ศีลธรรมในโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาฯ กับครูพระ


ศีลธรรมในโรงเรียน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2550โรงเรียนได้รับโอกาส ฟังการเผยแพร่ ธรรมะ ของพระคุณเจ้า ที่เป็นครูพระมาสอนศีลธรรมในโรงเรียน ซึ่งเป็นการประสานงานร่วมกันอย่งต่อเนื่องมาเป็นปีที่สองแล้ว ส่วนเรื่องเล่าของครุพระที่เข้ามาสอนศีลธรรม ในโรงเรียนนั้นจะนำเสนอในวันหลัง  วันนี้ขอเสนอแก่นการจัดความรู้ ในหัวปลา เรื่อง ศีลธรรมในโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาฯกับครูพระ" อันเกิดจากการร่วมมือของ ทีม KM ร.ร.อนุบาลวัดปิตุลาฯ ซึ่งร่วมกันสกัด  แก่น การจัดการความรู้ "ศีลธรรมในโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาฯ กับครูพระ" ได้ 4 แก่น และเรียงลำดับความสำคัญหรือลำดับที่ต้องปฏิบัติก่อน หรือลำดับที่สามารถปฏิบัติได้ง่ายเป็นอันดับแรก ดังนี้

แก่นที่ 1. การบริหารจัดการ เรื่องการจัดการเรียนรู้ศีลธรรมในโรงเรียน
แก่นที่ 2.การเตรียมความพร้อมของชั้นเรียน
แก่นที่ 3 การจัดการเรียนรู้
แก่นที่ 4. การวัดผลประเมินผลเพื่อพิจารณาคุณภาพของผู้เรียน

1. การบริหารจัดการ เรื่องการจัดการเรียนรู้ศีลธรรมในโรงเรียน
1.1 พระและโรงเรียนร่วมประสานงานจัดเตรียมหลักสูตรและกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน
1.2 ประชุมคณะทำงานและศึกษารูปแบบการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสอนแต่ละครั้ง
1.3 คัดเลือก เนื้อหา สื่อและแบบทดสอบจัดทำเป็นเอกสารประกอบการเรียน
1.4 โรงเรียนจัดเตรียมสถานที่และความพร้อมของผู้เรียน
1.5 นิเทศติดตามผลการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2. การเตรียมความพร้อมของชั้นเรียน
2.1 สร้างบรรยากาศ และความคุ้นเคยระหว่างนักเรียนกับครูพระ (ดาวดวงที่ 1)
2.2 กระตุ้นนักเรียนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ด้ยกิจกรรมนั่งสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ
(ดาวดวงที่ 2)
2.3 สร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของเรื่องที่จะเรียน
(ดาวดวงที่ 3)
2.4 ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงและออกแบบการเรียนรู้ (ดาวดวงที่
4)
2.5 แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสนใจและสมัครใจของผู้เรียน (ดาวดวงที่ 5)
3. การจัดการเรียนรู้
3.1 สอนโดยเร่มจากง่ายไปยาก ตามความแตกต่างของผู้เรียน
3.2 ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและฝึกให้กล้าแสดงออก
3.3 ให้นักเรียนท่องจำ ใจความสำคัญและขยายรายละเอียดเพิ่มเติม
3.4 ครูสาธิต    ยกตัวอย่าง แล้วให้นักเรียนปฏิบัติตาม
3.5 ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง คิดวิเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
4. การวัดผลประเมินผลเพื่อพิจารณาคุณภาพของผู้เรียน
4.1 ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ประเมินผล
4.2 ใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อตรวจสอบคยวามรู้พื้นฐานของผู้เรียน
4.3 สร้างแรงจูงใจโดยการเสริมแรงด้วยคำพูดยกย่อง ชมเชย เมื่อนักเรียนปฏิบัติได้ถูกต้อง
4.4 ติดตามดูแลให้คำปรึกษา แนะนำนักเรียนเป็นรายบุคคล
4.5 ใช้แบบทดสอบมาตรฐานแม่กองธรรม  มาวัดผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและนำผลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 160262เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2008 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท