ Kitcher สามารถให้การช่วยเหลือได้ ดังที่พวกเขาได้เน้นที่จะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับกระบวนการรับรู้ที่ตรงประเด็นทั้งหมด รวมถึงพลวัตทั้งหลายทางสังคมและปัจจัยต่างๆร่วมกัน ในการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์เกี่ยวกับการผลิตความรู้

พื้นที่ซึ่งมีอนาคตหรือความหวังอื่นๆเกี่ยวกับการสืบค้นทางปรัชญาคือ การปรากฎตัวขึ้นมาของสาขาวิชาเกี่ยวกับญานวิทยาทางสังคม(social epistemology). อันที่จริง อันนี้ค่อนข้างมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิธีการศึกษาในทางปรัชญาวิทยาศาสตร์ดังที่เพิ่งพูดถึง และผู้คนพวกเดียวกันเป็นจำนวนมาก ก็กำลังทำงานอยู่ในสาขาวิชาความรู้นี้ ผลงานที่มีนัยสำคัญส่วนใหญ่ในสาขานี้ได้รวมเอาผลงานของ Kitcher (2001), Longino (2001), Solomon (2001), Goldman (1999) and Turner (1994, 2002) เอาไว้ด้วย

ญานวิทยาทางสังคมคือการยืดขยายของญานวิทยาแบบจารีต ซึ่งได้ผนวกเอาความสัมพันธ์ระหว่าง"ปัจจัยทางสังคม"กับ"ปัจจัยทางเหตุผล"เข้าไปในการวิเคราะห์ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตความรู้

ขณะที่ยังมีการถกเถียงกันอย่างมาก ภายใน"ญานวิทยาทางสังคม"เกี่ยวกับความสำคัญของความจริง และนัยสำคัญของสัมพัทธนิยม (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่าง Longino and Kitcher) เป็นที่ชัดเจนว่า วิธีการศึกษาเหล่านี้สามารถที่จะช่วยสนับสนุนทฤษฎีความรู้ร่วมกันได้ ซึ่งทำงานอยู่ในกรอบโครงร่างอภิปรัชญาสัจนิยมและพหุนิยม (ดังเค้าโครงในงานของ Cartwright 1999). อันนี้ยอมรับถึงมิติทางสังคมว่ามันมีนัยสำคัญในการผลิตความรู้ ขณะเดียวกันก็สงวนรักษาความคิดเกี่ยวกับความรู้ที่เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้ง กับคุณสมบัติต่างๆที่แท้จริงและกระบวนการเอาไว้

ด้วยเหตุดังนั้น การประยุกต์ใช้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งจากญานวิทยาทางสังคม จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ ที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับงานความรู้ซึ่งได้รับการวางอยู่บนพื้นฐานความจริง และยังรวมเข้ากับความสนใจทางสังคม, การปฏิบัติ, และความจริงที่สอดคล้องซึ่งเป็นแกนกลางของภารกิจต่างๆเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้วย

จุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ จะต้องกำหนดแง่มุมต่างๆของความรู้อย่างแม่นยำ ซึ่งตรงประเด็นหรือสอดคล้องกับโครงการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่อยู่ข้างใต้ส่วนประกอบของความรู้เหล่านี้ อันนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินกระบวนการรับรู้ที่เข้ากัน ปัจจัยทั้งหลายทางสังคมและปฏิบัติการที่เป็นจริง ซึ่งเกี่ยวพันอยู่ในโครงการต่างๆเกี่ยวกับ KM

สิ่งเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่รากฐานทางด้านทฤษฎีสำหรับงานเชิงปฏิบัติที่กระทำในเรื่อง KM ซึ่งธำรงรักษาความเชื่อมโยงอันหนึ่งเอาไว้กับ กระบวนการและคุณสมบัติต่างๆของโลกที่เป็นจริง. รากฐานดังกล่าวจะหลีกเลี่ยงข้อสรุปที่เป็นปัญหาที่ว่า ความรู้ได้รับการประกอบสร้างในทางสังคมขึ้นมาอย่างบริสุทธิ์ และด้วยเหตุดังกล่าว จะเสนอการวิเคราะห์ที่ทรงพลังอันหนึ่งเกี่ยวกับงานด้านความรู้

แต่อย่างไรก็ตาม ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้ การศึกษาที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบันในปรัชญาวิทยาศาสตร์และญานวิทยาทางสังคม ยังคงเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอยู่บ้าง. ดังที่สาขาวิชาเหล่านี้ยืนอยู่ พวกมันได้นำเสนอคำอธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตความรู้ แต่มีคำอธิบายเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยเกี่ยวกับการใช้ความรู้, การแบ่งปันความรู้, และการกระจายความรู้ แง่มุมที่เป็นแก่นแกนเหล่านี้ทั้งหมด เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆของ"การจัดการความรู้"

ส่วนหนึ่งของปัญหาในที่นี้คือ บรรดานักปรัชญาทั้งหลาย ดูเหมือนว่าจะไม่ให้ความสนใจในชนิดต่างๆของคำถามซึ่งเป็นสาระสำคัญของ KM. นักปรัชญาทั้งหลายยังคงยึดติดอยู่กับกระบวนทัศน์แบบ Cartesian และยังคงถูกครอบงำด้วยความเข้าใจในต้นตอและความมีเหตุผลของความรู้ มากกว่าพลวัตต่างๆของความรู้ในฐานะที่เป็นกระบวนการอันหนึ่ง

อันที่จริงแล้วในที่นี้ เราสามารถที่จะเลี้ยวกลับและมองไปที่ KM เพื่อเสนอแรงบันดาลใจบางอย่างให้กับปรัชญา ความท้าทายดังกล่าวที่ถูกกำหนดขึ้นมาโดยโครงการต่างๆเกี่ยวกับ KM สามารถถูกนำมาใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ประเด็นปัญหาเหล่านี้ จริงๆแล้ว มันมีนัยสำคัญอย่างไร ซึ่งต้องการได้รับการสืบสาวค้นคว้าลงไปในรายละเอียด

ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ได้รับมาจากโครงการ KM ที่แพร่หลายอยู่ สามารถได้รับการย้อนกลับไปยังทฤษฎีทางปรัชญาได้ อันนี้จะเกี่ยวพันกับการขยายคำอธิบายต่างๆเกี่ยวกับการผลิตความรู้ร่วมกัน ดังที่ได้รับการจัดหามาโดยปรัชญา สู่คำอธิบายที่กว้างขวางเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของความรู้ร่วมกัน

อันนี้คือที่ทางซึ่งมิติในเชิงปฏิบัติการของ KM สามารถที่จะช่วยทำให้ความเข้าใจทางปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ให้รุ่มรวยและสมบูรณ์มากขึ้น และด้วยเหตุนี้ มันจะน้อมนำสู่การศึกษาในเรื่อง KM ซึ่งได้วางอยู่บนรากฐานทฤษฎีทางปรัชญาที่สมบูรณ์และสอดคล้อง ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
Cartwright, N. 1989a. Nature's Capacities and their Measurement. Oxford: Clarendon Press, .

Cartwright, N. 1989b. "Capacities and Abstractions." From Kitcher, P. and W. C. Salmon (eds.) Scientific Explanation, Minnesota Studies in the Philosophy of Science, Volume 13. pp. 349-356. Minnesota: University of Minnesota Press.

Cartwright, N. 1999. The Dappled World. Chicago: University of Chicago Press.

Charlesworth, M., Lyndsay Farrall, Terry Stokes, David Turnbull. 1989. Life among the scientists : an anthropological study of an Australian scientific community. Melbourne: Oxford University Press CIO.com 2002. "Knowledge Management" (May 2003) http://www.cio.com/summaries/enterprise/knowledge/

Davenport, T and Prusak, L. 1998. Working Knowledge: How organisations manage what they know. Boston, Mass.: Harvard Business School Press

Descartes, Rene. 1996. Meditations on First Philosophy, translated by John Cottingham. (originally published 1640) Cambridge: Cambridge University Press.

Dretske, F. 1981. Knowledge & the Flow of Information. Cambridge, Mass.: MIT Press.

Dupre J. 1993. The Disorder of Things: Metaphysical Foundations of the Disunity of Science. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.

Friedman, M. 2001. Dynamics Of Reason. Stanford, Calif.: CSLI Publications

Galison, P. 1996. "Computer Simulations and the Trading Zone." From Galison, P. and D. Stump (eds.) 1996. The Disunity of Science: Boundaries, Contexts, and Power. pp. 118-157. Stanford: Stanford University Press.

Galison, P. 1997. Image and Logic. Chicago: University of Chicago Press.

Goldman, A. I. 1999. Knowledge in a Social World. Oxford: Clarendon Press.

Gordon, J.L. & Smith, C. 1998. "Research: Knowledge Management Guidelines" (May 2003) http://www.akri.org/research/km.htm

Hacking, I. 1983. Representing and Intervening. Cambridge: Cambridge University Press.

Hacking, I. 1999. The Social Construction of What? Cambridge, Mass.: Harvard University Press.

Hume, D. 1888. A Treatise of Human Nature. (1960 facsimile reprint, edited by L. A. Selby-Bigge.) Oxford: Oxford University Press.

Iivari, J. 2000. "Reflections on the Role of Knowledge Management in information Economy" In Burnstein & Linger (eds.) 2001. Knowledge Management for Information Communities. Australian Conference for Knowledge Management and Intelligent Decision Support, Melbourne, Australia, 2000.

Kitcher, P. 1993. The Advancement of Science. Oxford: Oxford University Press.

Kitcher, P. 2001. Science, Truth, and Democracy. Oxford: Oxford University Press.

Kuhn, T. 1970. The Structure of Scientific Revolutions. Chicago: University of Chicago Press.

Kuhn, T. 1977. The Essential Tension: Selected Studies in Scientific Tradition and Change. Chicago: University of Chicago Press.

Latour, B. and Woolgar, S. 1986. Laboratory Life; The Construction of Scientific Facts. Princeton, N.J.: Princeton University Press.

Linger and Burstein, 2000. "Implementing a knowledge Management System: The Case of Meteorological Forecasting" In Burnstein & Linger (eds.) 2001. Knowledge Management for Information Communities. Australian Conference for Knowledge Management and Intelligent Decision Support, Melbourne, Australia, 2000.

Longino, H. 2001. The Fate of Knowledge. Princeton, N.J.: Princeton Uni Press.

Lyotard, Jean-Fran็ois. 1984. The Postmodern Condition: A Report on Knowledge. Minneapolis: University of Minnesota Press.

Nonaka. 1994. "A Dynamical Theory of Organizational Knowledge Creation" Organization Science, Vol. 5, No. 1.

Nonaka and Nishiguchi (eds.) 2001. Knowledge emergence: Social, technical, and evolutionary dimension of knowledge creation. Oxford: Oxford University Press

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 16057เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2006 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท