มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท


"มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" เป็นถ้อยคำที่คุณแม่ของนิสาทบทวนให้เราฟังกันในรถ ไม่มีอะไรมากไปกว่า การตักเตือนให้พวกเราทราบว่า อยากมีต้องหมั่นเก็บ

หลังจากที่เราคือ นิสา นเรศมันต์ แหม่ม แป้น ได้ไปดูงานที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยเครือข่ายกองทุนฯ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ บ่ายวันที่ ๑๘ เราก็ลงพื้นที่เพื่อไปค้นหาข้อมูลบางอย่าง ระหว่างที่รถกำลังจะไปถึงกองทุนนั้น นิสาต้องรับแม่ซึ่งมาทำกิจธุระที่ร้านแห่งหนึ่งกลับไปบ้านด้วย เราได้คุยกับแม่ของนิสาด้วย

มี ๒ ประโยคที่กระตุ้นความคิดคือ ๑) คนโง่ที่ยอมเป็นหนี้ การเป็นหนี้นั้นโง่ ๒) มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท

อย่างไรก็ตาม จาก ๒ ประโยคนั้น ทำให้คิดได้ว่า  ถ้าคนไม่ฉลาด กู้เงิน(กองทุน) ไปบริหารกิจการ กิจการก็มีแต่ล่มจม แต่ถ้าคนฉลาดกู้เงินไปใช้ตามเป้าหมายทำให้เม็ดเงินเติบโตขึ้นมา จะบอกว่าเป็นคนโง่นั้นคงไม่ใช่ เพราะเขาฉลาดที่จะทำให้เม็ดเงินเติบโต แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง น่าจะโง่จริงๆ กับการเป็นหนี้เป็นสินผู้อื่น ต้องบากหน้าไปกู้เงินเพื่อสร้างความมั่งคั่ง ขณะที่เจ้าหนี้มีอำนาจในการขู่เข็ญผู้กู้ แต่นั่นเอง รัฐบาลก็พยายามทำให้เราเห็นว่า การเป็นหนี้เป็นเรื่องไม่น่าอาย สิ่งที่น่าอายคือความไร้สัตย์ในการส่งตามสัญญาต่างหาก ส่วนคำว่า "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นบทกลอนของสุนทรภู่ กวีเอกของโลก เนื้อหาส่วนนี้สอนให้คนรู้จักเก็บหอมรอมริบ รู้จักประหยัดอดออม ไม่ใช่จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เล่าจื้อนักปราชญ์จีนได้ทำเป็นตัวอย่างคือ การรู้จักมัธยัท "ผู้มัทธัทจะเป็นผู้มั่งคัง" ที่หาความมั่งคั่งทางการเงินไม่ได้ก็เพราะไม่รู้จักเก็บออม ใช้จ่ายตามความอยากของตน สุดท้ายก็เก็บอะไรไม่ได้ การรู้จักเก็บออมก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะให้มีความมั่งคั่ง โดยไม่จำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินให้หนักเหนื่อยใจ เพียงแต่ ๑) ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน ๒) รักษา ดูแล เงินทองทรัพย์สินที่ตนหามาได้ให้ดี ๓) เลือกอยู่ในสิ่งแวดล้อมบุคคลที่ดีๆ ๔) มีชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ให้ความอยากเพราะได้เห็น ได้ยิน ได้รับรู้เข้ามาครอบงำ น่าจะเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างความมั่งคั่งทางการเงินได้ เพียงแต่ความมั่งคั่งนี้ต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งเท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 16043เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2006 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท